Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56004
Title: | การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 แผนการเรียนวิชาอาชีพ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 |
Other Titles: | Follow-up study of graduates in vocational program of the B.E. 2524 upper secondary school curriculum in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, educational region seven |
Authors: | สุพรรณา มีมุข |
Advisors: | สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อาชีวศึกษา -- ไทย อาชีวศึกษา -- ไทย -- การประเมิน อาชีวศึกษา -- หลักสูตร -- ไทย อาชีวศึกษา -- หลักสูตร -- ไทย -- การประเมิน ผู้สำเร็จการศึกษาทางอาชีวศึกษา -- ไทย ผู้สำเร็จการศึกษาทางอาชีวศึกษา -- ไทย -- การประเมินศักยภาพ Vocational education -- Thailand Vocational education -- Thailand -- Evaluation Vocational education -- Curricula -- Thailand Vocational education -- Curricula -- Thailand -- Evaluation Vocational school graduates -- Thailand Vocational school graduates -- Thailand -- Rating of |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2524 แผนการเรียนวิชาอาชีพในด้านสถานภาพ และความเป็นประโยชน์ที่ได้จากการนำความรู้ และประสบการณ์จากการเรียนรายวิชาต่าง ๆ ในแผนการเรียนวิชาอาชีพมาใช้ในการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อและใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างประชากรของการวิจัย คือ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 แผนการเรียนวิชาอาชีพจกโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ในปีการศึกษา 2528 และ 2529 จำนวน 643 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการประมาณค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ของค่าเฉลี่ย ข้อค้นพบมีดังนี้ 1. สถานภาพของผู้สำเร็จการศึกษา พบว่า ประมาณร้อยละ 40 เข้าศึกษาต่อ ร้อยละ 32 ว่างงาน ร้อยละ 23 ประกอบอาชีพ และร้อยละ 5 เป็นผู้ประกอบอาชีพพร้อมทั้งศึกษาต่อ โดยผู้สำเร็จการศึกษาประเภทวิชาคหกรรมเข้าศึกษาต่อมากกว่าประเภทวิชาอื่น ๆ ผู้สำเร็จการศึกษาแผนการเรียนวิชาอาชีพ 1 เข้าศึกษาต่อมากกว่าผู้สำเร็จการศึกษาแผนการเรียนวิชาอาชีพ 2 และได้ใช้ความรู้ด้านวิชาอาชีพที่เรียนมาไปใช้ในการศึกษาต่อ อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผู้ประกอบอาชีพ พบว่า ร้อยละ 42.46 เข้าทำงานในบริษัทเอกชน รองลงมา (ร้อยละ 28.49) ประกอบอาชีพอิสระ และได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาอาชีพในการประกอบอาชีพอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิชาอาชีพมีความเห็นต่อความเป็นประโยชน์ของรายวิชาต่าง ๆ ที่มีต่อการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ และใช้ในชีวิตประจำวัน ว่ามี 8 รายวิชา (ร้อยละ 1.23 ) ที่มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน และมี 32 รายวิชา (ร้อยละ 4.98 ) มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเลือก ส่วนรายวิชาอื่นๆ (ร้อยละ 93.76 ) พบว่า ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับน้อยเพียงบางด้าน |
Other Abstract: | The purposes of this study was to follow-up graduates in vocational program of the B.E. 2524 upper secondary school curriculum. With respect to their status and the usefulness of course work and learning experiences in their occupation, higher education or daily lives. The sample consisted of 643 graduates in vocational program of the B.E. 2524 upper secondary school curriculum from secondary schools under the jurisdiction of the department of general education, education region seven, academic year 1985-1986. Questionnaires and interviews were the data collection means. Frequency distribution, percentage and confidence interval estimation were used in the analysis. Findings : 1. The percentages of the graduates who were continuing their education, unemployed and employed were 40, 32 and 23 respectively. On the average, they moderately used their knowledge and learning experience from the programs in their education and work. 2. With respect to the graduates’ perceptions, there were eight courses (1.23%) which were highly useful in all the three aspects namely occupation, furthing education and daily life. Thirty-two courses (4.98%) were lowly useful in all the three aspects. The rest of the courses (93.76%) were useful in some aspects. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56004 |
ISBN: | 9745777501 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supanna_me_front.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supanna_me_ch1.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supanna_me_ch2.pdf | 4.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supanna_me_ch3.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supanna_me_ch4.pdf | 8.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supanna_me_ch5.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supanna_me_back.pdf | 12.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.