Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56013
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัสสร ลิมานนท์-
dc.contributor.authorสมภูมิ แสวงกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-11-21T03:09:04Z-
dc.date.available2017-11-21T03:09:04Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56013-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้ายถิ่น การปรับตัว และปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจ ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรของแรงงานย้ายถิ่น ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามกับแรงงานย้ายถิ่นที่ทำงานโรงงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม นวนคร จังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 500 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 20-50 ปีและอาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานีมาเป็นระยะเวลานานเกิน 1 ปีก่อนการสำรวจ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานย้ายถิ่นจำนวน 25 ราย ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลหลักในการย้ายถิ่นคือ รายได้ในถิ่นต้นทางน้อยไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต โดยภายหลังย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยในถิ่นปลายทาง แรงงานส่วนใหญ่ปรับตัวได้ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย 13.7 คะแนน)และแรงงานย้ายถิ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.8)ไม่มีความตั้งใจตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในจังหวัดปทุมธานี การวิเคราะห์การจำแนกพหุ ตัวแปรอิสระ 14 ตัว สามารถอธิบายการแปรผันของความตั้งใจตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรได้ร้อยละ 15.7 โดยมีตัวแปรอิสระ 4 ตัว ที่อธิบายการแปรผันของความตั้งใจตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรได้ดีที่สุดคือ ขนาดครอบครัว การปรับตัว ระยะเวลาที่อาศัยในถิ่นปลายทาง และอายุ ตามลำดับ เมื่อใช้การวิเคราะห์ถดถอยมัลติโนเมี่ยลโลจิสติค ตัวแปรอิสระ 14 ตัว สามารถอธิบายการผันแปรของการปรับตัวและความตั้งใจตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรได้ร้อยละ 31 โดยมีตัวแปรอิสระ 4 ตัว ที่อธิบายการแปรผันของการปรับตัวและความตั้งใจตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรได้ดีที่สุดคือ ระยะเวลา ที่อาศัยในถิ่นปลายทาง อายุ สถานภาพสมรส และรายได้ ส่วนผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า แรงงาน ส่วนใหญ่มีปัญหาการปรับตัวด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในถิ่นปลายทางและยังมีระดับการศึกษาน้อย ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ จึงไม่มีความตั้งใจตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในถิ่นปลายทาง การพัฒนาแรงงานย้ายถิ่นให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ จะเป็นการเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้แรงงานย้ายถิ่นเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีผลให้พื้นที่ซึ่งแรงงานย้ายถิ่นเข้าไปอาศัยอยู่พัฒนามากขึ้น และตัวแรงงานเองสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis research has two main objectives: first, to study labor migration and adjustment second, to investigate factors affecting labor migrants’ intention to settle down in place of destination in industrial factories, Pathum Thani province. The study comprises of two types of research designs. First, quantitative approach was used to obtain data through questionnaire interviewing of 500 selected labor migrants aged 20-50 years who worked in Navanakorn Industrial Estate and lived in Pathum Thani province at least one year prior to the survey. Qualitative approach, an in-dept. interview was used to obtain information from randomly selected 25 migrants’ workers who either had and did not have intention to settle down. The findings indicated that the insufficient income in original place was key factor to push labor migrate to destination place. Majority of labor migrants could adapt themselves at a moderate level (mean = 13.7) and 78.8 percent of them did not wish to settle in place of destination. The data were analysis through Multiple Classification Analysis indicated that the total 14 independent variables could explain about 15.7 percent for the variation in the dependent variable: intention to settle down in place of destination. The best explained variable was family size. The next best explained variables were adjustment, duration of residence in place of destination, and age of labor migrant. By undertaking Multinomial Logistic Regression method, the total 14 independent variables could explain about 31 percent for the variation in the dependent variable: adjustment and intention to settle down in place of destination. The best explained variables were duration of residence in place of destination, age, marital status, and income. For in-dept interview, many labor migrants had interpersonal relations problems. Due to their low educational level, therefore they could not adapt themselves well and did not wish to settle in place of destination. For sustainable economic development, human resource development is the most important. Therefore, the labor migrants capability should be as well strengthened so that they could become an agent of change and will be able to adapt themselves better.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.955-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทย -- ปทุมธานีen_US
dc.subjectแรงงาน -- ไทย -- ปทุมธานีen_US
dc.subjectMigrant labor -- Thailand -- Pathumthanien_US
dc.subjectLabor -- Thailand -- Pathumthanien_US
dc.titleการย้ายถิ่น การปรับตัวและความตั้งใจตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeMigration, Adjustment and Intention to Settle Down in Place of Destination of Labor Migrants in Industrial Factories, Pathum Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.955-
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somphoom_sa_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
somphoom_sa_ch1.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
somphoom_sa_ch2.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
somphoom_sa_ch3.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
somphoom_sa_ch4.pdf14.4 MBAdobe PDFView/Open
somphoom_sa_ch5.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
somphoom_sa_ch6.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
somphoom_sa_back.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.