Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56197
Title: นวัตกรรมตัวแบบการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย
Other Titles: INNOVATION OF COLLABORATIVE VALUE CREATION MODEL IN GARMENT INDUSTRY IN THAILAND
Authors: ปวริน ตันตริยานนท์
Advisors: พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์
ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล
ศจีมาจ ณ วิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมตัวแบบการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย โดยการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทยในเชิงลึกจำนวน 47 ราย และนำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างตัวแบบของการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทย การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบตัวแบบการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทยโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทยจำนวน 167 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า องค์ประกอบของการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย ประกอบด้วย ปฏิสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ กลยุทธ์การสร้างคุณค่า ความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน ลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ผลกำไร และขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยแบ่งออกเป็น 12 ตัวบ่งชี้ และ 111 ตัวบ่งชี้ย่อย ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ตัวแบบการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทยมีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีความตรงเชิงโครงสร้าง การพัฒนาโปรแกรมประเมินการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยนำผลการวิจัยผสมผสานวิธีมาพัฒนาเป็นเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ในการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือ 11 ด้าน และใช้การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มมาจำแนกและประเมินระดับของการสร้างคุณค่าเชิงความร่วมมือด้านผลกำไรและขีดความสามารถทางการแข่งขัน 12 ด้าน และผลการศึกษาการยอมรับโปรแกรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโปรแกรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง
Other Abstract: This study aims to develop innovation of collaborative value creation model in garment industry in Thailand. The mixed-methodology was used for gathering data. The qualitative part consisted of an in-depth interviews with 47 experts and owners of the leading companies in garment industry in Thailand. Content analysis was use to analyze the data and develop the collaborative value creation model. In quantitative part, the research sample consisted of 167 entrepreneurs in the garment industry in Thailand. The data were collected by questionnaires and analyzed by descriptive statistics and confirmatory factor analysis. The findings from the qualitative study showed the 6 elements of the collaborative value creation in garment industry in Thailand: interaction in exchange relationship, value creation strategies, supply chain collaboration, characteristic of garment Industry in Thailand, profit and competitiveness. It also found 12 indicators and 111 sub-indicators of Collaborative value creation model. The result form the quantitative study confirmed that the collaborative value creation model in garment industry in Thailand significantly correlated with the empirical data. The collaborative value creation assessment program used the 11 indicators from the mixed-methodology and 12 categorical of profit and competitive capabilities from discriminant analysis to assess the collaborative value creation capability of business. The opinion survey of the program implementing revealed that the users were satisfied.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56197
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387789620.pdf10.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.