Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56215
Title: | การเสริมแรงและการปรับปรุงเสถียรภาพของยางธรรมชาติโดยใช้ยางอิ่มตัวที่มีอินซิทูซิลิกา |
Other Titles: | REINFORCEMENT AND STABILITY IMPROVEMENT OF NATURAL RUBBER BY SATURATED RUBBERS CONTAINING IN-SITU SILICA |
Authors: | กิตติ องค์วงศ์สกุล |
Advisors: | นพิดา หิญชีระนันทน์ ศิริลักษณ์ พุ่มประดับ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาการเสริมแรงยางที่มีความอิ่มตัวสูง เช่น ยางเอทิลีนโพรพิลีนไดอีน หรือยางอีพีดีเอ็ม (92.5% ความอิ่มตัว) และยางธรรมชาติไฮโดรจิเนต (98.3% ความอิ่มตัว) ด้วยอินซิทูซิลิกาผ่านกระบวนการโซล-เจลโดยใช้สารเตตระเอทอกซีไซเลนเป็นสารตั้งต้นในการผลิตซิลิกาเร่งปฏิกิริยาด้วยนอร์มอลบิวทิลามีน ศึกษาประสิทธิภาพในการผลิตอินซิทูซิลิกาในเนื้อยางที่มีความอิ่มตัวสูงเปรียบเทียบกับยางที่มีความไม่อิ่มตัวสูง คือ ยางธรรมชาติ ในด้านปริมาณและตำแหน่งพันธะคู่ของคาร์บอนในโครงสร้างของยางเหล่านี้ ศึกษาสัณฐานวิทยาของยางที่มีอินซิทูซิลิกาในด้านการกระจายตัวและขนาดอนุภาคซิลิกาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดและกล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่านตามลำดับ พบว่าอนุภาคของอินซิทูซิลิกาเกิดการรวมตัวกันและมีขนาดอนุภาคใหญ่ในเมทริกซ์ของยางที่มีความอิ่มตัว ในขณะที่อนุภาคของอินซิทูซิลิกาในเมทริกซ์ของยางธรรมชาติเกิดการรวมตัวกันลดลง ส่งผลให้มีขนาดอนุภาคอินซิทูซิลิกาที่เล็กลง ภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์อินซิทูซิลิกาในยางอีพีดีเอ็ม และยางธรรมชาติไฮโดรจิเนต คือ การใช้ความเข้มข้นของนอร์มอลบิวทิลามีนที่ 96 มิลลิโมลาร์ ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง สามารถสังเคราะห์อินซิทูซิลิกาเท่ากับ 4.5 และ 11.9 ส่วนในร้อยส่วนของเนื้อยางตามลำดับ ศึกษาลักษณะการคงรูป สมบัติเชิงกล และความต้านทานของยางคอมพอสิตระหว่างยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็มหรือยางธรรมชาติไฮโดรจิเนตที่มีและไม่มีอินซิทูซิลิกา เปรียบเทียบกับยางคอมพอสิตที่เติมซิลิกาเกรดการค้าด้วยปริมาณที่เท่ากัน พบว่ายางผสมระหว่างยางอีพีดีเอ็มหรือยางธรรมชาติไฮโดรจิเนตที่มีอินซิทูซิลิกาและยางธรรมชาติ ที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักเท่ากับ 40/60 มีความต้านทานต่อแรงดึงเท่ากับ 14 และ 13.9 เมกะพาสคัล ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่ายางผสมระหว่างยางอีพีดีเอ็มหรือยางธรรมชาติไฮโดรจิเนตและยางธรรมชาติ (12.9 เมกะพาสคัล) หรือยางคอมพอสิตที่ใช้ซิลิกาเกรดการค้า (11.9 และ 13.1 เมกะพาสคัล ตามลำดับ) ที่มีอัตราส่วนของยางผสมและปริมาณซิลิกาเท่ากัน นอกจากนี้ยังพบว่ายางผสมระหว่าง อีพีดีเอ็มที่มีอินซิทูซิลิกาและยางธรรมชาติมีความต้านทานต่อความร้อนและโอโซนได้ดีกว่ายางผสมระหว่างยางอีพีดีเอ็มและยางธรรมชาติและยางคอมพอสิตที่ใช้ซิลิกาเกรดการค้าอีกด้วย |
Other Abstract: | ้This research studied the reinforcement of highly saturated rubbers such as ethylene propylene diene rubber (EPDM, 92.5% saturation) and hydrogenated natural rubber (HNR, 98.3% saturation) via in situ prepared by the sol-gel process using tetraethoxysilane (TEOS) as the silica precursor catalyzed by n-butylamine. In this study, the efficiency for in situ silica generation in the highly saturated rubbers was compared to the unsaturated rubber such natural rubber (NR) in terms of content and position of carbon-carbon double bonds in their structures. The morphology of rubbers containing in situ silica in terms of dispersion and particles size of in situ silica was investigated by using scanning electron microscope and transmission electron microscope, respectively. It was found that the in situ silica was agglomerated and formed the larger particles size in saturated rubber matrix. Whereas, the agglomeration of the in situ silica in the NR matrix was reduced resulting in the smaller in situ silica particles size. The optimum condition for in situ silica generation in EPDM and HNR was 96 mM n-butylamine concentration at 50 oC for 24 h to obtain the in situ silica content of 4.5 and 11.9 parts per hundred of rubber (phr), respectively. The curing characteristics, mechanical properties, thermal and ozone resistance of rubber composites between NR and EPDM or HNR with and without the in situ silica were compared with ones containing commercial silica at the same content. The results showed that the tensile strength of the rubber composite containing EPDM or HNR with in situ silica and NR at 40/60 (w/w) was 14 and 13.9 MPa respectively, which was higher than that of the rubber composite consisting of EPDM or HNR and NR or one containing the commercial silica at the similar rubber blend ratio and silica content. In addition, the results showed that the thermal and ozone resistance of rubber composite containing EPDM with in situ silica and NR were higher than that of the rubber composite containing EPDM and NR or one using the commercial silica. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56215 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5472169023.pdf | 4.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.