Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56296
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน PNPLA3 ยีน COX-2 และยีน DHCR7 กับความรุนแรงของพังผืดในตับในผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง |
Other Titles: | THE ASSOCIATION OF GENETIC VARIATIONS IN PNPLA3, COX-2 AND DHCR7 GENES WITH SEVERITY OF LIVER FIBROSIS IN THAI PATIENTS WITH CHRONIC HEPATITIS C |
Authors: | รัตนพร เกียรติบำรุง |
Advisors: | พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ สัญชัย พยุงภร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดพังผืดในตับและตับแข็งซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ ปัจจุบันเชื่อว่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (single nucleotide polymorphisms, SNPs) ของยีนต่างๆมีผลต่อการดำเนินของโรคตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง การศึกษามีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ SNPs PNPLA3 (rs738409), COX-2 (rs689465) และ DHCR7 (rs12785878) กับความรุนแรงของการเกิดพังผืดในตับในประชากรไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง 250 คน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมกับเอชไอวี 200 คน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีที่สามารถหายได้เอง 74 คน และกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี 200 คน การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนดังกล่าวทำโดยวิธี allelic discrimination โดยใช้เครื่องเรียลทามพีซีอาร์และ TaqMan probes และตรวจระดับพังผืดที่ตับโดยใช้เครื่อง transient elastography ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบความถี่จีไนไทป์ CC, CG และ GG ของยีน PNPLA3 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเป็น 53.2%, 39.2% และ 6.5% ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่สามารถหายได้เองพบ 36.1%, 45.8% และ 18.1% ตามลำดับซึ่งมีความถี่ของจีโนไทป์ GG สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (odds ratio (OR)=2.62, 95% confidence interval (CI)=1.27-5.4, P=0.0094) นอกจากนี้ยังพบว่าความถี่จีโนไทป์ CC ของยีน COX-2 ในกลุ่มควบคุมสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีและผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมกับเอชไอวี (P<0.0001) ความถี่จีโนไทป์ TT, TG และ GG ของยีน DHCR7 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเป็น 5.6%, 38.5% และ 55.9% ขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมกับเอชไอวีพบ 3.5%, 39.2% และ 57.3% ตามลำดับ ส่วนกลุ่มควบคุมพบ 12.1%, 41.9% และ 46.0% ตามลำดับ นอกจากนี้จีโนไทป์ GG ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีและผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมกับเอชไอวีสูงกว่ากลุ่มควบคุม (OR=2.62, 95% CI=1.27-5.4, P=0.0094 และ OR=4.29, 95% CI=1.77-10.42 P=0.0013 ตามลำดับ) นอกจากนั้นยังพบว่าความถี่จีโนไทป์ของ SNP rs12785878 มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของพังผืดในตับ (P=0.016) จากการศึกษาสรุปได้ว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน DHCR7 rs12785878 มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการเกิดพังผืดในตับในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง และอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมเพื่อทำนายการเกิดพังผืดในตับในประชากรไทยได้ |
Other Abstract: | Hepatitis C virus (HCV) is a common cause of liver fibrosis and cirrhosis that can develop to Hepatocellular carcinoma (HCC). There is increasing evidence that host genetic variations may influence the natural history of chronic HCV infection. The aim of this study was to determine the correlation between single nucleotide polymorphisms (SNPs) of PNPLA3 (rs738409), COX-2 (rs689465) and DHCR7 (rs12785878) and severity of liver fibrosis in Thai populations. 250 patients with HCV, 200 patients with HCV/HIV, 74 patients with HCV spontaneous clearance and 200 healthy controls were enrolled. The SNPs were detected by allelic discrimination using real-time PCR with TaqMan probes. Liver fibrosis was assessed by transient elastography. The frequency of CC, CG and GG genotypes of rs738409 in the HCV group was 53.2%, 39.2% and 6.5%, respectively. In the HCV clearance group, the corresponding genotypes were 36.1%, 45.8% and 18.1%. The frequency of GG was significantly higher in the HCV clearance than the HCV group (odds ratio (OR)=2.62, 95% confidence interval (CI)=1.27-5.4, P=0.0094). The distribution of CC genotype of rs689465 was significantly higher in the control group than patients with HCV and HCV/HIV (P<0.0001). In addition, the frequency of TT, TG and GG genotypes of rs12785878 in the HCV group were 5.6%, 38.5% and 55.9%, respectively. The corresponding genotypes in the HCV/HIV group were 3.5%, 39.2% and 57.3%, respectively. In the control group, the corresponding genotypes were 12.1%, 41.9% and 46.0%, respectively. The frequency of GG genotype was significantly higher in the HCV and HCV/HIV groups than the control group (in HCV; OR=2.62, 95% (CI=1.27-5.4, P=0.0094, in HCV/HIV; OR=4.29, 95% CI=1.77-10.42 P=0.0013). Moreover, we found the genotype frequency of rs12785878 was correlated with advanced fibrosis in patients with HCV (P=0.016). In conclusion, DHCR7 rs12785878 polymorphism was significantly associated with the severity of liver fibrosis in HCV and might be used as a biomarker for predicting liver fibrosis in Thai population. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีวเคมีทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56296 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674065030.pdf | 6.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.