Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56344
Title: | ผลของการแสดงออกของ Progesterone receptor ในการส่งสัญญาณของ Epidermal Growth factor ในเซลล์มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก |
Other Titles: | EFFECTS OF HUMAN PROGESTERONE RECEPTOR EXPRESSION ON EPIDERMAL GROWTH FACTOR SIGNALING IN NON-SMALL CELL LUNG CANCER |
Authors: | ศรสวรรค์ แก้วประเสริฐศรี |
Advisors: | วิโรจน์ บุญรัตนกรกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันเริ่มมีหลักฐานว่า Progesterone receptor (PR) มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งปอดชนิด NSCLC อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการส่งสัญญาณของ PR กับ NSCLC โดยจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า PR มี Polyproline SH3 recognition motif (PXXPXR motif หรือ PPD) ที่สามารถจับกับ SH3 domain ของ signaling molecules ได้ ผู้วิจัยจึงตั้งสมมุติฐานว่า PXXPXR motif ของ PR สามารถขัดขวางการส่งสัญญาณของ EGFR ผ่าน MAPK และ/หรือ AKT pathway ในเซลล์มะเร็งปอดได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์มะเร็งปอดมีการเจริญเติบโตลดน้อยลง โดยทำการทดสอบบทบาทของ PXXPXR motif ในด้านการเจริญเติบโตและการส่งสัญญาณในเซลล์มะเร็งปอดที่มีการแสดงออกของ PR-B และ PR-BΔSH3 (มีการกลายพันธุ์ของ PXXPXR motif) และสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการแสดงออกได้โดย doxycycline ในเซลล์ A549 ผลการทดลอง Western blot และ PRE reporter assay พบว่า Doxycycline สามารถชักนำให้เกิดการ transcription ของ PR-B และ PR-BΔSH3 ได้ และ PR-B สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ A549 ได้ในภาวะที่ไม่มี ligand และเมื่อให้ R5020 ในเซลล์ที่มีการแสดงออกของ PR-B พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ A549 ลดลงมากขึ้น และเมื่อให้ RU486 ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของ PR และ R5020 ทำให้ไม่สามารถยับยั้งอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ A549 ได้ ในขณะที่เมื่อให้ R5020 หรือ RU486 ในเซลล์ที่มีการแสดงออกของ PR-BΔSH3 พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ A549 ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ PR-B สามารถยับยั้งอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ A549 ได้เมื่อให้ EGF ในภาวะที่ไม่มี ligand ในขณะที่ PR-BΔSH3 ไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ A549 และในการทดสอบบทบาทของ PXXPXR motif ของ PR กับการส่งสัญญาณของ EGFR ผ่าน MAPK และ AKT พบว่า PR-B สามารถยับยั้ง MAPK activation ได้ แต่ PR-BΔSH3 ไม่สามารถยับยั้ง MAPK activation ได้ จากผลการวิจัยทั้งหมดสรุปได้ว่าการส่งสัญญาณแบบ extra-nuclear ของ PXXPXR motif ของ PR มีความสัมพันธ์กับ EGFR ต่ออัตราการเจริญเติบโตและการส่งสัญญาณใน NSCLC |
Other Abstract: | Recent evidence suggests possible roles of progesterone receptor (PR) in non-small cell lung cancer (NSCLC). However, very little is known about functional roles of PR in NSCLC. PR contains a polyproline domain (PPD), which directly binds to the SH3 domain of signaling molecules. Since PPD-SH3 interactions are essential for EGF signaling, we hypothesized that the presence of PR-PPD interfered with EGFR-mediated signaling and cell proliferation. We examined the role of PR-PPD in cell proliferation and signaling by stably expressing PR-B or PR-B with disrupting mutations in the PPD (PRBΔSH3) from a tetracycline-regulated promoter in A549 NSCLC cells. PR-B dose-dependently inhibited cell growth in the absence of ligand, and progestin (R5020) treatment further suppressed cell proliferation. Treatment with RU486 abolished PR-B and R5020 inhibition of cell proliferation. Expression of PR-BΔSH3 and treatment with R5020 or RU486 had no effect on cell proliferation. In addition, PR-B but not PR-BΔSH3 reduced EGF-induced A549 cell proliferation and EGF-induced activation of MAPK, in the absence of ligand. Together, our data demonstrate the significance of PR extranuclear signaling through PPD interactions in EGF-mediated proliferation and signaling in NSCLC cells. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56344 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | All - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5576663537.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.