Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56405
Title: | ประสิทธิศักย์และความปลอดภัยในระยะสั้นของการใช้ยาอิเซทิไมบ์ร่วมกับยาลดระดับไขมันในเลือดที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในปัจจุบัน ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส |
Other Titles: | SHORT-TERM EFFICACY AND SAFETY OF ADDING EZETIMIBE TO CURRENTLY USED LIPID-LOWERING DRUGS IN HIV-INFECTED PATIENTS RECEIVING PROTEASE INHIBITORS |
Authors: | กฤษฎา บุญทศ |
Advisors: | ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ วีรวัฒน์ มโนสุทธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการลดระดับไขมันชนิด LDL-C และ เปรียบเทียบความปลอดภัย ก่อนและหลังการใช้ยา ezetimibe ร่วมกับยาลดระดับไขมันในเลือดที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในปัจจุบัน ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบติดตามไปข้างหน้า โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลัง ทำการวิจัยในผู้ป่วย 32 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาด้วยยา ezetimibe ในขนาด 10 มิลลิกรัม ให้รับประทาน วันละ 1 ครั้ง โดยใช้ควบคู่ไปกับยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 18 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้หยุดยาและมาติดตามผลการรักษาในครั้งสุดท้ายอีก 4 สัปดาห์ รวมเป็นระยะเวลา 22 สัปดาห์ เจาะวัดระดับไขมัน LDL-C, total cholesterol (TC), HDL-C, triglycerides (TG), ค่าสัดส่วน TC/HDL-C และค่าสัดส่วน LDL-C/HDL-C ในสัปดาห์ที่ 0, 6, 12, 18 และ 22 ทั้งนี้ได้มีการติดตามผลทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ และประเมินอาการไม่พึงประสงค์ไปควบคู่กัน ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมวิจัยจนสิ้นสุดการศึกษา ทั้งหมด 32 ราย เป็นเพศหญิง 19 ราย (ร้อยละ 59.4), อายุเฉลี่ย 48 ปี, ระดับ CD4 เฉลี่ย 666 เซลล์/ลบ.มม., ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.8) มีปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือด น้อยกว่า 20 ก๊อปปี้/มล. พบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้ยา lopinavir/ritonavir (LPV/r) 30 ราย (ร้อยละ 93.8) และใช้ยากลุ่ม statins เพียงชนิดเดียว 18 ราย (ร้อยละ 56.3) ระดับไขมันโดยเฉลี่ยก่อนการใช้ยา ezetimibe มีระดับ LDL-C, TC, TG, HDL-C, ค่าสัดส่วน TC/HDL-C และค่าสัดส่วน LDL-C/HDL-C เท่ากับ 165.4 ± 26.8 มก./ดล., 238.2 ± 34.6 มก./ดล., 273.3 ± 106.0 มก./ดล., 57.3 ± 13.5 มก./ดล., 4.4 ± 1.3 และ 3.1 ± 1.0 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาในสัปดาห์ที่ 18 กับสัปดาห์ที่ 0 พบ ระดับไขมันเป็นร้อยละโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับ LDL-C, TC, TG, ค่าสัดส่วน TC/HDL-C และค่าสัดส่วน LDL-C/HDL-C เท่ากับ -23.3% (P<0.001), -15.0% (0.001), -22.1% (P<0.001), -16.2% (P=0.002) และ -24.4 (P<0.001) ตามลำดับ ส่วนระดับ HDL-C นั้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือ ร้อยละ 2.1 (P=0.288) ในการศึกษานี้ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์และไม่พบความผิดปกติของผลการติดตามทางห้องปฏิบัติการ ส่วนผลทางด้านภูมิคุ้มกันและไวรัสวิทยา พบว่า การให้ ezetimibe เพิ่มระดับ CD4 และร้อยละของ CD4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.019 และ P<0.001 ตามลำดับ) แต่ไม่มีนัยสำคัญในด้านปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือด สรุปผลการวิจัย: การเพิ่ม ezetimibe ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยากลุ่ม PIs และมีการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดอยู่เดิม สามารถทำให้ระดับไขมันในเลือดทั้ง ระดับ LDL-C, TC, TG, ค่าสัดส่วน TC/HDL-C และค่าสัดส่วน LDL-C/HDL-C ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความปลอดภัย และผู้ป่วยสามารถทนยาได้ดี |
Other Abstract: | Objectives: To determine short-term efficacy and safety of adding ezetimibe to currently used lipid-lowering drugs in HIV-infected patients receiving protease inhibitors. Method: The prospective, one group pretest-posttest study of HIV-infected patients who received PIs and lipid-lowering drugs was performed. Thirty-two patients received ezetimibe 10 mg daily added to their ongoing lipid-lowering therapy for 18 weeks. Serum LDL-C, TC, HDL-C, TG, TC/HDL-C ratio and LDL-C/HDL-C ratio were measured at baseline and week 6, 12, 18 and 22 (subsequent 4-week washout period). Safety parameters were assessed by adverse event reports and laboratory assessments throughout the study. Results: Thirty-two patients completed the study at week 22. Nineteen patients (59.4%) were female, average age was 48 years, mean CD4 cell count was 666 cells/mm3. Most of patients (93.8%) had HIV RNA less than 20 copies/mL. All patients received ritonavir-boosted PIs; 30 (93.8%) patients received LPV/r, and had uncontrolled dyslipidemia treated with lipid-lowering drugs; statins alone in 18 (56.3%) patients. Baseline lipid profile; LDL-C, TC, HDL-C, TG, TC/HDL-C ratio and LDL-C/HDL-C ratio were 165.4 ± 26.8 mg/dL, 238.2 ± 34.6 mg/dL, 273.3 ± 106.0 mg/dL, 57.3 ± 13.5 mg/dL, 4.4 ± 1.3 and 3.1 ± 1.0 respectively. The mean percent changes from baseline to endpoint in LDL-C, TC, TG, TC/HDL-C ratio and LDL-C/HDL-C ratio were -23.3% (P<0.001), -15.0% (P<0.001), -22.1% (P<0.001), -16.2% (P=0.002) and -24.4 (P<0.001) respectively. There was a trend of increased serum HDL-C but not statistically significant (P=0.288). No adverse event or other abnormal laboratory were found. The addition of ezetimibe had increased of CD4 and %CD4 (P=0.038 and P<0.001, respectively) but not affected to HIV RNA viral load. Conclusion: The addition of ezetimibe to currently used lipid-lowering drugs in HIV-infected patients receiving PIs had significantly improved efficacy in reducing of LDL-C, TC, TG, TC/HDL-C ratio and LDL-C/HDL-C ratio, and the therapy was safe and well tolerated. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56405 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5576200633.pdf | 13.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.