Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5670
Title: | การนำเสนอภาพความเป็นชายในภาพยนตร์ไทยระหว่างปีพ.ศ.2541-2542 |
Other Titles: | The portrayal of masculinities in Thai movies from 1998 to 1999 |
Authors: | วิชชา สันทนาประสิทธิ์ |
Advisors: | กิตติ กันภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความเป็นชาย -- ไทย ภาพยนตร์ไทย บทบาทตามเพศในภาพยนตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษสตรีในภาพยนตร์ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ทำความเข้าใจถึงภาพความเป็นชายที่ถูกนำเสนอในภาพยนตร์ไทย และปฏิสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน ที่แสดงให้เห็นถึงการสานต่อแนวคิดและอุดมการณ์ทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องบทบาททางเพศผ่านเนื้อหาของภาพยนตร์โดยผู้วิจัยได้เลือกตัวอย่างภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2541-2542 ทั้งหมด 12 เรื่อง เพื่อวิเคราะห์ภาพความเป็นชาย และโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาย และหญิงที่ถูกนำเสนอในภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์มีส่วนในการนำเสนอภาพความเป็นชายผ่านเนื้อหาของตัวภาพยนตร์เอง ซึ่งลักษณะของความเป็นชายที่ถูกถ่ายทอด และนำเสนอในภาพยนตร์นั้น แบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ ความเป็นชายแบบเก่าที่นำเสนอภาพความเป็นชายที่เป็นไปตามค่านิยมกระแสหลัก เช่น ผู้ชายต้องเข้มแข็ง มีอำนาจ มีความเป็นผู้นำ และความเป็นชายแบบใหม่ ที่ประกอบไปด้วย ภาพผู้ชายแบบผสม คือภาพของผู้ชายที่เป็นการผสมผสานระหว่างภาพความเป็นชายตามค่านิยมกระแสหลัก กับความเป็นชายแบบใหม่ที่มีความอ่อนไหว มีข้อบกพร่อง ไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป และภาพผู้ชายแบบอ่อนแอ ที่เป็นภาพตรงกันข้ามกับภาพความเป็นชายตามค่านิยมกระแสหลัก ในส่วนของการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาย และหญิงในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน ผลที่ได้พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงในภาพยนตร์ มักจะสะท้อนความหมายที่ไม่เท่าเทียมกันในเชิงอำนาจ ซึ่งก็เป็นไปตามกระแสหลักของสังคมที่ให้ความสำคัญกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในขณะที่ผู้ชายถูกนำเสนอในลักษณะของผู้นำ เป็นคนเข้มแข็งกล้าหาญ ผู้หญิงมักถูกนำเสนอในลักษณะตรงกันข้าม คือมักเป็นผู้ตาม และเป็นผู้ที่ต้องอยู่ในการคุ้มครองป้องกันจากผู้ชายเสมอๆ ลักษณะดังกล่าวนั้น เป็นไปตามกระแสค่านิยมของสังคมที่ถืออำนาจผู้ชายเป็นใหญ่นั่นเอง |
Other Abstract: | Analyses the portrayal of masculinities contents and the interaction between men and women in the Thai movies which reflect the stereotypical perceptions of society on social values and gender ideologies. The twelve movies shown from 1998 to 1999 were selected for textual analysis. The results of this study reveal that movies portrayed masculinities in two categories: 1) The social mainstream traits, such as men should be strong, dominant and possess leadership; 2) avantgarde masculinities, such as the combination between the mainstream traits and the new stereotype (being sensitive, complicated and imperfect), and the weak portrayals. Furthermore, the analysis of interaction between men and women in the movies has shown the unequality of power. This kind of interaction is relevant to the relationship between men and women themselves in the society. The society values the power of males and their domination. Men are always portray as the leader and the stronger while women are always portray as the follower and the weaker. The research findings also imply that this interaction is based on the patriarchal society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5670 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.271 |
ISBN: | 9741306393 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.271 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WitchaSan.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.