Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56772
Title: | การศึกษาการจัดการเรียนการสอนศิลปะในระดับชั้นอนุบาลที่ใช้แนวการศึกษามอนเตสซอรี่ |
Other Titles: | Study of art instruction organized in Montessori-based kindergarten |
Authors: | จิรฏา จินตนาการ |
Advisors: | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน (อนุบาล) การศึกษาปฐมวัย การสอนแบบมอนเตสซอรี Arts -- Study and teaching (Kindergarten) Early childhood education Montessori method of education |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการจัดการเรียนการสอนศิลปะในระดับชั้นอนุบาลที่ใช้แนวการศึกษามอนเตสซอรี่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารของโรงเรียน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญของโรงเรียน 5 คน และผู้สอนในระดับอนุบาล 12 คน จากโรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษามอนเตสซอรี่ในการจัดการศึกษา และอยู่ในสมาคมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเด็กเป็นสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนศิลปะในระดับชั้นอนุบาลที่ใช้แนวการศึกษามอนเตสซอรี่แบ่งได้ 8 ด้านดังนี้ 1) ด้านจุดประสงค์การเรียนการสอนศิลปะ ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ภาษา ฝึกการใช้ตา มือและประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน 2) ด้านหลักสูตร/เนื้อหา/กิจกรรม มีการใช้เนื้อหาจากเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องยาก โดยจะใช้หัวข้อเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น เด็ก พ่อแม่ บุคคล พืช สัตว์ เป็นหัวข้อในการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะ เทคนิคที่ใช้ในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการประดิษฐ์และการวาดภาพระบายสี 3) ด้านวิธีสอนใช้วิธีการสาธิตวิธีการทำให้เด็กดูทีละขั้นตอน มีการบูรณาการศิลปะเข้ากับกิจกรรมด้านนิสัยการทำงาน ครูผู้สอนอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมศิลปะ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นในการจัดเตรียมด้านอุปกรณ์ สถานที่ 4) ด้านผู้สอนจะให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน เน้นการสังเกตเด็กเป็นรายบุคคล ให้ความสำคัญกับการเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี 5) ด้านผู้เรียนสามารถเลือกทำกิจกรรมและอุปกรณ์ได้ตามความสนใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือผู้อื่น สามารถปฏิบัติงานได้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด ผู้เรียนสามารถเก็บอุปกรณ์เมื่อใช้เสร็จ สามารถดูแลความสะอาดหลังปฏิบัติกิจกรรม 6) ด้านอุปกรณ์เละสื่อการสอนมีการจัดเก็บอุปกรณ์ไว้บนชั้นตามหมวดหมู่ อุปกรณ์ที่ใช้ในชั้นเรียนจะคัดสรรให้มีน้ำหนัก ขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมกับมือเด็ก เหมาะสมกับการใช้งานในกิจกรรมแต่ละประเภท ครูผู้สอนจะสังเกตความสนใจของผู้เรียนที่มีต่ออุปกรณ์แต่ละชนิด 7) ด้านการวัดและการประเมินผล ใช้วิธีการสังเกตในการประเมินผล โดยประเมินผลจากพัฒนาการในการทำกิจกรรมและการใช้อุปกรณ์ ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ความตั้งใจในการทำกิจกรรมและการใช้อุปกรณ์ 8) ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน จัดให้มีห้องสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะโดยเฉพาะ มีการใช้พื้นที่นอกห้องเรียนสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนอย่างพอเพียง 9) ด้านผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือกับครูในการจัดการเรียนการสอน ครูมีการรายงานพฤติกรรมและพัฒนาการให้ผู้ปกครองทราบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และผู้ปกครองสามารถเข้าร่วมสังเกตการสอนในชั้นเรียนตามวันและเวลาที่ทางโรงเรียนกำหนดขึ้น |
Other Abstract: | To study the art instruction organized in Montessori- based kindergarten. The populations in this research were composed of five administrators, five experts and twenty one teachers in eight Montessori-based kindergartens. The research instruments were developed by the researcher included of interview, questionnaire and observation. The data collected in this research were analyzed by means of percentage, frequency and content analysis. According to the obtain data, it was found that all the groups of the participants expressed their opinions in the same way in all aspects as follows 1) Objectives of art instruction : focused on supporting child development in five aspects: physical, mental, emotional, social and language. In addition, practicing eyes, hands and five senses co-ordination of the children are also focused. 2) Curriculum, content and activity : focused on sequences of the teaching topic, which were arranged by level of difficulty. Topics of art activities mainly used in class were mostly about biological contents such as human, plants and animals. Handy craft, drawing and painting were topics to be taught. 3) Teaching method : demonstration was used as main method for teaching. Moreover, child's work habit was developed by teachers integrated art activity in their classroom. Teachers were also in change of managing facilities for art activities for the children such as art media. 4) Teacher : focused on the differences of child's learning, observed child individually and prepared suitable environment for the children. 5) Students: choosed activity and materials according to their interest, be charitable with others, finished their work on time, corrected materials and kept clean after work, 6) Teaching media: materials placed on shelf are arranged by shapes, sizes and weight of materials to make it suitable for children and their activities. Moreover, teachers also obderved childrens' motivation to art tools and art materials. 7) Evaluation: Teachers employed behavior observation as main method, also evaluated skill development in art activity and usage of art tools, personal discipline and activity intention 8) Learning environmemt: Art activity was suitable with art classroom. This also applied outdoor for art activity. 9) Parents: co-operated with teacher in instruction. Teacher reported their children's behavior and development at least once a week. Parents were allowed to observe their children under class permission. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56772 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.770 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.770 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jirata_ji_front.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirata_ji_ch1.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirata_ji_ch2.pdf | 19.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirata_ji_ch3.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirata_ji_ch4.pdf | 7.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirata_ji_ch5.pdf | 5.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirata_ji_back.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.