Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5710
Title: | ความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจในผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคใหลตายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Heart rate variabilities in Brugada syndrome patients who survival from sudden cardiac death in King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ |
Advisors: | สมชาย ปรีชาวัฒน์ |
Other author: | ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อัตราการเต้นของหัวใจ โรคไหลตาย กลุ่มอาการบรูกาดา |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจในผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคใหลตายเทียบกับคนปรกติ วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยโรคใหลตายที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบกลุ่มอาการบรูกาดาจำนวน 8 รายที่ไม่จำเป็นต้องทานยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะใด ๆ ในช่วงเวลา 2 อาทิตย์ และคนปรกติจำนวน 15 ราย มาติดเครื่องบันทึกไฟฟ้าหัวใจ (Holterʼs monitoring) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำข้อมูลมาหาค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจแบบ time domain ซึ่งจะได้ตัวแปรที่จะใช้บอกความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ คือ SDNN, SADNN, RMSSD, HRV triangular index ซึ่งจะนำไปแปรผลเป็นความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ (sympathovagal balance) โดยแบ่งช่วงเวลาที่จะศึกษาออกเป็น 3 ช่วงเวลาคือ 1. ตลอด 24 ชั่วโมง 2. กลางคืน 20.00 น.-6.00 น. และ 3. กลางวัน คือช่วงเวลา 6.00 20.00 น. ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคใหลตายที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบกลุ่มอาการบรูกาดาแตกต่างกันของความแปรปรวนของอัตราการการเต้นหัวใจในช่วงเวลาตลอด 24 ชั่วโมง, กลางคืนและ กลางวัน เมื่อเทียบกับคนปรกติ แต่พบว่าเมื่อเปรียบเทียบความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจในระหว่างกลางวันและกลางคืนในกลุ่มผู้ป่วยพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มควบคุมกลับพบว่า ความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจในเวลากลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: ในขณะที่ไม่มีอาการ ความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจที่แตกต่างกันน้อยอาจเป็นปัจจัยป้องกันไม่ให้เกิด VT/VF หรืออาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด VT/VF ได้ง่ายกว่าคนปรกติ การศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญและจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรคใหลตายในอนาคต |
Other Abstract: | Objective : To study the heart rate variabilities (HRV) in Brugada syndrome patients who survive from sudden cardiac death in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods : This design of study was an age-sex-match-case-control study. Subjects in study group (n=8) were previously healthy patients who were successfully resuscitated from VT/VF and had documented Brugada ECG pattern without structural heart disease. All of them were implanted with automatic implantable cardioverter defibrillator (AICD) and had no medication for at least 2 weeks. The controlled group (n=22) was healthy person with normal ECG. A 3-channel continuous ECG monitoring was performed in each subject for 24-h. All 24-h ECG data were analysed and transformed data to heart rate variabilities. We selected time domain parameters (SDNN, SADNN, RMSSD, HRV triangular index) used 3 time intervals: 24-h, daytime and nighttime (08.00 pm. to 06.00 am), to determine the difference of HRV in each period. Result : There was no statistical difference of SDNN, SADNN, RMSSD, and HRV triangular index between Brugada subjects and controls in each time but all parameters showed statistical significant between daytime and nighttime in control group but no significant difference between Brugada syndrome group. Conclusion : During asymptomatic, Brugada syndrome patients had lower difference in HRV during daytime and nighttime which may caused protective effect for VT/VF or this effect was the baseline abnormality in cardiac automaticity which easily induced VT/VF. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5710 |
ISBN: | 9741745141 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anuruck.pdf | 821.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.