Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57203
Title: อุปสงค์ด้านที่อยู่อาศัยของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Other Titles: Housing demand of electricity generatng authority of Thailand's employees
Authors: ปณัย แสนคำเครือ
Advisors: เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ที่อยู่อาศัย
การสำรวจที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานมนุษย์
Housing
Housing surveys
Human settlements
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่และมีความสำคัญด้านสาธารณูปโภค ทำหน้าที่ให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพ ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อความเจริญเติบโตของประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศ ปัจจุบันมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 23,992 คน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รับอนุมัติให้เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2537 พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยส่วนใหญ่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานใหญ่ประมาณ 70% และกระจายอยู่ตามหน่วยงานในภูมิภาคประมาณ 30% โดยปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไม่มีสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยโดยตรงให้แก่พนักงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสงค์ด้านที่อยู่อาศัยของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัญหาด้านการอยู่อาศัยของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีสมมุติฐานว่า พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีความสามารถสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยได้ และปัญหาด้านที่อยู่อาศัยปัจจุบันของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีผลต่อความต้องการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานประจำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปฏิบัติงานประจำ ณ สำนักงานใหญ่ อำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี ที่มีอายุงานไม่เกิน 15 ปี และพนักงานที่มีอายุตัวไม่เกิน 35 ปี โดยการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจากการแบบสอบถามพนักงานกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งนำมาประมวลผลรวมทั้งสิ้น 324 ชุด ซึ่งมากกว่าระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งเท่ากับ 292 ตัวอย่าง และจากการสัมภาษณ์ท่านรองผู้ว่าการบริหารในเชิงนโยบาย 2. ข้อมูลทุติยภูมิ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อมูลหน่วยงานต้นสังกัด นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ และทำการประมวลผล โดยใช้โปรแกรม SPSS และนำมาทำการสรุปอภิปรายผลร่วมกับทฤษฎี แนวคิดและงานวิจัยที่ผ่านมา ผลจากศึกษาพบว่าพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีสถานภาพโสด 77.16% จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาตรี มีเงินเดือนเฉลี่ย 20,000-25,000 บาท ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันมีรูปแบบเป็นบ้านเดี่ยว 55.25% อยู่อาศัยมาแล้วมากกว่า 15 ปี โดยมีกรรมสิทธิ์เป็นของบิดา มารดา ญาติพี่น้อง โดยมีผู้อาศัยอยู่รวมกันประมาณ 4 คน เดินทางไปทำงานด้วยรถยนต์ส่วนตัว มีความต้องการกรรมสิทธิ์แบบเป็นเจ้าของโดยมีความต้องการบ้านเดี่ยว 80.86% ระยะเวลาที่คาดว่าจะซื้อ 3 ปีขึ้นไป โดยราคาที่อยู่อาศัยที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับตนเอง คือ ราคาในช่วง 1,000,000 2,000,000 บาท 33.64% ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ที่มีระยะทางใกล้กับที่ทำงาน ประมาณ 5-10 กิโลเมตร และใช้เวลาในการเดินทางไม่เกิน 30 นาที ปัจจุบันปัญหาด้านที่อยู่อาศัยมีน้อย ทั้งด้านการอยู่อาศัยและด้านการเดินทาง (ดูตารางที่ 5.29 หน้า 78) ผลการวิจัยพบว่าพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีความสามารถสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยได้ โดยพนักงานมีรายได้เพียงพอตามความต้องการในอนาคตระยะ 3 ปีขึ้นไป ด้วยระบบสินเชื่อจากสถาบันการเงินและสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการเลือกที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวขนาดปานกลางที่ตั้งอยู่ชานเมืองของกรุงเทพฯและจ.นนทบุรีเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสำนักงานใหญ่ฯตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี และปัจจุบันพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไม่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยจึงไม่มีผลต่อความต้องการด้านที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้
Other Abstract: The Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) is a large state enterprise with an important role in providing public utility and quality electrical services as well as generating electricity for the country’s development. It currently has a total of 23,992 employees with its head office located in Bangkruay District, Nonthaburi. Furthermore, it is one of the three largest state enterprises in Thailand and was appointed a good state enterprise on August 30th, 1994. 70% of its employees work at the head office, while 30% serve at its branch offices scattered over different regions. At present, the EGAT provides no direct housing welfare for its employees. This study aims to examine the housing demands and housing problems of the EGAT’s employees. The research hypotheses were 1) EGAT’s employees were capable of satisfying their housing demands and 2) their housing problems affect their relocation needs. The samples were EGAT’s full-time employees from the head office who were aged less than thirty-five years and had worked in the enterprise for not more than fifteen years. Two types of data were collected. Primary data were gathered using a survey questionnaire. 324 sets of questionnaire were returned and processed, exceeding the 95% confidence level (292 samples). Also, interviews were conducted with EGAT’s Deputy Director. Secondary data were collected from related concepts, theories, and research as well as the preliminary data from EGAT’s employees and the units to which they belonged. All the data were analyzed using the SPSS program and discussed in relation to the related concepts, theories, and research. The research results were as follows. The majority of the samples were single (77.16%), held a master’s or bachelor’s degree, and earned an average of 20,000-25,000 baht per month. 55.25% were living in a single house, owned by their parents or relatives. The participants were living in a household of four members, had lived in their current residence for longer than 15 years and traveled to work by car, wished to have their own single house within three years. The price range which received the most responses was one to two million baht (33.64%). The participants wanted to live within five to ten kilometers or thirty minutes from work. They did not experience any serious housing problems with respect to both living and commuting (cf. Table 5.29, p. 78). It was also found that EGAT’s employees were able to satisfy their housing demands, indicated by their sufficient income in the next three years or more. This would be further supported by credit from financial institutions or cooperatives. Due to the location of the head office in Nonthaburi, the majority chose a mid-sized single house in Bangkok’s suburbs or Nonthaburi. Finally, the lack of housing problems revealed no housing demands in the near future.
Description: วิทยนิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57203
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1144
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1144
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panai_sa_front.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
panai_sa_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
panai_sa_ch2.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
panai_sa_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
panai_sa_ch4.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
panai_sa_ch5.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
panai_sa_ch6.pdf971.45 kBAdobe PDFView/Open
panai_sa_back.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.