Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5729
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชชุตา วุธาทิตย์-
dc.contributor.authorวรกมล เหมศรีชาติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialสมุทรสงคราม-
dc.date.accessioned2008-02-01T03:40:13Z-
dc.date.available2008-02-01T03:40:13Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741727275-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5729-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาการแสดงหุ่นกระบอกคณะชูเชิดชำนาญศิลป์ จังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 โดยเน้นประวัติ วิวัฒนาการ รูปแบบ องค์ประกอบ การจัดการแสดง และเทคนิคการเชิดหุ่นกระบอก ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์บุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเชิดหุ่นกระบอก การสังเกตการณ์ ตลอดจนการฝึกหัดเชิดหุ่นกระบอกด้วยตนเองจากหัวหน้าคณะชูเชิดชำนาญศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า ศิลปะการแสดงหุ่นของไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การแสดงหุ่นของไทยมี 4 ประเภท คือ หุ่นหลวง หุ่นไทย-จีน หุ่นกระบอกและหุ่นละครเล็ก แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน การแสดงหุ่นกระบอกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2435 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ่นกระบอกคณะชูเชิดชำนาญศิลป์ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยนายวงษ์ รวมสุข หุ่นกระบอกคณะชูเชิดชำนาญศิลป์มี ตัวหุ่น และศีรษะหุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่าหุ่นกระบอกทั่วไป หัวหุ่นแกะสลักจากไม้เนื้ออ่อน นำมาตกแต่งเขียนสี ลงรัก ปิดทอง มือและกรรเจียกจรแกะจากหนัง ไหล่ของหุ่นแกะจากไม้ให้มีความโค้งลงมาเป็นส่วนอกด้วย การแสดงเน้นความสนุกสนาน ลักษณะเด่นด้านการเชิดคือ การกระทบตัวหุ่นจะกระตุกข้อมือซ้อนกัน 2 ครั้ง การกล่อมตัวหุ่นมีการกล่อมในและกล่อมนอก การเชิดตีลังกาในตัวลิง และการเชิดหกหน้าหกหลังในตัวผีเสื้อสมุทรที่เน้นความตลก เรื่องที่ใช้แสดงที่ นายวงษ์ รวมสุข แต่งขึ้นเองมี 5 เรื่อง คือ มงกุฎเพชรมงกุฎแก้ว ระกาแก้ว กุมารกายสิทธิ์ ศรีสุริยงและคนโททอง แต่เรื่องที่นิยมแสดงในปัจจุบันได้แก่ เรื่องระกาแก้วและพระอภัยมณี วงดนตรีประกอบการแสดงคือวงปี่พาทย์ และต้องมีซออู้บรรเลงประกอบขณะที่ร้องท้าวด้วย การแสดงเริ่มต้นด้วยการบูชาครู การโหมโรง การรำไหว้ครูเบิกโรง แล้วจึงเริ่มต้นแสดง เมื่อจบเรื่องตัวตลกหรือหุ่นโฆษกจะออกมากล่าวอำลา และปี่พาทย์จะทำเพลงกราวรำหรือสรรเสริญพระบารมี เป็นอันสิ้นสุดการแสดง การแสดงหุ่นกระบอกสามารถแสดงทั้งงานมงคลและอวมงคล ผู้สืบทอดการแสดงหุ่นกระบอก คณะชูเชิดชำนาญศิลป์ในปัจจุบันคือ นางกรรณิกา แก้วอ่อน มุ่งเน้นที่สืบทอดและอนุรักษ์การแสดงนี้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ของจังหวัดสมุทรสงครามสืบไปen
dc.description.abstractalternativeTo study the rod puppet performance of Chucherdchamnansil troupe in Samut Songkhram province, 2001 to 2002 including its historical development, form, major components, performance and manipulating technic. Research methodology is tased upon documentary review, interviewing of experts, observation and practice with the troupe head. Research finds that the puppets have been performed since Ayudhya period until today. Hun Luang, Hun Thai-Jin, Hun Krabok and Hun Lakon Lek are four kinds of Thai puppetry now. Hun Krabok started in Thailand around 1892. Chucherdchamnansil troupe started in 1952 at Samut Songkhram province by Mr. Wong Roumsuk for living. Puppet dolls of Chucherdchamnansil troupe are larger than general size, made of softwood painted and decorated with gold leaves. Ear pieces are made of leather. Shoulder wooden piece is extended to the chest. Performance stresses comical devices, which reflects in manipulating technics. Many special technics were created by this troupe. The troupe has five original plays Mongkutphet Mongkuykaew, Rakakaew, Gumangayasit, Srisuriyong and Kontotong. Two most popular stories today are Rakakaew and Praapaimanee. The performance starts with paying homage to the guru and deities followed by music prelude and dance prelude, then a play proper is shown and ended with a farewell piece performed by the clowns. Pipat music accompanies throughout the performance. This Hun troupe performs on all occasions. Main objective of Chucherdchamnansil troupe preserver, Mrs Kunnika Kawon, now is for preservation the performance as a cultural heritage of Samut Songkhram province.en
dc.format.extent12560657 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหุ่นและการเล่นหุ่น -- ไทยen
dc.subjectหุ่นกระบอก -- ไทยen
dc.titleการแสดงหุ่นกระบอกคณะชูเชิดชำนาญศิลป์ จังหวัดสมุทรสงครามen
dc.title.alternativePuppet performances of Chucherdchamnansil in Samut Songkhramen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worakamon.pdf12.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.