Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5748
Title: การใช้ความกลัวในสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาสินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับคนรุ่นรหัสเอ็กซ์
Other Titles: The use of fear in shopping goods print advertising for generation X
Authors: สมัชชนันท์ เอกปัญญากุล
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: โฆษณา
โฆษณาทางวารสาร
ความกลัว
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและวิเคราะห์ประเภทของความกลัวที่จะนำมาใช้ ในสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาสินค้าเปรียบเทียบซื้อให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมาย และศึกษาแนวทางและวิธีการนำเสนอภาพในการออกแบบ สื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาสินค้าเปรียบเทียบซื้อที่มีการใช้ความกลัว วิธีการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research)) โดยใช้แบบสอบถามหาค่าความถี่ (Frequency) ประเภทของความกลัวจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลการวิจัย ข้อที่ 1 และการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อหาผลการวิจัยข้อที่ 2 ในส่วนของวิธีการนำเสนอภาพที่ใช้ใน สื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาสินค้าเปรียบเทียบซื้อทางนิตยสาร ที่มีการใช้ความกลัว โดยใช้วิธีการนำเสนอภาพโฆษณาโดยทั่วไป 14 วิธีมาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ประเภทของความกลัวที่น่าจะนำมาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่มีการใช้ความกลัว ซึ่งเหมาะกับกลุ่มคนรุ่นรหัสเอ็กซ์มีทั้งหมด 5 อันดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือ 1. กลัวความผิดหวัง (ในการใช้สินค้า) 2. กลัวการทำผิดพลาด (ในการตัดสินใจซื้อ) 3. กลัวไม่ปลอดภัย (จากการใช้สินค้า) 4. กลัวการขาดความมั่นคงทางการเงิน 5. กลัวถูกรังเกียจ (จากคนรอบข้าง) และพบว่าก่อนการตัดสินใจซื้อโดยส่วนใหญ่ กลุ่มเป้าหมายจะคำนึงถึงเรื่องของคุณภาพมากที่สุด ในการซื้อสินค้าเปรียบเทียบซื้อ วิธีการนำเสนอภาพโฆษณาทางนิตยสารพบว่า จากตัวอย่างสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาสินค้าเปรียบเทียบซื้อ ทางนิตยสารที่มีการใช้ความกลัวมีวิธีการนำเสนอภาพได้ทั้งหมด 4 วิธีจากจำนวนวิธีการนำเสนอภาพโฆษณาโดยทั่วไป 14 วิธีคือ 1. เสนอภาพที่แสดงการอุปมา-อุปมัย 2. เสนอภาพผลของการไม่ได้ใช้สินค้านั้นๆ 3. เสนอภาพประกอบพาดหัวหรือหัวเรื่อง 4. เสนอภาพปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการใช้สินค้า และภาพที่เป็นผลจากการใช้สินค้านั้น โดยวิธีการนำเสนอภาพที่มีการใช้มากที่สุด ในตัวอย่างสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาสิรค้าเปรียบเทียบซื้อ ทางนิตยสารที่มีการใช้ความกลัวคือเสนอภาพที่แสดงการอุปมา/อุปมัย ส่วนวิธีการนำเสนอภาพที่พบว่ามีการใช้น้อยที่สุดคือ เสนอภาพปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการใช้สินค้า และภาพที่เป็นผลจากการใช้สินค้านั้น
Other Abstract: To study and analyze the kinds of fear amongst generation X for use in shopping goods print advertising. And to find ways to present the design of shopping goods print advertising based on fear. The method of research is both quantitative and qualitative. Quantitative research is the method used for the first objective through the use of questionaires. Qualitative research is the method used for the second objective by using fourteen basic presentation styles of advertising for analysis. The research findings indicate five knids of fear amongst generation X that can be used in shopping goods print advertising in the following order : 1. Fear of disappointment (in the use of products) 2. Fear of makign a mistake (in purchase decision) 3. Fear of danger (from the use of products) 4. Fear of unstable finance 5. Fear of hatred (by other people). The findings also indicate that quality is the primary consideration of the majority of target group before making purchase decision. For the presentation styles, fouroptions are selected from the forty samples of shopping goods print advertising based on fear as follows : 1. Analogy 2. Consequences of not using 3. Dramatizing the headline 4. Problem-results. Of the four, analogy is the most favarite style used and problem-results is used the least.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5748
ISBN: 9741710674
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Smuchanan.pdf8.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.