Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5758
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะมล อัลบูสทานี | - |
dc.contributor.advisor | รุจ จำเดิมเผด็จศึก | - |
dc.contributor.author | สุภัคตรา ต่อฑีฆะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-04T04:09:19Z | - |
dc.date.available | 2008-02-04T04:09:19Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741714785 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5758 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | โดยทั่วไปในการใช้เรซินซีเมนต์ยึดเดือยฟันในคลองรากที่ได้รับการอุดด้วยวัสดุอุดคลองรากที่มียูจินอล ซึ่งจะมีการตกค้างของยูจินอลอยู่ภายในคลองรากฟัน จะทำให้เกิดโพลิเมอร์ไรเซชันของเรซินไม่สมบูรณ์ เกิดแรงยึดที่น้อยลง เกิดการรั่วซึมภายในคลองรากมากขึ้น ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการล้างคลองรากฟันด้วยสารชนิดต่างๆที่สามารถลดยูจินอลที่ตกค้างภายในรากฟัน การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมที่เกิดขึ้นทดสอบโดยการใช้สารซิลเวอร์ไนเทรต และเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟัน หลังจากการล้างทำความสะอาดคลองรากด้วย น้ำเกลือ เอธิลแอลกอฮอล์ อะซีโตน กรดฟอสฟอริก และ อีดีทีเอ โดยการใช้ฟันรากเดียว จำนวน 164 ซี่ นำมาแบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 3 ตอน ผลการทดลองพบว่า ตอนที่1 เปรียบเทียบการรั่วซึมที่บริเวณปลายรากฟันระหว่างอุดเต็มคลองราก กับกลุ่มที่ได้รับการใช้เครื่องมือลนไฟตัดวัสดุอุดคลองรากออก เหลือวัสดุอุดปลายราก 3 มิลลิเมตร ให้ค่าการรั่วซึมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ P >0.05 (T-test) ตอนที่ 2 เปรียบเทียบการรั่วซึมที่เกิดขึ้นภายในคลองรากฟันหลังจากการล้างคลองรากด้วยสารชนิดต่างๆ พบว่าค่าเฉลี่ยการรั่วซึมกลุ่มที่ใช้น้ำเกลือน้อยกว่าสารชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญที่ P< 0.05 (LSD test) ขณะที่ค่าเฉลี่ยการรั่วซึมระหว่างแอลกอฮอล์ อะซีโตน กรดฟอสฟอริก และ อีดีทีเอ ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และตอนที่ 3 ทดสอบการรั่วซึมที่บริเวณปลายรากระหว่างเรซินซีเมนต์ (พานาเวีย เอฟ)กับเนื้อฟัน และการทดสอบค่าความแข็งแรงพันธะเฉือน หลังจากการล้างคลองรากด้วยสารชนิดต่างๆ พบว่าค่าเฉลี่ยการรั่วซึมที่บริเวณปลายรากจากการล้างด้วยสารชนิดต่างๆ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระยะทางการรั่วซึมระหว่างเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟัน พบว่าค่าเฉลี่ยการรั่วซึมของแอลกอฮอล์ กับ อะซีโตน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และค่าเฉลี่ยระยะทางการรั่วซึมน้อยกว่ากลุ่มที่ล้างด้วย อะซีโตน น้ำเกลือ กรดฟอสฟอริก และอีดีทีเอ ที่มีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และการวัดค่าความแข็งแรงพันธะเฉือน พบว่ากลุ่มที่ล้างด้วยอะซีโตน และ อีดีทีเอ ให้ค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนมากกว่ากลุ่มที่ล้างด้วยน้ำเกลืออย่างมีนัยสำคัญ และกลุ่มที่ล้างด้วยน้ำเกลือให้ค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนมากกว่ากลุ่มที่ล้างด้วยแอลกอฮอล์ และกรดฟอสฟอริก อย่างมีนัยสำคัญ | en |
dc.description.abstractalternative | Composite luting agent commonly used to cement post in endodontically treated teeth is effected by eugenol presented in endodontic sealer. Eugenol is known to cause incomplete polymerization, decrease bond strength and increase radicular leakage. It is essential to irrigate root canal with proper irrigation agent to minimize this effect.This study investigated the effect of irrigation agents used in endodontically treated tooth (with eugenol containing endodontic sealer) on radicular leakage and bond strength. The irrigation agents used before luting with resin cement were normal saline, ethyl alcohol, acetone, phosphoric acid and EDTA. One hundred sixty four single roots were obturated with eugenol containing endodontic sealer. Using silver nitrate as tracer, the study was divided in three parts. Part one; mean leakage of completely filled root canal was compared to partially filled root canal (3 mm. gutta purcha remaining). The result indicated no significant difference (p > 0.05 , T-test ). Part two of the experiment ; five irrigation agents were used in partially filled root canal. Normal saline exhibited the least leakage while other four agents exhibited no significant difference (p < 0.05 ,LSD test ). Part three; Panavia F luting agent was used to cement partially filled root canal after irrigating with five agents. The result indicated that there was no significant different in mean apical leakage. Alcohol exhibited less leakage between dentine-resin interface when compared to acetone. There was no significant difference in dentine-resin interface leakage for the four remaining groups (acetone, normal saline, phosphoric acid and EDTA ). Irrigating with acetone and EDTA yielded significantly higher bond strength than normal saline, which also yielded higher bond strength than alcohol and phosphoric acid. | en |
dc.format.extent | 1668878 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.587 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คลองรากฟัน -- การรักษา | en |
dc.subject | เรซินทางทันตกรรม | en |
dc.subject | ทันตกรรมบูรณะ | en |
dc.title | การรั่วซึมในฟันรักษาคลองรากที่ได้รับการอุดด้วยซีเมนต์ที่มียูจินอล : ผลของการล้างด้วยสารชนิดต่างๆก่อนการยึดด้วยเรซินซีเมนต์ | en |
dc.title.alternative | Leakage of roots obturated with eugenol-containing endodontic sealer : the effect of irrigation agents before luting with resin cement | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมประดิษฐ์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.587 | - |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supaktra_Tort.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.