Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58048
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ระยะเวลาในการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม ภาวะไม่สมดุลทางอารมณ์ และคุณภาพการนอนหลับกับการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
Other Titles: Relationships between personal factors, cardiopulmonary bypass, mood disturbance, sleep quality, and neurocognitive functions of post open heart surgery patients
Authors: สุนันทา สกูลดี
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
สุนิดา ปรีชาวงษ์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: หัวใจ -- ศัลยกรรม
หัวใจ -- ศัลยกรรม -- ผู้ป่วย
หัวใจ -- ศัลยกรรม -- ผู้ป่วย -- สุขภาพและอนามัย
หัวใจ -- ศัลยกรรม -- ผู้ป่วย -- การพยาบาล
Heart -- Surgery
Heart -- Surgery -- Patients
Heart -- Surgery -- Patients -- Health and hygiene
Heart -- Diseases -- Nursing
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสัมพันธ์ เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดระหว่าง 1 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ เพศ ระยะเวลาในการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมระหว่างการผ่าตัด ภาวะไม่สมดุลทางอารมณ์ คุณภาพการนอนหลับ กับการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบ ด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลความเจ็บป่วย แบบวัดสมรรถภาพสมองของคนไทยสำหรับบุคคลที่อ่านภาษาไทยไม่ได้ แบบประเมินภาวะอารมณ์ และแบบวัดคุณภาพการนอนหลับ โดยแบบวัดสมรรถภาพสมองของคนไทยสำหรับบุคคลที่อ่านภาษาไทยไม่ได้คำนวณค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร KR-20 มีค่าความเที่ยงเท่า กับ .77 ส่วนแบบประเมินภาวะอารมณ์ และแบบวัดคุณภาพการนอนหลับ มีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชการวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด 1 สัปดาห์กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดลดลง ( = 27.48 , SD = 1.85) กว่าก่อนการผ่าตัด ( = 28.45 , SD = .99) และหลังผ่าตัด 4 สัปดาห์ ( = 28.33 , SD = 1.58) และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r =-.237) 3. ภาวะไม่สมดุลทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ในช่วงหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r =-.221)
Other Abstract: The purpose of this study was to compare neurocognitive function after open heart surgery and examine the relationships between age, sex, cardio-pulmonary bypass time, quality of sleep, mood disturbance, and neuron cognitive function of post open heart surgery patients. Eighty post open-heart surgery patients were selected by multi-stage random sampling. The instrument was a set of questionnaires consisting of five parts: a demographic data form, the Modified Thai Mental state Examination (MTMSE), the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) and a Shortened form of the Profile of Mood State questionnaire. The reliability of the Modified Thai Mental state Examination (MTMSE), a Shortened form of the Profile of Mood State questionnaire and the Pittsburgh Sleep Quality Index: (PSQI) were 77, .87, and .75. respectively. Repeated measures ANOVA, Pearson product-moment correlation and point biserial correlation were used for statistical analysis. Results were as follows: 1. Mean scores of neurocognitive function at 1 week and 4 weeks after open heart surgery were lower than before surgery and significant at .05 level ( 1= 28.45 SD = .99, 2= 27.48 SD =1.85, 3= 28.33 SD = 1.58 respectively). Mean score of neurocognitive function 1 week after surgery was at the lowest level. 2. There was negative statistical correlation between age and neurocognitive function of post open heart surgery patients at the level of .05. (r = -.237). 3. One week after the post open heart surgery, a significant negative correlation between mood disturbance and neurocognitive function was also found (r=-.221)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58048
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2080
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2080
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunanta Sakundee.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.