Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58067
Title: การประยุกต์ใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตในการประเมินสุขภาพของพนักงานในองค์กร
Other Titles: Applying quality of life concept to employee health assessment in the organization
Authors: ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์
Advisors: ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการสูญเสียด้านสุขภาพระดับองค์กรที่รวมการเจ็บป่วยและการตายเข้าด้วยกัน เพื่อนำใช้ในการจัดลำดับวางแผนและจัดการปัญหาสุขภาพ โดยทดลองใช้ในบุคลากรฝ่ายการพยาบาลของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง เนื่องจากพยาบาลเป็นบุคลากรหลักในระบบสุขภาพ เผชิญกับปัญหาการลาออกและขาดแคลนบุคลากรทำให้พยาบาลมีภาระงานมากก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและเหนื่อยล้าส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและภาวะของประชากรเป้าหมายถูกรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองและข้อมูลเวชระเบียน ค่าถ่วงน้ำหนักคุณค่างานและระยะเวลาการเจ็บป่วยได้จากคณะทำงานภาระโรคและปัจจัยเสี่ยง และจากแหล่งข้อมูลในต่างประเทศ ส่วนคะแนนคุณค่างานถูกจัดทำโดยวิธี point rating method โดยนำมาเทียบกับฐานเงินเดือน ทั้งนี้ข้อมูลการเจ็บป่วยใช้รายงานโรคจากแบบสอบถามซึ่งมีความเป็นตัวแทนและมีข้อดีมากกว่าเวชระเบียน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการสูญเสียปีสุขภาวะในมุมมองขององค์กร โดยดูจากผลรวมของปีที่อยู่ด้วยการเจ็บป่วยในขณะทำงาน และปีที่สูญเสียจากการออกจากงานก่อนวัยอันควร และวิเคราะห์จำแนกตามโรค กลุ่มโรค อายุ และหอผู้ป่วย ผลการศึกษา พบว่า การสูญเสียปีสุขภาวะในช่วงทำงานของบุคลากรฝ่ายการพยาบาลในปี พ.ศ.2557 มีค่า 48.3 ปี ปีที่อยู่ด้วยการเจ็บป่วยคิดเป็นร้อยละ 48.2 ของการสูญเสียปีสุขภาวะ โรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียปี สุขภาวะมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งรังไข่ร้อยละ 45.8 โรควิตกกังวลร้อยละ 14.6 และโรคข้อเสื่อมร้อยละ 13.9 ในส่วนของความผิดปกติทางจิตนั้น โรควิตกกังวลเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียมากที่สุดในภาระโรคจากการเจ็บป่วย โดยเกิดมากในกลุ่มพยาบาลที่อายุยังน้อยและอยู่ในหอผู้ป่วยที่มีภาระงานมาก ส่วนภาระโรคจากการตาย มีโรคมะเร็งเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะมากที่สุด จำนวน 25 ปี หรือร้อยละ 51.8 โดยการพิจารณาคุณค่างานส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อผลการจัดลำดับการสูญเสียปีสุขภาวะเมื่อจำแนกตามหอผู้ป่วยและกลุ่มอายุ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของภาระโรคในบุคลากรฝ่ายการพยาบาล โดยควรให้ความสนใจโรคด้านจิตเวชในกลุ่มบุคลากรที่อายุยังน้อยและในหอผู้ป่วยที่มีภาระงานมาก ทั้งนี้ ผลการศึกษาสามารถช่วยผู้บริหารในการจัดการบริบทในการทำงานและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในอนาคต
Other Abstract: This study developed and used a novel approach to measure population health impacts, combining both mortality and morbidity burden, among nursing staff at a tertiary hospital to support organization design and management. Since nurse professional is a major workforce for health care systems in most countries, they face several challenges including shortages, high turnover, and inequitable distribution. As a result of heavy workload many nursing staff suffer from health problems and burnout resulting in low productivity at work. We collected data on diseases and illness conditions of target population using self-reported questionnaire and electronic medical records. Disability weights and estimated duration of disease were derived from Thai Burden of Diseases study and relevant international resources. Job weights were estimated using point rating method, in comparison with the organization’s salary scale. Information from self-report questionnaire was found to better represent target population than information from medical record. The analysis applied similar methods to calculate disability adjusted life year (DALY) with organizational perspective. Years Working with Disability (YWD) and Years of Work Lost (YWL) were calculated for nursing population subgroups e.g. by disease and disease category, age groups, and hospital ward. Total disease burden among nursing staff in the year 2014 was at 48.3 years of full work productivity. The YWD accounts for 48.2% of total disease burden. The top three leading causes of disease burden are ovarian cancer (45.8%), anxiety disorders (14.6%) and osteoarthritis (13.9%). Mental disorders including anxiety are the highest non-fatal cause of disease burden which occurred mostly in younger and inpatient nurses. Cancer was the only fatal disease which incurred the largest disease burden of 25 years or 51.8% of total disease burden. The rankings of diseases by their DAWY by ward and age group were slightly affected by the use of job weights. This study shows that non-communicable diseases constitute the major disease burden in the nursing staff. More attention to psychological conditions of nursing staff is required especially among young staff and those working in high workload ward. Our findings can be used by hospital managers and nurse supervisors to improve their work conditions and to select appropriate health promotion interventions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58067
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.230
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.230
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474905030.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.