Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58117
Title: | การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF NON-FORMAL EDUCATION PROGRAM BASED ON A CULTURAL INTELLIGENCE AND STEPHEN R.COVEY’S SEVEN HABITS CONCEPT TO ENHANCE COLLABORATIVE WORKING SKILLS FOR PERSONNEL OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES |
Authors: | ชนัญญา ใยลออ |
Advisors: | มนัสวาสน์ โกวิทยา วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | การเรียนรู้ร่วมกัน การศึกษานอกระบบโรงเรียน นิสัย ทักษะชีวิต ความฉลาดทางวัฒนธรรม Collaborative learning Non-formal education Habit Life skills Cultural intelligence |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เชิงยืนยันสาระร่วมกันที่เกิดจากแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์ โควี่ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรมและแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่ เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปใช้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แรงงานที่ทำงานอยู่ในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก เป็นการวิเคราะห์เชิงยืนยันสาระร่วมกันของแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์ เพื่อตรวจสอบยืนยันความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเบื้องต้นในการพัฒนาเป็นเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างสัญชาติที่ทำงานร่วมกันในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 300 คน ขั้นตอนที่สอง พัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนกับแรงงานต่างสัญชาติที่ทำงานร่วมกันในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 20 คน ขั้นตอนที่สาม ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ด้วยการสนทนากลุ่มของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอน และเจ้าของกิจการ ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ประกอบทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การเปิดใจต่อการเรียนรู้เพื่อเข้าใจความแตกต่างในการทำงานร่วมกัน การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้ด้านความแตกต่างเพื่อการทำงานร่วมกัน การผสานประโยชน์ร่วมกันในการทำงานด้วยการมีทัศนคติเชิงบวกต่อกัน การปรับตัวเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเองเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน 2. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรมและแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่ เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ผู้เรียน ผู้สอน กิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ ระยะเวลาในการเรียนรู้ แหล่งความรู้และสื่อการสอน สภาพแวดล้อมในการจัดการศึกษา รวมถึงการวัดและประเมินผล และผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความรู้ทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีทักษะในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) และกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมมีทัศนคติเพื่อเสริมสร้างทักษะในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ไม่มีความแตกต่างกันทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ ได้แก่ 1.การสนับสนุนส่งเสริมจากเจ้าของกิจการ 2. ผู้สอน 3.ผู้เรียน 4.การลงมือปฏิบัติจริง 5.สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขในการนำไปใช้ ได้แก่ 1. ผู้สอนที่มีบทบาทเป็นผู้ประสานงาน /เพื่อน 2. ระยะเวลาในการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติการโครงงานร่วมกัน 3.การเรียงลำดับเนื้อหาที่พัฒนาจากองค์ประกอบทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 4.ความเข้าใจภาษาในการร่วมกิจกรรม |
Other Abstract: | The objectives of this study were 1) to analyze integrated contents the confirmatory factors of collaborative working skills for personnel of the Cultural Intelligence and Stephen R. Covey’s concept. 2) to develop a non – formal education program to enhance collaborative working skills in small and medium enterprises. 3) to study the factors and conditions related to the non-formal education program to be used. The data was collected from Bangkok, Samutprakarn, Nonthaburi and Pathumtani areas. The research was divided into 3 steps. (1) to analyze integrated contents the confirmatory factors of collaborative working skills for personnel of the Cultural Intelligence and Stephen R. Covey’s concept and confirm the components of collaborating with others in small and medium enterprises. The samples were 300 labors of small and medium enterprises, selected through purposive sampling technique. (2) to develop and implement a non – formal education program to enhance collaborative working skills and the sample of this study were 20 multinational labors of small and medium enterprises (3) to study the factors and conditions by group discussion guidelines. Results of this research were the follows: 1) The components of collaborative working skills for personnel of small and medium enterprises consisted of 5 components. They were open-mindedness to learn for understanding the differences in working together, goal setting and planning to learn the differences in working together, synergy in working together with a positive attitude each other, adaptation to work together constructively, sustainable development to working with others. 2) The non – formal education program based on a cultural intelligence and Stephen R. Covey’s concepts to promote collaborative working skills for personnel of small and medium enterprises consisted of the objectives, learners, instructors, learning activities, contents, periods, learning resource and learning material, environment and assessment and evaluation. And the results of the program implementation as follow: 1) the knowledge score of the collaborative working skills for personnel of small and medium enterprises concept after the experimentation increased higher than the prior experimentation with statistical significant at level of .05 2) the skill score of the collaborative working skills for personnel of small and medium enterprises concept after the experimentation increased higher than the prior experimentation with statistical significant at level of .05 -3) and there were no significant differences of the attitude score of the collaborative working skills for personnel of small and medium enterprises concept between prior and after the experimentation with statistical significant at level of .05 3) The factors concerning the non – formal education program related to the use of the program that might have affected the program including 1. Support from the entrepreneur 2. Instructors 3. Learners 4.Learning by doing 5.Environment. Conditions related to the use of the program were: 1.Instructors’s role as mediators/friends 2. Appropriate duration of project learning 3. Content sorting follows the components of collaborating with others in small and medium enterprises 4. Understanding the language of participation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58117 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.770 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.770 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584462027.pdf | 9.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.