Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58122
Title: | การคำนวณการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากข้อมูลการติดตามการเคลื่อนที่ของรถยนต์ |
Other Titles: | CALCULATION OF FUEL CONSUMPTION AND GREEN HOUSE GAS EMISSION FROM VEHICLE MOVEMENT TRACKING DATA |
Authors: | จักริน ณ บางช้าง |
Advisors: | สรวิศ นฤปิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะสามารถหาได้จาก 3 วิธีหลักๆได้แก่ 1) การหาการสิ้นเปลืองพลังงานในห้องปฏิบัติการ 2) การวัดค่าโดยเทคนิคการตรวจวัดโดยตรงจากรถยนต์ 3) การใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลและประมาณค่า ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อจำกัดในการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน อาทิ เรื่องของการจำกัดสภาวะของการทดสอบ ต้นทุนในการทดสอบ ความซับซ้อนในการประมาณการ เป็นต้น อุปกรณ์ GPS (Global Positioning System) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมติดตั้งบนยานพาหนะ ที่สามารถให้ข้อมูลการเดินทางและการเคลื่อนที่ของยานพาหนะได้ ข้อมูลนี้จึงน่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์ใช้ประมาณการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ดีจะต้องคำนึงถึงกับปัจจัยต่างๆ อาทิ ลักษณะของข้อมูล GPS วิธีการใช้ข้อมูลเพื่อการประมาณ และ ความสัมพันธ์ของค่าการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับข้อมูลการเคลื่อนที่และความถูกต้องที่ได้จากการประมาณ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากข้อมูลการเคลื่อนที่ที่ได้จากอุปกรณ์ GPS โดยเริ่มจากติดตั้ง OBD (on-board diagnosis system) บนรถยนต์ จากนั้นนำค่าที่ได้มาสร้างแบบจำลองขึ้นสองแบบจำลองคือ แบบจำลอง Instantaneous ซึ่งมีตัวแปรความเร็วและความเร่ง และแบบจำลอง Average มีเพียงตัวแปรความเร็วเฉลี่ย จากนั้นนำมาทดสอบความถูกต้องของการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ความถี่ข้อมูลที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่าการประมาณการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแบบจำลอง Instantaneous จะให้ความถูกต้องที่ดีกว่าแบบจำลอง Average เมื่อพิจารณาปัจจัยความถี่จากอุปกรณ์ GPS พบว่าการประมาณค่าโดยใช้ข้อมูล GPS ที่มีความถี่ที่สูงจะให้ค่าที่มีความถูกต้องสูง และค่าความถูกต้องจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อใช้ข้อมูล GPS ที่มีความถี่ต่ำลง ความถี่ของข้อมูลที่เหมาะสมในการใช้งานที่ความถูกต้องไม่เกิน 20% คือไม่เกินทุกๆ 15 วินาที |
Other Abstract: | Presently, fuel consumption and green house gas emission from road transport can be determined from three methods: 1) Laboratory test, 2) Fuel and Emission measuring device attached to vehicle, and 3) Estimation from data collected from device equipped on the vehicle. Each method has various limitations, for instance, test environment, cost of test and data collection, complexity of estimation. Global Positioning System or GPS is commonly known and installed on vehicles to track travel data and vehicle movements. This data is useful for applying it to estimate fuel consumption and green house gas (CO2) Nonetheless, several matters are concerned such as characteristics of GPS data, estimation method, the relationship between fuel consumption and green house gas emission, and tracking data and accuracy of the estimation. This research objective was to estimate the fuel consumption and green house gas emission from data from GPS tracking. First, on-board diagnosis system(OBD) is installed from vehicle. Then two models were developed; Instantaneous model which used speed and acceleration and Average model which used only average speed. The research tested accuracy of fuel consumption and CO2 emission at various frequency of GPS data. The results show that the estimation of fuel consumption and green house gas emission from instantaneous model gives better accuracy than the estimation from average model. Regarding the frequency of GPS data, the estimation using higher frequency of travel data yields higher accuracy. The trend of accuracy declines when the frequency is lower. The 15-second interval GPS data or higher gives appropriate accuracy of less than 20%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58122 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.919 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.919 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670138421.pdf | 6.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.