Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5815
Title: การศึกษาเปรียบเทียบ "สี่แผ่นดิน" ฉบับแปลภาษาจีนสองสำนวน
Other Titles: A comparative study of two Chinese translated versions of "Si Phaendin"
Authors: ปิยะมาศ สรรพวีรวงศ์
Advisors: พัชนี ตั้งยืนยง
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ภาษาจีน -- การแปล
วรรณกรรมไทย -- การแปลเป็นภาษาจีน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่อง"สี่แผ่นดิน" ฉบับแปลภาษาจีนสองสำนวนนี้ แบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการเปรียบเทียบฉบับแปลภาษาจีนทั้งสองกับต้นฉบับภาษาไทย และส่วนที่สองเป็นการเปรียบเทียบสำนวนแปลที่แตกต่างกันของฉบับแปลภาษาจีนทั้งสอง โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาเปรียบเทียบในระดับคำและสำนวนในเนื้อเรื่องเฉพาะแผ่นดินที่หนึ่ง คือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีบริบทที่เกี่ยวกับค่านิยม ประเพณีไทย และวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์อยู่ ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าฉบับแปลภาษาจีนทั้งสองมีทั้งส่วนที่แปลตรงและต่างกับต้นฉบับ ซึ่งมีสาเหตุจากความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันของวัฒนธรรมและสิ่งที่มีในสังคมไทยและสังคมจีน ประกอบกับกลวิธีที่ผู้แปลใช้ในการแปล บางครั้งอาจมีการปรับบทแปล หรือแปลแบบเอาความแทนที่จะแปลแบบตรงตัว ส่วนการที่สำนวนแปลในฉบับภาษาจีนแตกต่างกันนั้นเกิดขึ้นในลักษณะต่างๆกัน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระหว่างกระบวนการรับสารต้นฉบับจนถึงการถ่ายทอดเป็นภาษาจีนพบว่า สาเหตุนั้นได้แก่ ความรู้ทางภาษาและความรู้ด้านเนื้อหาของผู้แปลต่างกัน การตีความในระดับวาทกรรมแตกต่างกัน และกลวิธีในการแปลแตกต่างกัน ทำให้ผลตอบสนองของผู้รับสารฉบับแปลทั้งสองแตกต่างกันด้วย
Other Abstract: This comparative study of two Chinese translated versions of "Si Rhaendin" is divided into two parts, a comparison of the two Chinese tranlated versions with the Thai original work and a comparison of different wording in both Chinese versions. The study is set in a scope of words and idioms used in the text of the first reign, or the period of King Rama V, which consisted of unique characteristics of Thai values, traditions, and language. The findings of the comparative study show that there are instances which correspond in both Chinese versions to the Thai version. Also, there are instances which differ from the original Thai version. There are various reasons for differences in the text, one of these is a result of differences in the two cultures. Another reson is the translation methods the translators use. These methods are literal translation, free translation, and adjusting the text. In the case of differently translated Chinese versions, there are several steps in the translation process which lead to these differences. The process of translating the text into Chinese reveals the diversity of the two translators in their knowledge of language and the text. Besides, their interpretation of context and translation methods also contribute to the differences. These fifferent versions cause a difference in perception between readers of either translated versions.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาจีน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5815
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.199
ISBN: 9743472428
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.199
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyamas.pdf10.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.