Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58379
Title: | แรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ติดบุหรี่ที่เข้ามารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Motivation to change smoking behavior of smokers at the Check - Up Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | สกล ศรีสุขล้อม |
Advisors: | รัศมน กัลยาศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่นั้นเป็นประเด็นสำคัญที่น่าศึกษาให้ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ติดบุหรี่ให้สามารถเลิกบุหรี่ได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจึงมีความสำคัญเพื่อที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ติดบุหรี่ที่เข้ามารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดบุหรี่ที่เข้ามารับการตรวจสุขภาพ ณ หน่วยเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2559 - 2560 จำนวน 83 คน ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 โดยใช้เครื่องมือประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ M.I.N.I. Lifetime แบบสัมภาษณ์ SSADDA แบบทดสอบ FTND และแบบสอบถาม SOCRATES-S วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบฟิชเชอร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ และอยู่ในขั้นเพิกเฉย ด้านการรู้ตนอยู่ในระดับต่ำมาก ด้านความลังเลอยู่ในระดับต่ำ และด้านลงมือทำอยู่ในระดับต่ำมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ การรับรู้ระดับสุขภาพตนเอง และระดับการติดนิโคติน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านบุหรี่ควรนำองค์ความรู้ไปใช้ในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ติดบุหรี่ในปัจจัยที่แก้ไขได้เพื่อส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ และสามารถเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น |
Other Abstract: | Related factors associated with motivation to change smoking behavior are very important to help smokers to quit smoking and get better life. Complete the knowledge in this field will be very useful in the future. Objective: To explore motivation to change smoking behavior including related factor among smokers at the Check - Up Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method: The data were collected during November 2016 to April 2017, a sample of smokers at the Check - Up Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital. A total of eighty - three participants were recruited. The instruments consist of M.I.N.I. Lifetime, SSADDA, FTND and SOCRATES-S. The data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test, chi square test and Fisher's exact test. Result: Almost participants have low level of motivation to change smoking behavior and are on the precomtemplation stage. Participants have low level in ambivalence dimension and have the lowest level in recognition and taking steps dimension. Related factors with statistically significant to motivation to change smoking behavior included age, health status and nicotine dependence. Information on the association may be benefit for organizations to enhance motivation to change smoking behavior and help smokers to quit smoking. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58379 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1205 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1205 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874074830.pdf | 10.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.