Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58596
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | สมัชชา นิลปัทม์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคใต้) | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-29T13:32:17Z | - |
dc.date.available | 2018-04-29T13:32:17Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58596 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “การถอดรหัสของผู้รับสารต่อการเสนอข่าวสารของสถานีวิทยุกระจายเสียงไทยแห่งประเทศไทยกรณีกรือเซะและตากใบ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและการตีความของผู้รับสารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ในกรณีกรือเซะและตากใบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย คือ การศึกษาตัวบทของรายการข่าวภาคบังคับของทั้ง 2 กรณีและการศึกษาผู้รับสารด้วยวิธีสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยมีการนำเสนอข่าวเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐในกรณีกรือเซะและตากใบ โดย “ข่าว” มีรูปแบบที่เป็นทางการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ฟังและมีตัวบทที่เอื้อต่อการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐ โดยการรายงานข่าวกรณีกรือเซะพบว่า การรายงานข่าวเน้นความสำเร็จในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจนเสียชีวิต จำนวน 106 คนและหลีกเลี่ยงการนำเสนอความขัดแย้งของรัฐบาล ในการตัดสินใจใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในมัสยิดกรือเซะ ในรายงานข่าวกรณีตากใบพบว่า มีการปิดบังความผิดพลาดของรัฐจากการขนย้ายผู้ชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตภายใต้การควบคุมของรัฐจำนวน 78 คน จากการศึกษาการทำงานของผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้กรอบนโยบายของฝ่ายความมั่นคง โดยการทำงานถูกรวมศูนย์เอาไว้จากส่วนกลางและมีความคิดความเชื่อต่อการปลูกฝังความเชื่อมั่นในรัฐให้กับผู้ฟัง โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเป็นกลไกในการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐในการปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบในกรณีกรือเซะและตากใบด้วยวิธีการ 1) การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฟัง 2) ความพยายามของรัฐในการแก้ปัญหาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) การอ้างวาทกรรมความสามัคคีและเอกภาพในชาติ 4) การสร้างความเห็นพ้องและแย่งชิงมวลชน 5) การสร้างความชอบธรรมในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 6) การลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม 7) การย้ำว่าสื่อของรัฐเท่านั้นที่มีความน่าเชื่อถือ ผลการวิจัยจากการสนทนากลุ่มผู้รับสารจำนวน 3 กลุ่มหลักคือ กลุ่มชาวบ้าน, กลุ่มผู้นำทางความคิด, และเจ้าหน้าที่รัฐพบว่าผู้รับสารส่วนใหญ่ มีการตีความปฏิเสธความหมายมากกว่าที่จะคล้อยตามการรายงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ขณะที่กลุ่มผู้นำทางความคิด มีการตีความต่อรองความหมายอยู่บนจุดยืนเชิงผลประโยชน์ของตนและพบว่าผู้รับสารกลุ่มชาวบ้าน ไม่เพียงแต่ปฏิเสธความหมายจากการรายงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังเรียกร้องหาสื่อต่างประเทศในการรายงานข่าวในกรณีตากใบ ซึ่งแสดงให้เห็นภาวะความไม่เชื่อถือเฉพาะแต่สื่อมวลชนของรัฐเท่านั้น แต่หมายรวมถึงว่ากลุ่มชาวบ้านไม่มีความไว้วางใจต่อสื่อมวลชนทุกแขนงของประเทศไทยอีกด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of the research are: 1) to study the news report of Radio Thailand on Krue-Sae and Takbai unrests 2) to study audience decoding in 3 provinces in the deep south of Thailand; Pattani, Yala and Narathiwat. The study used textual analysis of the news reports and focus group interview. The research found that the news attempted to legitimize the violent action of the state in both cases. These reports were presented in an official and formalized style in order to be credible. In the case of Kru-Sae Radio Thailand emphasized on the success of the state to quell the alleged dissidents in which 106 were killed. In the case of Takbai Radio Thailand refrained from presenting the mishandling of captive protesters that caused 78 dead. Reporters of Radio Thailand working in the 3 Southern provinces must follow the policy of the National Security unit closely, and propagate trust among the people. News production was largely centralized. Radio Thailand used the following methods to legitimize the state violent action: 1) build credibility 2) focus on problem-solving in conflict prone area 3) present the discourse of national unity 4) manufacture consensus 5) legitimize the violent action against dissidents 6) discredit the opposition 7) accentuate the reliability of the Radio Thailand and its news sources. The study on audience decoding of 3 main groups of listeners – villagers, opinion leaders, and government officials, found that most of them disagreed with Radio Thailand news report. The opinion leaders tended to give a negotiated reading of the news based on their socio-cultural and political interests. In addition, the villagers have a deep sense of distrust of Radio Thailand, the state media, s well as other mainstream Thai media. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1472 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย | en_US |
dc.subject | การสื่อข่าวและการเขียนข่าว -- ไทย (ภาคใต้) | en_US |
dc.subject | วิทยุกระจายเสียง -- ไทย (ภาคใต้) | en_US |
dc.subject | Radio Thailand | en_US |
dc.subject | Reporters and reporting -- Thailand, Southern | en_US |
dc.subject | Radio broadcasting -- Thailand, Southern | en_US |
dc.title | การถอดรหัสของผู้รับสารต่อการเสนอข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกรณีกรือเซะและตากใบ | en_US |
dc.title.alternative | Audience decoding of Radio Thailand news report on Kru-Sae and Takbai case | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การสื่อสารมวลชน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.1472 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
samatcha_ni_front.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch1.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch2.pdf | 6.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch3.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch4.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch5.pdf | 5.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch6.pdf | 15.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch7.pdf | 10.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_ch8.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
samatcha_ni_back.pdf | 621.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.