Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุษณา สวนกระต่าย-
dc.contributor.authorสุพรรณี จิรจริยาเวช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-29T14:32:02Z-
dc.date.available2018-04-29T14:32:02Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58601-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractความเดิม: ปัจจุบันพบการเพิ่มขึ้นของเชื้อ Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Klebsiella oxytoca และ Proteus mirabilis ที่ผลิตเอ็นไซม์เบต้าแลกตาเมส (ESBL) ทั่วโลกและเป็นปัญหาสำคัญ มีข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคติดเชื้อที่สร้างเอ็นไซม์ ESBL พบว่าในรายที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น การติดเชื้อที่กรวยไต มีการศึกษาสนับสนุนว่าสามารถให้การรักษาด้วยยาเศพฟาโลสปอรินรุ่นที่ 3 (third-generation cephalosporins) ได้ โดยมีการตอบสนอง72ทางคลินิกที่ดี แต่พบว่าหลังจากการรักษายังเพาะเชื้อขึ้นจากปัสสาวะที่ 72 ชั่วโมงหลังได้รับยา วัตถุประสงค์ : ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ต้องการการศึกษาไปข้างหน้าถึงผลการตอบสนองทางจุลชีววิทยาโดยการรักษาด้วยยาเศพฟาโลสปอรินรุ่นที่ 3 ระหว่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่กรวยไตจากเชื้อ Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Klebsiella oxytoca or Proteus mirabilis ที่สร้างเทียบกับไม่สร้างเอ็นไซม์ ESBL โดยดูผลการตอบสนองทางจุลชีววิทยาที่ 72 ชั่วโมงหลังได้รับยา third-generation เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยต่อไป และมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอัตราชุกของการติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยหญิงซึ่งเกิดจากเชื้อเอชเชอริเชีย โคไล, เคลปซิลลา และโปรเตียส ไมราบิลิส ที่สร้างและไม่สร้างเอ็นไซม์ ESBL ผลการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าในผู้ป่วยหญิงที่ติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันจากเชื้อ E.coli, K. pneumoniae, K. oxytoca หรือ P. mirabilis ซึ่งสร้างและไม่สร้างเอ็นไซม์ ESBL ระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2550 โดยวิเคราะห์ผลการรักษาทางจุลชีววิทยาหลังจากให้ ceftriaxone แล้ว 72 ชั่วโมง จากผลการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 73 ราย มีช่วงอายุระหว่าง 66.15+-20.69 ปี อัตราชุกของผู้ป่วยหญิงที่ติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งสร้างเอ็นไซม์ ESBL เท่ากับร้อยละ 33.7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ E. coli, K. pneumoniae, K. oxytoca หรือ P. mirabilis ที่สร้างเอ็นไซม์ ESBL ได้แก่ โรคประจำตัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือ มีประวัติการได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อนในช่วง 1 เดือน จากผลการศึกษาพบว่าการตอบสนองทางคลินิกต่อการรักษาที่ 72 ชั่วโมง และ 14 วัน ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มติดเชื้อซึ่งสร้างเอ็นไซม์ ESBL แต่ผลตอบสนองทางจุลชีวิวิทยาที่ 72 ชั่วโมง (67.9% กับ 100%, p=0.001) และ 14 วัน (40% กับ 100%, p=0.015) ในกลุ่มที่เกิดจากการติดเชื้อซึ่งสร้างเอ็นไซม์ ESBL มีอัตราการตอบสนองน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่สร้างเอ็นไซม์ ESBL ตามลำดับ บทสรุป: การรักษาการติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันจากเชื้อ E. coli, K. pneumoniae, K. oxytoca หรือ P. mirabilis ซึ่งสร้างเอ็นไซม์และไม่สร้างเอ็นไซม์ ESBL ในผู้ป่วยหญิง ด้วยยา ceftriaxone พบว่าผลการรักษาทางจุลชีววิทยา ที่ 72 ชั่วโมงแตกต่างกัน จึงไม่ควรแนะนำให้ใช้ ceftriaxone ในผู้ป่วยหญิงที่ติดเชื้อกรวยไตแบบเฉียบพลันจากเชื้อ E. coil, K. pneumoniae, K. oxytoca หรือ P. mirabilis ที่สร้างเอ็นไซม์ ESBLen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Extended-spectrum-beta-lactamase (ESBL)-producting Escherichia coli, K. pneumoniae K. oxytoca and P. mirabils have become recognized as a worldwide problem. Much controversy exists as to whether cephalosporin treatment is appropriate for infections caused by ESBL-producing organisms because no randomized studies have been performed to evaluate microbiological outcome. Objective: This study aimed to evaluate the therapeutic microbiological outcome of ceftriaxone treatment of acute pyelonephritis in female patients caused by ESBL-producing E. coli, K. pneumoniae, K. oxytoca, or P. mirabilis and to determine the prevalence of acute female pyelonephritis caused by ESBL-producing organisms. Results: We performed a prospective study of hospitalized female patients with acute pyelonephritis caused by E. coli, K. pneumoniae, K. oxytoca, or P. mirabilis with or without producing of ESBL production between 2006 and 2007. Microbiological outcomes were assessed at 72 hours after ceftriaxone therapy. There were seventy-three patients (the mean age of 66.15+_20.69 years). The prevalence of ESBLs was 33.7%. Independent risk factor for ESBL-producing strains, analyzed by multivariate analysis, was underlying cerebrovascular disease or a recent previously history of antibiotic use within 1 months. Microbiological outcome at 72 hour (response rate 67.9% and 100%, p=0.001 respectively) and 14 days (response rate 40% and 100%, p=0.015 respectively) after therapy in ESBL-producing group was poorer than non-ESBL producing group. However, clinical outcome at 72hours and 14 days was not significantly diffirent between the ESBL-producing and non-ESBL producing group. respectively. Conclusion: There is a different microbiological outcome after ceftriaxone treatment of acute female pyelonephritis caused by ESBL-producing E. coli or K. pneumoniae, or P. mirabilis, in comparison with ESBL-nonproducing strains. We do not recommend ceftriaxone in the treatement of acute pyelonephitis in female patients caused by ESBL-producing organisms.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1185-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิทยาแบคทีเรียen_US
dc.subjectวิทยาแบคทีเรียทางการแพทย์en_US
dc.subjectไต -- การติดเชื้อ -- การรักษาด้วยยาen_US
dc.subjectBacteriologyen_US
dc.subjectMedical bacteriologyen_US
dc.subjectKidneys -- Infection -- Treatmenten_US
dc.titleการศึกษาทางแบคทีเรียของการรักษาด้วยยาเคฟไตรอะโซนในการติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยหญิงซึ่งเกิดจากเชื้อเอชเชอริเชีย โคไร, เคลปซิลลา และโปรเตรียส ไมราบิลิส ที่สร้างและไม่สร้างเอนไซม์เบต้าแลกตาเมสen_US
dc.title.alternativeBacteriologic study of ceftriaxone treatment in acute pyelonephritis in female patients caused by Escherichia Coli, Klebsiella Pneumoniae, Klebsiella Oxytoca, or Proteus Mirabilis with or without extended-spectrum-beta-lactamase productionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1185-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supunnee_ji_front.pdf921.36 kBAdobe PDFView/Open
supunnee_ji_ch1.pdf721.24 kBAdobe PDFView/Open
supunnee_ji_ch2.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open
supunnee_ji_ch3.pdf880.82 kBAdobe PDFView/Open
supunnee_ji_ch4.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open
supunnee_ji_ch5.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
supunnee_ji_back.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.