Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58646
Title: | การทดสอบแบบจำลองการประเมินการสัมผัสเพื่อการประเมินความเสี่ยงของซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ |
Other Titles: | Validation of Exposure Assessment Models for Risk Assessment of Salmonella in Chicken Products |
Authors: | ศักดิชญ์ อนุโลมสมบัติ |
Advisors: | ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ซาลโมเนลลา ซาลโมเนลลา -- การตรวจหา อุตสาหกรรมไก่ -- สุขาภิบาล อุตสาหกรรมอาหาร -- สุขาภิบาล Salmonella Salmonella -- Detection Chicken industry -- Sanitation Food industry and trade -- Sanitation |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการทดสอบแบบจำลองการประเมินการสัมผัสเพื่อประเมินความเสี่ยงของซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ โดยเก็บตัวอย่างจากฟาร์มไก่เนื้อ 6 ฟาร์ม (n = 531) และโรงเชือด 2 แห่ง (n = 300) เพื่อสำรวจความเข้มข้นและความชุกซัลโมเนลลาในปัจจัยต่างๆ ด้วยวิธีการคาดประมาณ (most probable number) สร้างและทดสอบแบบจำลองโดยอาศัยความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ เพื่อทำนายความเข้มข้นและความชุกในการประเมินการสัมผัส ข้อมูลความเข้มข้นถูกวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยแบบพหุ ส่วนข้อมูลความชุกถูกวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยโลจิสติค กำหนดปัจจัยเสี่ยงที่ระดับฟาร์มไก่เนื้อและที่ระดับโรงเชือด และประเมินความสี่ยงของซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ในกรณีที่แย่ที่สุด ผลการศึกษาที่ระดับฟาร์มพบอุจจาระไก่ที่ 21-28 วัน มีความเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ 769.17 MPN ต่อกรัม และความชุกซัลโมเนลลาเท่ากับร้อยละ 54 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุพบความเข้มข้นซัลโมเนลลาในกระดาษรองกล่องลูกไก่สามารถอธิบายความแปรปรวนความเข้มข้นซัลโมเนลลาในอุจาระไก่ที่ 21-28 วัน ได้ร้อยละ 44.43 (P <0.05) ผลการทดสอบการทำนายของแบบจำลองเทียบกับค่าสังเกตให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( = 0.1) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคพบตัวแปรอิสระที่ทำการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดความชุกซัลโมเนลลาในอุจาระไก่ที่อายุ 21-28 วัน ( = 0.05) ผลการศึกษาที่ระดับโรงเชือดพบผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สดมีความเข้มข้นเฉลี่ยซัลโมเนลลาเท่ากับ 4.72 MPN ต่อกรัม และความชุกเฉลี่ยซัลโมเนลลาเท่ากับร้อยละ 16.67 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุพบปริมาณน้ำล้างซากหลังถอนขน และแรงดันน้ำล้างซากนอกในสามารถอธิบายความแปรปรวนความเข้มข้นซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สดได้ถึงร้อยละ 97.24 (P <0.05) ผลการทดสอบการทำนายของแบบจำลองเทียบกับค่าสังเกตให้ผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( = 0.1) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคพบตัวแปรอิสระที่ทำการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดความชุกซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สด ( = 0.05) ผลการประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคเนื้อไก่ปรุงสุกจากโรงงานแปรรูปที่ศึกษา พบว่าคนไทย 1 คนที่บริโภคเนื้อไก่ 40.42 กรัมต่อวันจะต้องบริโภคประมาณ 1027 ครั้ง จึงอาจเจ็บป่วยจากซัลโมเนลลาเฉลี่ยประมาณ 6 ครั้ง จัดเป็นความเสี่ยงที่ต่ำมาก สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ตามมาตรฐานสากล |
Other Abstract: | This study was conducted to validate exposure assessment models for risk assessment of Salmonella in chicken products. Samples were collected from 6 broiler farms (n=531) and 2 slaughter houses (n=300). Salmonella were enumerated by most probable number method. The Salmonella concentration and prevalence models were developed by multiple and logistic regression analysis. The models were validated against data used in their development and tested for their accuracy. Risk factors were defined. A worst case scenario of microbial risk assessment of Salmonella in chicken products was calculated. Average concentration and prevalence of Salmonella in chicken feces were 796.17 MPN/g and 54% respectively. The Salmonella concentration in chicken feces was affected by Salmonella contaminated day old chicken which explained 44.43% of the original of variability (P <0.05). The accuracy result indicated that the developed model provided reliable prediction ( =0.1). Average concentration and prevalence of Salmonella in chicken meat were 4.72 MPN/g and 16.67% respectively. The Salmonella concentration in chicken meat was affected by amount of water at whole bird washing and water pressure at inside-outside washing process which explained 97.24% of the original variability (P <0.05). The accuracy result indicated that the developed model provided unreliable prediction (=0.1). Salmonella prevalence in chicken feces and chicken meat was not affected by all independent factors (=0.1). The interpretation of risk characterization was one person consumed the chicken products up to 1027 times on average of 40.42 g/day that person will be ill approximately 6 times. However, the risk level is considered as a very low risk so it can be negligible. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สัตวแพทยสาธารณสุข |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58646 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2088 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.2088 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sakdid Anulomsombut.pdf | 716.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.