Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58735
Title: | การศึกษากระบวนการจัดการความรู้โดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ |
Other Titles: | A study of a community-led knowledge management processes to promote ecotourism |
Authors: | นันท์ปพร สิทธิยา |
Advisors: | อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การบริหารองค์ความรู้ Ecotourism Knowledge management |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้โดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2)ศึกษาปัจจัยส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้โดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผู้วิจัยใช้แนวคิดการจัดการความรู้ มีวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา 2 ชุมชน คือ ชุมชนหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และชุมชนแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การวิเคราะห์กระบวนการจัดการความรู้โดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การกำหนด/ระบุสิ่งที่ต้องรู้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่ความรู้ที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวมาจากวิสัยทัศน์ของผู้นำ การแสวงหา/ได้มาซึ่งความรู้จากแหล่งธรรมชาติที่ใช้จัดการท่องเที่ยว และการแสวงหาความรู้จากคนในพื้นที่ที่อาศัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน ส่วนมากความรู้เก่าแก่จะมีอยู่ในผู้ชาย มีที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นผู้ให้/นำข่าวสารในการอบรมมาแจ้ง การขอความร่วมมือเพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานในชุมชนอื่น ความรู้ส่วนใหญ่สร้างขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน/การจัดการท่องเที่ยวการสร้างความรู้ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติที่ชุมชนมีการรวบรวมความรู้ที่ได้รับจากภายนอกซึ่งได้จากการไปศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ วิธีการรวบรวมใช้การพูดคุย การฟัง แล้วนำสิ่งที่ได้รับมาใช้ปรับปรุง การรวบรวมความรู้เข้ากับการปฏิบัติโดยที่ความรู้เดิมเป็นความรู้พื้นฐานที่มี ในชุมชน การประมวล และกลั่นกรองความรู้ ชุมชนยังไม่มีการจัดให้เป็นระบบที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน การจัดเก็บความรู้ การเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้งไปเป็นความรู้โดยนัย ชุมชนไม่มีการนำมาเก็บรวบรวมไว้เป็นรูปธรรมในลักษณะของหนังสือเผยแพร่/หนังสือเกี่ยวกับชุมชนโดยตรง การใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์เป็นความรู้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เป็นทักษะความรู้ที่เกิดจากการใช้ชีวิตซึ่งถือว่าเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายในและการนำความรู้ที่ได้รับจากหน่วยงาน/บุคคลภายนอกมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับการดำเนินการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากหน่วยงานภายนอกที่ได้เรียนรู้แล้วนำมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านการแบ่งปัน/การเผยแพร่ความรู้ภายในเป็นการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นผู้ใหญ่สู่รุ่นเยาวชน ด้วยวิธีการเล่าและการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง การเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่เดินทางเข้ามาเที่ยวและเข้ามาศึกษาดูงาน ลักษณะเฉพาะกระบวนการจัดการความรู้โดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการเรียนรู้จาก การผลัดเปลี่ยนหน้าที่งาน/การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้จากสัมพันธภาพทางอาชีพทหารพราน การเรียนรู้ การเชื่อมโยงความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพยากรชุมชน การสะสมทุนทุน/งบประมาณของชุมชนจากสหกรณ์ไฟฟ้าของหมู่บ้าน การเรียนรู้โดยมีกลวิธีการสื่อสาร 2) ปัจจัยส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้โดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การสื่อสารทำความเข้าใจ การปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์เป็นแนวราบ เนื้อหาความรู้จากการประกอบอาชีพเป็นเนื้อหาความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การใช้ชีวิต การพูดคุยกันให้มากที่สุด เครื่องกระจายเสียง การมีส่วนร่วม และการให้ความร่วมมือจากชาวบ้าน คน/บุคลากรในชุมชนมีความรับผิดชอบร่วมกันช่วยกัน และการมีผู้นำ ที่มีวิสัยทัศน์ ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากการคัดเลือกจากที่ประชุมโดยการลงมติของชาวบ้าน |
Other Abstract: | The objectives of this research are to 1) study a community-led knowledge management process to promote ecotourism and 2) study factors enhancing knowledge management process done by the community to promote ecotourism. The researcher uses a concept of Knowledge Management, which incorporates a Qualitative Research. The research results are: 1. the analysis of a community-led knowledge management to promote ecotourism. In an aspect of assigned and must-know knowledge from informal conversation, mostly knowledge assigned for promoting tourism management comes from the vision of the community leader. In an aspect of acquiring knowledge, it is knowledge of natural spaces used for tourism management together with knowledge management from local people who have lived in the village since the beginning. Most archaic knowledge lives in males. There are community consultants in ecotourism providing information about ecotourism trainings and ask for co-operation from community people to travel to and do a study in other communities. Most knowledge is created for benefits of tourism practice and management. In aspects of building of knowledge relating to natural resources of the community, accumulating knowledge from a study from outside and exchanging knowledge and experience, the community use talking and listening approaches. Then, the community adapts and improves the knowledge, which they have got and combine knowledge with the practice, with still having original knowledge about the community as its base. In process of compiling and extracting knowledge, the community still lacks of its efficient system. For knowledge collecting and exchanging explicit to tacit knowledge, the community does not collect and compile knowledge in a tangible form in the form of booklets for and directly about the community. The beneficial use of knowledge is the knowledge from occupations, which give knowledge and skills of living considered as tacit knowledge. The use of knowledge received from offices and from outside community people for adapting and for the benefits of the ecotourism led by the community, is to use knowledge learned from outside offices for village development. For sharing and spreading inside knowledge, it is to pass on knowledge from adult to youth generations with narration and practice approaches as for good examples for the youth. In aspects of knowledge spreading to travelers and to those who study about the community, the specific process of knowledge management led by the community to promote ecotourism is to study from exchanging duties and experiences, to study from relative aspects of working as a soldier, to study how to relate knowledge from all aspects together for increasing community resources, to gather community budgets from the electrical cooperation of the village and to learn with communication strategies. 2. The aspects enhancing a community-led knowledge management to promote ecotourism are: to listen to other opinions, to communicate with understanding, and to work with others in horizontal relationship. Knowledge in career practice needs to come from living experience and from learning through talking as much as possible, from community broadcasting, from participation and co-operation from villagers, community people for group responsibility and a leader with good-vision who can be trusted and is chosen from the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58735 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.763 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.763 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nanpaporn Sitthiya.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.