Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5879
Title: รูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารทางเรือขนส่งมวลชนในคลองแสนแสบ
Other Titles: Travelling pattern of motor boat mass transit passengers on Khlong San Saep
Authors: วราวุฒิ วัจนะรัตน์
Advisors: จารุวรรณ ลิมปเสนีย์
ประพนธ์ วงศ์วิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: คลองแสนแสบ
เรือโดยสาร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การขนส่งมวลชน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาทางกายภาพของคลองแสนแสบและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง และศึกษาระบบการเดินเรือขนส่งมวลชน รวมถึงศึกษารูปแบบและลักษณะการเดินทางของผู้โดยสารทางเรือขนส่งมวลชนในคลองแสนแสบ เพื่อเสนอแนวทางการวางแผนระบบขนส่งมวลชนทางน้ำในคลองแสนแสบ ขอบเขตการศึกษาเฉพาะบริเวณคลองแสนแสบในช่วงที่ให้บริการเรือโดยสาร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ และสำรวจภาคสนามด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ในท่าเรือ 16 ท่า จากท่าเรือทั้งหมด 27 ท่า โดยเก็บแบบสอบถามในช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางเดินเรือในคลองแสนแสบผ่านพื้นที่ที่มีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินแตกต่างกันหลายประเภท เช่น พาณิชยกรรม สถานศึกษา สถานที่ราชการ ที่พักอาศัย เป็นต้น คลองอยู่ใกล้กับเส้นทางคมนาคมทางบกหลายเส้นทาง เช่น ถนนพญาไท ถนนเพชรบุรี ถนนรามคำแหง เป็นต้น และท่าเรือก็อยู่ไม่ไกลจากป้ายรถประจำทางซึ่งมีรถประจำทางผ่านหลายเส้นทาง ทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางเข้าไปใช้บริการเรือหรือเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากทางบกและทางน้ำโดยสะดวก จากการสำรวจพบว่า ผู้โดยสารเรือส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อไปทำงาน เพื่อกลับบ้าน และไปสถานศึกษา โดยใช้เรือเดินทางทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ จุดต้นทางและจุดปลายทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เขตบางกะปิ วัฒนา ปทุมวัน พระนคร และเขตราชเทวี การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทางบกและทางน้ำพบว่าผู้โดยสารเรือส่วนใหญ่ใช้รถประจำทางและการเดินเท้า การเดินทางที่ใช้เรือร่วมในเที่ยวเดินทางจะเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด อยู่ในช่วง 16-26 บาท แต่ถ้าเลือกเดินทางในรูปแบบอื่นจะเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งหมด อยู่ในช่วง 6-20 บาท การเลือกเดินทางโดยเรือจะเดินทางถึงที่หมายได้เร็วกว่าการเดินทางในรูปแบบอื่น อยู่ในช่วง 28-58 นาที เหตุผลหลักที่ทำให้ผู้โดยสารตัดสินใจเลือกเดินทางโดยเรือ เนื่องจากทำให้ถึงปลายทางเร็วกว่าการเดินทางโดยพาหนะอื่น เหตุผลรองลงมาได้แก่ ท่าเรืออยู่ใกล้จุดปลายทาง ท่าเรืออยู่ใกล้จุดต้นทาง และสามารถเชื่อมต่อพาหนะทางบกได้โดยสะดวก ตามลำดับ ข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการบริการส่วนใหญ่เห็นว่าเรือเข้าเทียบท่าและการออกจากท่าเร็วเกินไป รองลงมาได้แก่ การบริการและความสุภาพของพนักงาน ความแข็งแรงของตัวเรือ และเรือแล่นเร็วเกินไป ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนทางน้ำในคลองแสนแสบ ได้แก่ การปรับปรุงในด้านพนักงาน ตัวเรือ ท่าเรือ การจัดระบบบริการ ผลกระทบทีมีต่อพื้นที่และผู้ที่อยู่อาศัยริมคลอง และการวางมาตรการควบคุมดูแล การพัฒนาส่งเสริมการเดินเรือโดยสารในคลองแสนแสบ จะต้องคำนึงในด้านความสามารถในการรองรับการจราจรทางน้ำของคลองเพื่อไม่ให้เกิดความแออัด ปัจจุบันคลองแสนแสบยังมีศักยภาพในการรองรับการเดินเรือที่จะขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 50 ของการบริการเรือโดยสารทั้งมหด
Other Abstract: The objective of this research was to study the conditions and physical problems of Khlong San Saep and its connected areas, public water transportation system, including the pattern and characteristics of water transportation of passengers along Khlong San Saep. The study was only limited to water transportation along Khlong San Saep. The method of this research was conducted by scientific and field survey using 400 samples of questionnairs conducted at 16 major piers during morning and eveining rush hours. The study found that boat route along Khlong San Saep passed different types of land use, such as commercial, educational, constitutional, residential areas, etc. Khlong San Saep is quite close to many major roads, such as Phayathai, Petchburi, Ramkhamhang Road, etc. All piers are located not far from bus stops all of which many bus routes pass so that passengers could easily take and change their modes from land to water transportation and vice versa. The research found that most the trip purpose of boat passengers was work trip; the second was educational trip. Most trips had origins and destinations in Bangkapi, Wattana, Pathumwan, Phranakorn and Ratchatevi districts. Most passengers connected their route between land and water transportation by bus and foot. The total travelling costs includings boat trip ranged between 16-26 Baht. In term of other types of modes the total travelling ranged between costs 6-20 Baht. However, water transportation was faster than other modes ranging between 28-58 minutes. The main reason that passengers chose boat transport instead of other modes was time saving. Other reasons were proximity to the destination or origin, and convenience to change to land transports. Most passengers answering questionnaires had suggestions to improve docking time, boat services, sefety and speed. The suggestion for the improvement of water transportation system along Khlong San Saep were to improve the service ethics, boat design, piers, service system, the impact on water front areas and residents, and control measures. In promoting water transportation along Khlong San Saep the carrying capacity of waterway must be considered. At present, Khlong San Saep is able to serve the increase of boats by more than 50 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5879
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.117
ISBN: 9741310757
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.117
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warawut.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.