Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58892
Title: ผลของปริมาณและความต่อเนื่องของโพรงภายในเนื้อคอนกรีตต่อการซึมผ่านของคลอไรด์
Other Titles: Effect of the amount and continuity of pore structure in concrete to chloride penetration
Authors: สมพงษ์ ธีรานพ
Advisors: บุญไชย สถิตมั่นในธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: คอนกรีต -- การทดสอบ
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
คอนกรีต -- การไหลซึมผ่าน
คลอไรด์
Concrete -- Testing
Reinforced concrete structure
Concrete -- Permeability
Chlorides
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปริมาณและความต่อเนื่องของโพรงภายในเนื้อคอนกรีต เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณสมบัติด้านความคงทนของคอนกรีต โดยเฉพาะโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีทั้งที่สัมผัสกับน้ำทะเล ปัจจุบันการทดสอบการซึมผ่านของคลอไรด์ด้วยวิธีทดสอบซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM C1202 นั้น เป็นการวัดสภาพการนำไฟฟ้าของก้อนตัวอย่างคอนกรีต มากกว่าจะเป็นการวัดความสามารถในการต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะประยุกต์วิธีการทดสอบ ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM C1202 เพื่อใช้ในการหาค่าปริมาณและความต่อเนื่องของโพรงคอนกรีต โดยการวัดความเข้มข้นของคลอไรด์ ซึ่งจากนี้ไปภายในงานวิจัยนี้จะเรียกวิธีทดสอบดังกล่าวนี้โดยย่อว่า วิธีประยุกต์ งานวิจัยนี้นำเสนอความเป็นไปได้ในการตรวจสอบหาปริมาณ และความต่อเนื่องของโพรงคอนกรีต โดยวิธีประยุกต์ ซึ่งจะพิจารณาความเข้มข้นของคลอไรด์อิออน ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในสารละลายบริเวณขั้วแคโทดและแอโนด ซึ่งเกิดขึ้นจากการเร่งอนุภาคคลอไรด์ที่มีอยู่ในสารละลาย ให้เคลื่อนที่ผ่านก้อนตัวอย่างด้วยแรงทางไฟฟ้า ความเข้มข้นของคลอไรด์จะถูกบันทึก ณ เวลาต่างๆ กัน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ตามสมมติฐานเบื้องต้นที่ใช้ในการศึกษา โดยได้เลือกทดสอบกับคอนกรีตปกติและคอนกรีตที่ใช้วัสดุปอซโซลานชนิดอื่น ร่วมกับปูนซีเมนต์ด้วย อ้นได้แก่ เถ้าแกลบและเถ้าลอย อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ใช้คือ 0.40 0.50 และ 0.60 ตามลำดับ การทดสอบซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM C1202 หรือ RCPT ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อหาระยะเวลาที่ก้อนตัวอย่างทดสอบจะเริ่มเข้าสู่สภาวะคงที่ (Ts) โดยอาศัยการวัดและเก็บค่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านก้อนตัวอย่าง ตั้งแต่เริ่มการทดสอบจนกระทั่งกระแสไฟฟ้าเริ่มคงที่ จากผลการทดลองวิธีประยุกต์พบว่า มีความสอดคล้องกับสมมติฐานเบื้องต้นที่ใช้ในการศึกษา และมีแนวโน้มสอดคล้องเมื่อนำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกับการทดสอบอื่นๆ อันได้แก่ การทดสอบเอ็มไอพี กำลังรับแรงอัดประลัย และการทดสอบมาตรฐาน ASTM C1202 ตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่า คอนกรีตซึ่งใช้วัสดุประสานที่เป็นเถ้าลอยและเถ้าแกลบร่วมกันกับปูนซีเมนต์ มีความสามารถในการต้านทานการซึ่มผ่านคลอไรด์ สูงกว่าวัสดุประสานที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน หรือใช้ปอซโซลานเพียงชนิดเดียวคือเถ้าแกลบหรือเถ้าลอยร่วมกับปูนซีเมนต์ ซึ่งยืนยันจากปริมาณโพรงแคพพิลารี่ที่ลดลองโดยวิธีเอ็มไอพี ซึ่งส่งผลโดยตรงทำให้โพรงคอนกรีตเกิดความไม่ต่อเนื่องและมีปริมาตรลดลง
Other Abstract: The amount and continuity of pore structure in concrete are crucial parameters affecting the durability of reinforced concrete structures that exposed to marine environment. Nowaday, ASTM C1202 or RCPT was proposed for rapid qualitative assessment of chloride penetrability of concrete. However, ASTM C1202 seems to be measured the electrical conductivity of concrete specimen more than the ability of concrete to resist chloride ions. Consequently, this study will try to modify ASTM C1202 for determining the amount and the continuity of pore structure in concrete by mornitoring the chloride concentration and compare the result with other tests such as Mercury-intrusion porosimetry (MIP), compressive strength and ASTM C1202. This research aims to study the possibility of determining the amount and continuity of pores in concrete by considering the variations of chloride concentration in anode solution and cathode solution with respect to time. The chloride ions in cathode solution were accerelated through the saturated pores of concrete specimen by the electromotive force. The chloride concentration will be recorded in order to analyze according to the research assumption. In this study, plain cement concrete and concrete containing different types of pozzolan (fly ash and rice husk ash) with water to binder rations (w/b) of 0.40, 0.50 and 0.60 were tested. The coulomb charge passed (RCPT or ASTM C1202) was modified to indicate the time-span (Ts) of steady state condition by mean of the constant flux of electric current. The results of the experiment reveal good correspondence with the research assumption and comply with other tests such as mercury-intrusion porosimetry (MIP), compressive strength and ASTM C1202 respectively. According to the study the resistance to chloride-ion penetration of the concrete made with triple-blends is higher than that of concrete made either with portland cement alone or a blend of portland cement with fly ash or rice husk ash. This is mainly due to the refinement of capillary pore of concrete made with triple-blends.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58892
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.882
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.882
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompong_te_front.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
sompong_te_ch1.pdf677.63 kBAdobe PDFView/Open
sompong_te_ch2.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
sompong_te_ch3.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
sompong_te_ch4.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
sompong_te_ch5.pdf531.65 kBAdobe PDFView/Open
sompong_te_back.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.