Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58898
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ
Other Titles: Factors influencing retention of nursing employees, government university hospitals
Authors: สุธิดา โตพันธานนท์
Advisors: สุกัญญา ประจุศิลป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: พยาบาล
การธำรงรักษาพนักงาน
พนักงานมหาวิทยาลัย
Nurses
Employee retention
University employees
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลปฏิบัติการมีประสบการณ์การทงานไม่น้อยกว่า 1 ปี สังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐทั้ง 7 แห่ง จำนวน 356 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การ ประกอบด้วย 4 ตอน คือ แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านองค์การ และระดับความมั่นใจต่อการคงอยู่ในองค์การ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า 1. การคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐมีอัตราสูงสุด คือกลุ่มที่มีระดับความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การร้อยละ 42.98 รองลงมาคือกลุ่มที่มีระดับความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การอยู่ระดับเฉยๆ / ไม่แน่ใจร้อยละ 35.40 และกลุ่มที่ไม่มีความมั่นใจในการคงอยู่ในองค์การร้อยละ 21.63 2. ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ตัวแปรปัจจัยด้านวัฒนธรรมและค่านิยมองค์การ มีขนาดอิทธิพลเป็น 1.22 เท่า (Odd ratio = 1.22)
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to study the retention of nursing employees, government university hospitals and 2) to explore the factors that influence on the retention of nursing employees, government university hospitals. The sample consisted of 356 professional employees’ nurses from 7 government university hospitals in Thailand, who had at least one year of experienced. They were selected by simple random sampling technique. Research instruments were personal factors, family factors, organizational factors, and confidential level to retention questionnaires, which were confirmed content validity by a panel of five experts. Cronbach’s alpha coefficient was .96. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and logistic regression. The research findings were as follows: 1. The maximum rate of retention of nursing employees, government university hospital were the group of nursing employees which confidences to retention 42.98 percent, the group of nursing employees at the neutral level 35.39 percent, and the group of nursing employees which not confidences to retention 21.63 percent. 2. The factors that influence on the retention of nursing employees, government university hospitals was value and culture of organization at –level < .05, which have influence rate = 1.22 (Odd ratio = 1.22)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58898
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.897
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.897
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthida_to_front.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
suthida_to_ch1.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
suthida_to_ch2.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open
suthida_to_ch3.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
suthida_to_ch4.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
suthida_to_ch5.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
suthida_to_back.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.