Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58988
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorณัชชา ภิรมย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-03T01:42:49Z-
dc.date.available2018-06-03T01:42:49Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58988-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2) ศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการจัดการตนเองต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านร่างกาย อาการ จิตใจ พฤติกรรมและด้านองค์รวมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงานวิจัยด้านระเบียบวิธีวิจัยและด้านเนื้อหาสาระการวิจัย ต่อค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาล ที่เน้นการจัดการตนเองต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2551 จำนวน 25 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 56 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (80.00%) ในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ทั้งหมด ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในปี 2550 (40.00%) เครื่องมือวัดตัวแปรของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง (55.36%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก (88.00%) โดยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (44.00%) การปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการจัดการตนเองที่นำมาศึกษามากที่สุดคือ การจัดการตนเองด้านพฤติกรรม (32.20%) โดยส่วนใหญ่เน้นการฝึกทักษะในการปฏิบัติ ส่วนผลลัพธ์ทางสุขภาพที่นำมาศึกษามากที่สุดคือ ด้านร่างกาย (41.40%)2. ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการจัดการตนเอง ต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ โดยผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านพฤติกรรม ได้แก่ การจัดการตนเอง ให้ค่าขนาดอิทธิพลใหญ่ที่สุด (d = 21.11) ผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านองค์รวม ให้ค่าขนาดอิทธิพลเล็กที่สุด (d = 0.90) ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการจัดการตนเอง ต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังแยกตามรายโรค ค่าขนาดอิทธิพลส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ โดยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีค่าขนาดอิทธิพลใหญ่ที่สุด (d = 4.02) โรคปวดหลังส่วนล่างมีค่าขนาดอิทธิพลเล็กที่สุด (d = 0.23) 3. คุณลักษณะของงานวิจัยด้านระเบียบวิธีวิจัยและด้านเนื้อหาสาระการวิจัย ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาล ที่เน้นการจัดการตนเองอยู่ในระดับต่ำ (r < 0.30)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this meta analysis were 1) to study methodological and substance characteristics of nursing interventions emphasizing self-management on health outcomes in adult patient with chronic illness 2) to compare the effect sizes of nursing interventions emphasizing self-management on health outcomes : functional health outcomes, symptom health outcomes, psychological health outcomes, behavioral health outcomes and holistic health outcomes in adult patient with chronic illness. 3) to study relationship of methodological and substance characteristics on effect size. Twenty-five quasi-experimental studies conducted in Thailand during 1997- 2008 were recruited. Studies were analyzed for general, methodological, and substance characteristics. Effect size for each study was calculated using method of Glass, McGaw & Smith (1981). This meta- analysis yielded 56 effect sizes. Results were as followings: 1. The majority of these studies were Master’s thesis (80.00%) in the field of Nursing Science (100%). Most of the studies were published in 2007 (40.00%). Most instruments used in the research studies were tested for reliability and validity; more than half of them were very good quality. Almost of the studies in patient with diabetic mellitus (44.00%).Mostly of these studies were self-management on behavior (32.20%) and functional health outcomes (41.40%). 2. Nursing interventions emphasizing self-management on health outcomes had large effect size on health behaviors outcome. Health behaviors outcome had the largest effect size on self-management (d = 21.11), and the lowest effect size was on holistic outcomes (d = 0.90). Self-management in person with chronic obstructive pulmonary disease had the largest effect size (d = 4.02). Self-management in person with chronic low back pain is lowest effect-size (d = 0.23). 3. Relationship of methodological and substance characteristics on effect size of nursing interventions emphasizing self-management on health outcomes were low degree (r < 0.30).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.956-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการตนเอง (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectการพยาบาล -- ประสิทธิผลen_US
dc.subjectผู้ป่วยโรคเรื้อรังen_US
dc.subjectการวิเคราะห์อภิมานen_US
dc.subjectSelf-management ‪(Psychology)‬en_US
dc.subjectNursing -- Effectivenessen_US
dc.subjectChronically illen_US
dc.subjectMeta-analysisen_US
dc.titleประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการจัดการตนเองต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย : การวิเคราะห์อภิมานen_US
dc.title.alternativeThe effectiveness of nursing interventions emphasizing self management on health outcomes in adult patients with chronic illness in Thailand : a meta-analysisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.956-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natcha Pirom.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.