Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59098
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์-
dc.contributor.advisorวราภรณ์ บวรศิริ-
dc.contributor.authorอมรรัตน์ เรืองสกุล พัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-15T09:43:17Z-
dc.date.available2018-06-15T09:43:17Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59098-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยในการจัดตั้งบริษัทจำลองที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านนิเทศศาสตร์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2)จัดการเรียนการสอนในรายวิชาฝึกปฏิบัติด้านนิเทศศาสตร์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มุ่งเน้นเพื่อการจัดตั้งบริษัทจำลอง 3) พัฒนาและตรวจสอบต้นแบบบริษัทจำลองที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านนิเทศศาสตร์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ในการตอบแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ มี 4 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างการทดลองโดยฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง 4 กลุ่ม รวม 8 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ประธานหลักสูตร หัวหน้าสาขาวิชาหรือหัวหน้าแขนงวิชา จำนวน 170 คน 2) อาจารย์หลักสูตรนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งหมด 32 มหาวิทยาลัย จำนวน 234 คน 3) กลุ่มตัวอย่างนักวิชาชีพนิเทศศาสตร ในระดับหัวหน้าหน่วยงานขึ้นไป จำนวน 20 คน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบธุรกิจ จำนวน 10 คน 5) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมจำนวนทั้งสิ้น 80 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่มีการฝึกปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 4 รายวิชา ชั้นปีละ 1 รายวิชา ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างรายวิชาละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ แบบวัดทักษะปฏิบัติเชิงกระบวนการ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตและเกณฑ์ในการสังเกต แบบวัดทักษะปฏิบัติเชิงผลงาน ได้แก่แบบบันทึกคะแนนและเกณฑ์ให้คะแนนในการวัดเชิงผลงาน แบบวิเคราะห์ Five – Forces Model แบบวิเคราะห์สายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) แบบวิเคราะห์กลยุทธ์การชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน แบบวิเคราะห์การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้บนฐานของศักยภาพและแบบประเมินความเหมาะสมและรับรองต้นแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (One-Sample T-Test) และการวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อยืนยันความถูกต้องของน้ำหนักตัวแปรในรูปแบบ Confirmatory Factor Analysis Model โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปลิสเรล (Lisrel) ผลการวิจัยพบว่า 1.จากการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลบริษัทจำลองฯกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory Factor Analysis) โดยโมเดลตัวบ่งชี้บริษัทจำลองฯ มีตัวแปรแฝง 11 ตัว และมีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 41 ตัว ผลการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลบริษัทจำลองด้านนิเทศศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 501.83, p = 1.00, df = 747, GFI = 0.90 , AGFI= 0.88, RMR = 0.086 ) เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลบริษัทจำลองด้านนิเทศศาสตร์พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 41 ตัว มีค่าเป็นบวกอยู่ระหว่าง 0.48 – 0.72 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกตัวบ่งชี้ โดยองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดในการบ่งชี้บริษัทจำลองด้านนิเทศศาสตร์ที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ คือ องค์ประกอบด้านการวางแผนและการบริหารกลยุทธ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบด้านการจัดการเงินทุนของธุรกิจ องค์ประกอบด้านการบริหารการตลาด การสื่อสารการตลาด การส่งเสริมการขายและช่องทางการจัดจำหน่าย องค์ประกอบด้านผู้ประกอบการธุรกิจ องค์ประกอบด้านบัญชีและการเงิน องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบด้านบริหารและการดำเนินงานธุรกิจ องค์ประกอบด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์ประกอบด้านการจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง และองค์ประกอบด้านแผนธุรกิจ 2.ต้นแบบบริษัทจำลองที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านนิเทศศาสตร์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย ปรัชญา ได้แก่ สร้างสรรค์พัฒนาศักยภาพ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สร้างงานสร้างอาชีพสู่ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อ ยึดหลักประกอบกิจการเพื่อสังคม วิสัยทัศน์ ได้แก่ พัฒนาต้นแบบบริษัทจำลองให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ทางวิชาการและวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบปฏิบัติจริงอย่างมืออาชีพและสร้างสรรค์พัฒนาธุรกิจสื่อสู่ความยั่งยืน พันธกิจ ได้แก่ 1)จัดการเรียนการสอนด้วยการลงมือปฏิบัติจริงในวิชาชีพ 2)พัฒนานักศึกษาเรียนรู้ด้านธุรกิจสู่ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อ3)สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพนิเทศศาสตร์ 4) พัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีความรู้ทางวิชาการ ความเชี่ยวชาญและทักษะด้านนิเทศศาสตร์ทางวิชาชีพ 5) เป็นองค์การแห่งความรู้ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพนักศึกษา ศูนย์กลางการสร้างงานด้านนิเทศศาสตร์ 6) พัฒนาช่วยเหลือสังคมด้วยจิตสาธารณะและผลประกอบการจากบริษัทรวมถึงการปฏิบัติงานทางวิชาชีพของนักศึกษา ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1)พัฒนาบริษัทจำลองให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านนิเทศศาสตร์ และสามารถสร้างงานทางวิชาชีพได้อย่างยั่งยืน 2) พัฒนาบริษัทจำลองให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพนิเทศศาสตร์3) พัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วยการปฏิบัติจริงอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่องานและสังคม 4) พัฒนานักศึกษาสู่การเป็นผู้บริหารธุรกิจสื่อ 5) ยกระดับจิตใจสู่การบริการสาธารณะ นโยบาย ได้แก่1) พัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้แบบยั่งยืน 2) ขับเคลื่อนองค์การธุรกิจด้วยคุณค่าของผลงาน 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพทั้งในประเทศและต่างประเทศ 4) พัฒนาสังคมด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและผลประกอบการจากการดำเนินงาน 5) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและนักศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพด้านนิเทศศาสตร์6)สร้างคนสร้างอาชีพให้กับนักศึกษาขณะที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย 7) จัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติผสานเข้ากับความรู้เชิงทฤษฎี 8) สร้างผลกำไรที่ตัวคนมากกว่าผลกำไรของบริษัท กำไรขาดทุนไม่ใช่ตัววัดความสำเร็จ ตัววัดความสำเร็จคือความรู้และการยอมรับในคุณค่าของคนและผลงาน 9) เพิ่มพูนประสบการณ์นักศึกษาด้วยการเรียนการสอนแบบมืออาชีพและเรียนรู้การประกอบธุรกิจด้านนิเทศศาสตร์ 10) สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ด้วยหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์ ได้แก่ 1)การสร้างความน่าเชื่อถือด้วยความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2) การเสนอข้อเท็จจริง ข้อมูลลึก ความรู้รอบด้านและความใกล้ชิดชุมชน 3) ต้นทุนต่ำ การสร้างความแตกต่างที่ทำให้มองเห็นคุณค่าและมุ่งเฉพาะส่วน 4) การแข่งขันที่หลากหลายจะทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้รวดเร็วและจดจำได้ 5)ดำเนินการวิจัยเพื่อวิเคราะห์และกำหนดกระบวนการให้ฝ่ายบริหารสามารถระบุปัจจัยที่มีความสำคัญกับความสำเร็จในระยะยาว 6)ปรับคุณภาพการผลิตหรือบริการที่เหนือกว่าเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to 1) study the factors in the establishment of the prototype of dummy companies as a learning organization in communication arts for Rajabhat Universities, 2) manage the teaching and learning in practical courses of communication arts, Rajabhat University that focus on the dummy companies, and 3) develop and validate the prototype of dummy companies as a learning organization in communication arts for Rajabhat Universities. The samples used for the survey and interviews contain four groups, and four groups for simulation of situation, total of 8 groups which are; 1) Executives from Rajabhat Universities include Dean , Associate Dean, Assistant Dean and Chairman of the curriculum department or the chief fields total of 170 person, 2) Lecturer of Communication Arts from 32 Rajabhat Universities, total of 234 persons, 3) Sample group of professional communication, the department head level or above, total of 20 persons, 4) business specialist 10 persons, and 5) students of first, second, third and forth years in communication Arts, Rajabhat University, 80 persons who register in the 4 practical mass communication courses, each course per year, in Rajabhat University. The total sample is 20 people per course. Research tools are composed of Questionnaire, skills test analysis process, including a record of observations and the criteria for observation, approach skills test results were a score and rating criteria to measure performance oriented, Five - Forces Model Analysis, Value Chain Analysis, analytical strategies to take advantage of the competition,analysis to create a learning organization by learning based on the capability and suitability assessment and certification model. The statistics, used in analyzing data includes frequency, percentage, average, standard deviation, One-Sample T-Test, and Confirmatory Factor Analysis Model to measure the weight of each variable by using LISREL program The results show that: 1.By examining the consistency of its dummy companies with empirical data by the method of Confirmatory Factor Analysis using the dummy companies, indicates the company has a latent of 11 and a total of 41 indicators. The analysis is used to check the consistency of the dummy companies in its communication on the empirical data and found that the dummy companies are consistent with empirical data X2 = 501.83, p = 1.00, df = 747, GFI = 0.90, AGFI= 0.88, RMR = 0.086. Based on the results of confirmatory factor, the analysis of the dummy companies model of communication arts found that, the weights of all 41 data are positive, within the range of 0.48-0.72 and is statistically significant at the 0.01 level for all indicators, where the most important indicators for analysis the prototype of dummy companies as a learning organization with the empirical data is the element planning and strategic management. In which is followed by the composition of fund management business, elements of marketing management, marketing communication, promotion and distribution channels, composition operators, element in accounting and finance, element of teaching and learning, element management and business operations, element of human resource management, element of knowledge management and organizational learning, composition analysis of the location, and element of the business plan. 2.The prototype of dummy companies as a learning organization in communication arts for Rajabhat Universities is composed of; Philosophy, Vision, Mission, Strategy, Policy, and Tactics. Philosophy is the creative development, learning from practice to create a professional entrepreneur media and principles of business to society. Vision is the development of the prototype of dummy companies as a learning organization in communication arts by learning and teaching practice as a professional and creative development of sustainable media. Mission is 1) assign the practical courses taught by professional, 2) develop the knowledge of student in business to become the weaver of media business 3) create a cooperation network of academic and professional in communication arts 4) increase the potential of students to have academic knowledge, communication skills, expertise and professionalism, 5) organize of knowledge to promote professional development students and create the communication center, 6) help to develop the public consciousness, social performance of companies and the professional performance of students. Strategy is 1) develop the prototype of dummy companies as a learning organization in communication arts and can create a sustainable career, 2) develop the prototype of dummy companies as the center of technical and professional communication arts, 3) enhancement of student learning with professional practice with moral and social responsibility, 4) develop the student to become media business executives, 5) enhance the mind for public services. Policy is 1) organization development as sustainable a learning organization, 2) driven business organization with an emphasis of the work, 3) create a network of technical cooperation and professionalism in the country and abroad, 4) social development with a teaching model and results of operations, 5) development of staff and students to become professionals in communication arts, 6) build people to build a career while studying at university , 7) teaching pragmatic combining with the theoretical knowledge, 8) profitable to the people, rather than the profits of the company, income is not a measure of success, the measure of success is knowledge and recognition of the value and performance, 9) students gain experience by learning with a professional and learning the business of communication arts, 10) create a new entrepreneur with the principle of good governance. Tactics is 1) creation of credibility in the academic and professional cooperation, both in and outside the country, 2) offer facts, information, depth of general knowledge of the community and intimacy, 3) low cost make a difference that visible only to the values and aims, 4) variety competition will reach customers more quickly and be able to remember, 5) conduct research to analyze and define the management processes to identify factors that are critical to success in the long run, 6) improve the quality, production or service in order to meet customer needs.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1563-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- นักศึกษาen_US
dc.subjectการสื่อสาร -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectสื่อมวลชน -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectการเรียนรู้องค์การen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en_US
dc.subjectUniversities and collegesen_US
dc.subjectCommunication -- Study and teaching (Higher)en_US
dc.subjectMass media -- Study and teaching (Higher)en_US
dc.subjectOrganizational learningen_US
dc.subjectKnowledge managementen_US
dc.subjectCollege students -- Vocational educationen_US
dc.titleการพัฒนาต้นแบบบริษัทจำลองที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านนิเทศศาสตร์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏen_US
dc.title.alternativeThe prototype development of dummy companies as a learning organization in communication arts for Rajabhat Universitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1563-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat Ruangsakul Patana.pdf20.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.