Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59155
Title: การเปรียบเทียบคำกริยาช่วยที่สื่อความประสงค์หรือความต้องการในภาษาจีนกลางกับ คำลักษณะเดียวกันในภาษาไทย
Other Titles: Comparative study of optative modal verbs in mandarin Chinese and their Thai equivalents
Authors: อารดี เก้าเอี้ยน
Advisors: สุรีย์ ชุณหเรืองเดช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ภาษาจีน -- คำกริยา
ภาษาไทย -- คำกริยา
ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ
Chinese language -- Verb
Thai language -- Verb
Comparative linguistics
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความหมาย โครงสร้างไวยากรณ์ และบริบทการใช้คำกริยาช่วยที่สื่อความประสงค์หรือความต้องการ“想”,“要”, “想要”,“会”และ“愿意”ในภาษาจีนกลางกับคำที่มีลักษณะเดียวกันในภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า คำกริยาช่วยที่สื่อความประสงค์หรือความต้องการ“想”,“要”และ“想要”ในภาษาจีนกลาง มีความหมายเทียบเคียงได้กับคำกริยาช่วย “อยาก (จะ)”, “ต้องการ (จะ)”, “ปรารถนา (จะ)”, “ประสงค์ (จะ)” ในภาษาไทย ส่วนคำกริยาช่วย“愿意”ในภาษาจีนกลางก็สามารถเทียบเคียงได้กับคำกริยาช่วย “จะ”, “คิด (จะ)”, “ยินดี (จะ)”, “เต็มใจ (จะ)”, “ตั้งใจ (จะ)” ในภาษาไทย อย่างไรก็ตาม คำกริยาช่วย“会”ที่ใช้สื่อความหมายถึง “การสัญญา” ในภาษาจีนกลางตามที่อ้างถึงในงานวิจัยที่ผ่านมา ดูเหมือนจะไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง หรือไม่ได้สื่อความหมายที่ชัดเจนแน่นอนถึงความประสงค์หรือความต้องการ ดังเช่นที่พบในกรณีของคำกริยาช่วย“想”,“要”,“想要”และ “愿意”ที่สื่อความประสงค์หรือความต้องการในภาษาจีนกลาง เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างไวยากรณ์ที่มีการใช้คำกริยาช่วยที่สื่อความประสงค์หรือความต้องการในภาษาทั้งสอง พบว่าส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น คำกริยาช่วยเหล่านี้สามารถปรากฏใช้ในประโยคที่มีกรรมทำหน้าที่ควบเป็นประธาน และในประโยคโครงสร้างกริยาเรียง หรือประธานในประโยคที่ใช้คำกริยาช่วยดังกล่าวต้องเป็นคนและ/หรือสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก หรือสิ่งไม่มีชีวิตที่สามารถใช้ในความหมายแทนมนุษย์ได้ เป็นต้น ในด้านบริบททางวัฒนธรรมและบริบททางสถานการณ์ พบว่าคำกริยาช่วยที่สื่อความประสงค์หรือความต้องการ“想”,“要”,“想要”และ“愿意”ในภาษาจีนกลางกับคำที่มีลักษณะเดียวกันในภาษาไทย สามารถปรากฏในบริบทที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีอาวุโสเสมอกันหรือแตกต่างกัน และสามารถใช้ในเหตุการณ์สื่อความประสงค์ที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต
Other Abstract: The purpose of this study is to analyze and compare the Chinese optative modals, namely, “想xiǎng”,“要yào”,“想要xiǎngyào”,“会huì” ,and “愿意yuànyì” with their Thai equivalents in terms of meaning, syntactic structure, as well as contexts. The result shows that the Chinese optative modals “想xiǎng”,“要yào”,and “想要xiǎngyào” convey the meaning that is comparable to the Thai optative modals “อยาก (จะ)”, “ต้องการ (จะ)”, “ปรารถนา (จะ)”, “ประสงค์ (จะ)”, whereas the Chinese optative modals “愿意yuànyì” render the meaning that is comparable to the Thai optative modals “จะ”, “คิด (จะ)”, “ยินดี (จะ)”, “เต็มใจ (จะ)”, “ตั้งใจ (จะ)”. Nevertheless it seems that the Chinese modal “会huì” used in the sense of “promise” or “undertake” as referred to in previous studies, does not directly related to or definitely convey the meaning of “will” or “desire” as seen in the case of the Chinese optative “想xiǎng”,“要yào”,“想要xiǎngyào” ,and “愿意yuànyì”. When comparing the syntactic structure which contains the optative modals in both languages, we find that there are a number of similarities in the majority of cases; for instance, these optative modals can occur in the so-called “pivotal sentences” as well as in the “serial verb constructions”; or the subject of the sentence containing such optative modals has to be humans and/or sentient beings or inanimate things that can be used in place of human beings, etc. Regarding the context of culture and the context of situation, we find that both the Chinese optative modals “想xiǎng”,“要yào”,“想要xiǎngyào”,and “愿意yuànyì” and their Thai equivalents can appear in a context by which the message “addresser” and “addressee” are of the same or different age. They can also be used in the situations denoting “will” or “desire” which occur in the past, present, or future.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาจีน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59155
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.710
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.710
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680168922.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.