Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดา ธนิตกุล-
dc.contributor.authorชลาลัย บุญเปี่ยม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-28T10:29:53Z-
dc.date.available2018-06-28T10:29:53Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เรื่องการรวมธุรกิจ และการรวมธุรกิจในรูปแบบต่างๆ รวมถึงมาตรการทางกฎหมายเรื่องการรวมธุรกิจของต่างประเทศ ในการควบคุมพฤติกรรมการแข่งขันที่ก่อให้เกิดการจำกัดหรือกีดกันการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประสบการณ์ในการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศ และประเมินข้อที่ควรปรับเปลี่ยนหากนำมาใช้ในประเทศไทย เพื่อนำเสนอแนวทางและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ ที่จะมีผลทำให้รักษาโครงสร้างตลาดให้ไม่มีการรวบอำนาจทางเศรษฐกิจมากเกินไป และมีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการอย่างแท้จริงได้ ผลการศึกษาพบว่าการรวมธุรกิจในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นจากในอดีต โดยมีทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบวิธีการรวมธุรกิจ การวางแผนทางด้านการเงินหรือเงินทุน และการวางแผนภาษี ด้วยเป้าหมายหรือแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้โครงสร้างของรูปแบบการรวมธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งจากการศึกษามาตรการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศพบว่าแม้ว่าในรายละเอียดของตัวบทกฎหมายจะแตกต่างกัน แต่วัตถุประสงค์หลักจะเหมือนกันคือ คุ้มครองการแข่งขันในตลาดมิใช่คุ้มครองคู่แข่งขันในตลาด อีกทั้งจะพิจารณาเหตุผลและความเหมาะสมในการรวมธุรกิจด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้รวมธุรกิจที่น่าสนใจหลายประการ ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะให้นำหลักเกณฑ์หรือวิธีการบางประการมาปรับใช้กับประเทศไทย เท่าที่สภาพสังคม เศรษฐกิจและระบบกฎหมายของประเทศไทยจะเอื้ออำนวย ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ในหลายประเด็น อาทิเช่น การเพิ่มเรื่องการกระจุกตัวของตลาดและจำนวนเสียงหรือสัดส่วนในการออกเสียง เป็นหลักเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณา การรวมธุรกิจนอกเหนือจากการพิจารณาส่วนแบ่งตลาด ยอดเงินขาย และจำนวนหุ้น เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมาตรา 26 มาใช้บังคับได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.abstractalternativeThis Thesis is aimed to study the economic theory in relation to business combination and various forms of business combination including legal measurement of business combination in other countries regarding the controlling over the competition practices that cause the restriction or obstruction of free and fair competition. In order to study and analyze the measurement experiences of those countries in the Anitrust Law and apply such measurement experiences in Thailand for ruling the guidelines and measurements in business combination that could protect the market structure from exceeding market power and promote real competition among business sectors operators. From this study, the business combination at present have been developed in the forms, combination financial investment plan and tax planning with different aims or motivation which lead to more complex forms. In the laws measurement study, it is found that even though law's context in detail is different but they have same objective which is protect the competition in the market, not competitors, where rationale and suitability are considered. In the applying the measurement to Thailand, the social and economy aspects as well as Law System must be considered. The author comment that some regulations or procedures may apply to Thailand and Section 26 of The Business Combination Under the Trade Competition Act B.E. 2542 shall be amended in some issues, such as, market concentration or voting right should be added in Section 26 which will be increase the Law enforcement efficiency.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.928-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542en_US
dc.subjectการแข่งขันทางการค้า -- ไทยen_US
dc.subjectการรวมกิจการen_US
dc.subjectบริษัทมหาชนen_US
dc.subjectConsolidation and merger of carporations -- Law and legislationen_US
dc.subjectCompetitionen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวมธุรกิจตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542en_US
dc.title.alternativeLegal issues relating to the business combination under the Trade Competition Act B.E. 2542 (1999)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.928-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chalalai_bo_front.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
chalalai_bo_ch1.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
chalalai_bo_ch2.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
chalalai_bo_ch3.pdf10.35 MBAdobe PDFView/Open
chalalai_bo_ch4.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
chalalai_bo_ch5.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
chalalai_bo_ch6.pdf784.63 kBAdobe PDFView/Open
chalalai_bo_back.pdf10.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.