Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59317
Title: Effects of Protein Reduction and Substitution of Cassava for Corn in Broiler Diet on Growth Performance, Ileal Protein Digestibility and Nitrogen Excretion in Feces
Other Titles: ผลของการลดระดับโปรตีนในอาหาร และใช้มันสำปะหลังทดแทนข้าวโพดในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโปรตีนที่ลำไส้เล็กส่วนปลายและการขับออกของไนโตรเจนในมูล
Authors: Nirun Boonsinchai
Advisors: Suwanna Kijparkorn
Manop Potchanakorn
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: [email protected]
No information provided
Subjects: Feeds
Broilers (Chickens) -- Food
Broilers (Chickens) -- Growth
Proteins in animal nutrition
อาหารสัตว์
ไก่เนื้อ -- อาหาร
ไก่เนื้อ -- การเจริญเติบโต
โปรตีนในโภชนาการสัตว์
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This experiment was conducted to investigate the effect of protein reduction and substitution of cassava for corn on growth performance, ileal protein digestibility and nitrogen excretion in the feces of broilers. Total 2,688 day old male (Cobb 500) broilers were randomly divided into 8 groups with 6 replicates of 56 birds each. The 2 x 4 factorial arrangements were applied to perform 8 diets with 4 protein levels (100%, 95%, 90%, and 85% of primary breeder recommendation during 1-21 and 22-42 days of age) and 2 energy sources (Corn; CO and Corn substituted with Cassava 50%; CC) while maintaining a constant level of 4 essential amino acids (Met, Lys, Thr, and Trp) to meet the recommendation in each period. At 1-21 days of age, there were no effects from energy sources and interaction between protein levels and energy sources on growth performance. Protein levels affected on both FCR and nitrogen excretion but did not influence ileal protein digestibility. The 85% protein group had significantly higher FCR (P<0.05) than other protein groups, while fecal nitrogen decreased as dietary protein levels declined (P<0.05). At 22-42 days of age, there was interaction between energy sources and protein levels on feed intake. Birds in CC group had significantly higher FCR than CO group (P<0.001) and also found the difference in protein levels. Broilers fed the lowest protein level diet had significantly lower ileal protein digestibility and nitrogen excretion than other protein groups (P<0.05). Birds fed CO diets had significantly higher protein digestibility than CC diets (P<0.0001). In conclusion, dietary crude protein can be reduced up to 95% of recommendation and cassava can be used to substitute for corn by 50% when considered only growth performance and economic returns. However, when environmental pollution was included, the crude protein could be decreased to 90% of recommendation.
Other Abstract: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการลดระดับโปรตีน และการทดแทนข้าวโพดด้วยมันสำปะหลัง ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโปรตีนในลำไส้เล็กส่วนปลาย และการขับออกของไนโตรเจนในมูลของไก่เนื้อ โดยใช้ไก่เนื้อเพศผู้สายพันธุ์ Cobb 500 อายุ 1 วัน จำนวน 2,688 ตัว สุ่มแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มๆ ละ 6 ซ้ำๆ ละ 56 ตัว แผนการทดลองเป็นแบบ 2 X 4 แฟคตอเรียล อาหารทดลองประกอบด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีนแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 100, 95, 90 และ 85% ของระดับสารอาหารที่ผู้ผลิตสายพันธุ์แนะนำในช่วง 1-21 และ 22-42 วัน และใช้แหล่งพลังงานจากข้าวโพด และจากข้าวโพดที่ทดแทนด้วยมันสำปะหลัง 50% อย่างละ 4 สูตร รวมทั้งหมด 8 สูตร โดยคงระดับกรดอะมิโนที่จำเป็น 4 ชนิดได้แก่ เมทไธโอนีน ไลซีน ทรีโอนีน และทริปโตแฟน ตามคำแนะนำในแต่ละช่วงอายุ ผลการทดลองในช่วงอายุ 1-21 วันไม่พบผลจากแหล่งพลังงาน และอิทธิพลร่วมของระดับโปรตีนและแหล่งพลังงาน แต่พบผลของความแตกต่างของระดับโปรตีนต่ออัตราการแลกเนื้อ โดยที่กลุ่มที่ได้รับอาหารโปรตีน 85% มีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่น(P<0.05) และการขับออกของไนโตรเจนในมูลที่ลดลงตามระดับโปรตีนในอาหารที่ลดต่ำลง(P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อการย่อยได้ของโปรตีน (P>0.05) ในช่วงอายุ 22-42 วันพบความแตกต่างของอิทธิพลร่วมระหว่างระดับโปรตีนและแหล่งพลังงานต่อปริมาณอาหารที่กิน โดยไก่ที่ได้รับข้าวโพดร่วมกับมันสำปะหลัง ให้อัตราการแลกเนื้อสูงกว่าไก่ที่ได้รับข้าวโพดเป็นแหล่งพลังงาน (P<0.001) และพบความแตกต่างของระดับโปรตีน โดยไก่กลุ่มที่ได้รับปริมาณโปรตีนต่ำสุดมีค่าการย่อยได้ของโปรตีนและไนโตรเจนที่ขับออกในมูลต่ำกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) ขณะที่แหล่งพลังงานพบว่าไก่ที่กินอาหารที่มีข้าวโพดเป็นแหล่งพลังงานมีการย่อยได้ของโปรตีนดีกว่ากลุ่มที่ใช้มันสำปะหลังทดแทนข้าวโพด 50% (P<0.0001) สรุปว่าสามารถลดระดับโปรตีนลงเหลือ 95% และสามารถใช้มันสำปะหลังทดแทนข้าวโพดได้ 50% เมื่อพิจารณาเฉพาะสมรรถภาพการเจริญเติบโตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเมื่อนำผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย ระดับโปรตีนสามารถลดลงเหลือ 90% ของระดับสารอาหารที่ผู้ผลิตสายพันธุ์แนะนำ
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Animal Nutrition
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59317
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.688
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.688
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nirun Boonsinchai.pdf857.7 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.