Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59346
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมภาร พรมทา-
dc.contributor.authorพระมหาปฏิจจธรรม เพิ่มพิทยางกูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-08-22T15:02:25Z-
dc.date.available2018-08-22T15:02:25Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59346-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractเนื่องจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนามาเป็นระยะเวลานาน แต่ปรากฏว่ามีบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น จึงเป็นที่มาของวิทยานิพนธ์เล่มนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วจึงนำมาวิเคราะห์และประมวลผลผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญในพระธรรมวินัยมีเพียงจำนวนน้อยนั้น คือ1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเน้นให้มีความเชี่ยวชาญแต่ปรัชญาและพันธกิจของมหาวิทยาลัยไม่ได้เน้นด้านความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวแต่ได้เน้นแบบองค์รวม 2) โครงสร้างของหลักสูตรถูกจำกัดกรอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)3) เนื้อหาสาระของหลักสูตรมีลักษณะที่กว้างและครอบคลุ่มแต่ไม่เจาะลึกจึงไม่เอื้อให้เกิดความเชี่ยวชาญได้ 4) คุณลักษณะของอาจารย์ยังขาดคุณสมบัติด้านเทคนิคและวิธีการสอนและยังขาดผู้เชี่ยวชาญที่มาทำหน้าที่ในการสอนให้เกิดประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ 5) ผู้เข้าศึกษาแม้จะมีวุฒิการสมัครเข้าศึกษาตามมหาวิทยาลัยกำหนดแต่ส่วนใหญ่มีเป้าหมายเรียนให้จบเพื่อจะได้รับปริญญาบัตรไปประกอบอาชีพในทางโลกมากกว่าจะให้เกิดความเชี่ยวชาญในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 6) การจัดการเรียนการสอนยังติดอยู่ในเงื่อนไขด้านความต้องการของตลาด งบประมาณ และกรอบของ สกอ.และสมศ. เพราะมหาวิทยาลัยสงฆ์เกรงว่าเมื่อผลิตบัณฑิตแบบเฉพาะทางแล้วจะไม่มีตลาดรองรับและหากเปิดเป็นเฉพาะทางแล้วไม่มีผู้เรียนก็จะทำให้เสียงบประมาณ และเกรงว่าหลักสูตรจะไม่ผ่าน สกอ.และ สมศ. 7) การวัดและการประเมินผลเป็นไปตามระบบมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดแต่ครูอาจารย์ยังมีฉันทาคติเพราะเห็นแก่สถานภาพความเป็นพระภิกษุสามเณรของผู้เรียน 8) คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษามีความเชี่ยวชาญที่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานตามพระธรรมวินัยที่ได้กำหนดให้ผู้เรียนพระพุทธศาสนาจะต้องมีความเชี่ยวชาญ ช่ำชองในพระพุทธวจนะจากผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐได้ให้อิสระในการจัดหลักสูตรโดยไม่ตัดด้านงบประมาณและเสนอให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ได้จัดการเรียนการสอนให้เข้มข้นเป็นแบบเฉพาะทางมากขึ้นและให้สอดคล้องกับหลักพระธรรมวินัยมากที่สุดเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตด้านพระพุทธศาสนาให้มีผู้เชี่ยวชาญจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวพุทธมากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThai Sangha universities, namely Mahachulalongkornrajavidyalaya University and Mahamakut Buddhist University have produced graduates in Buddhism for a long time. However, there are very few graduates who can truly claim expertise in this field. This thesis, therefore, aims to explore the cause of this problem and bases on documentary research and intensive interview. As the result, this thesis reveals that the problem is caused by 1) the purpose of the curriculum emphasizes on merely philosophy and the mission of the universities do not place much emphasis on specialization but on holistic knowledge, 2) the structure of the curriculum is restricted by the policies of the Office of the Higher Education Commission and The Office for National Education Standards and Quality Assessment, 3) the content of the curriculum emphasizes on generalized knowledge, not specialization, 4) the instructors lack of appropriate techniques and methods in teaching, 5) the students, though they have qualification as required by the university, lack inner enthusiasm, because some of them desire for a degree which is useful for their ordinary career more than determination to venerate their faith and maintain Buddhism. 6) the teaching and studying activity which is conditioned by students’ demand, budget and the policies of the Office of the Higher Education Commission and the Office for National Education Standards and Quality Assessment, 7) the assessment and evaluation is not authentic according to the curriculum because, sometimes, the instructors are not strict with the students since they do not wish to fail them, and 8) the quality of the graduate has failed to reach the standards as expected in the Dhammavinaya. From the result of this study, it is suggested that the government should give freedom to the Sangha universities in designing their own curriculum and should not reduce the budget allocation. Besides, it is suggested that the Sangha universities should modify the curriculum and see that it conforms more closely to the Dhammavinaya in order to develop the teaching and studying of Buddhism to ensure more effective provision of education.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1568-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย -- หลักสูตรen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย -- หลักสูตรen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสงฆ์ -- ไทยen_US
dc.subjectพุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน -- ไทยen_US
dc.subjectMahachulalongkornrajavidyalaya University -- Curriculaen_US
dc.subjectMahamakut Buddhist University -- Curriculaen_US
dc.subjectBuddhism -- Study and teaching -- Thailanden_US
dc.titleการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยen_US
dc.title.alternativeTeaching Buddhism in Thai Sangha Universitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพุทธศาสน์ศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNo information provided-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1568-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phramaha Paticcadham Permpitayangkura.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.