Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59376
Title: การป้องกันโรคพีอีดีในลูกสุกรโดยการป้อนเชื้อไวรัสที่แยกได้ในประเทศไทยที่อ่อนกำลังโดยการเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยงให้กับแม่สุกรอุ้มท้อง
Other Titles: Protection of piglets against Porcine Epidemic Diarrhea Virus (PEDV) by oral administration of cell culture-attenuated Thai isolated PEDV in pregnant sows
Authors: มงคล ลำใย
Advisors: รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช
คมกฤช เทียนคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: สุกร -- โรคเกิดจากไวรัส -- การรักษา
โรคพีอีดี -- การรักษา
โรคพีอีดี -- การป้องกันและควบคุม
Swine -- Virus diseases -- Treatment
Porcine Epidemic Diarrhea -- Treatment
Porcine Epidemic Diarrhea -- Prevention and control
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม่สุกรอุ้มท้องที่มีระยะอุ้มท้อง 12 สัปดาห์ จำนวน 4 ตัว (4 สัปดาห์ก่อนคลอด) ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 3 ตัว ป้อนเชื้อไวรัสพีอีดีที่แยกได้ในประเทศไทย (สายพันธุ์ 08NP02) ที่ถูกทำให้อ่อนกำลังลงโดยการเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยง จำนวน 53 รอบ ด้วยการป้อนทางปาก (Oral inoculation) ที่ 4 และ 2 สัปดาห์ก่อนคลอด ซึ่งมีปริมาณไวรัสไม่ต่ำกว่า 105 TCID50/ml จำนวน 5 มิลลิลิตร/ตัว และกลุ่มที่ 2 จำนวน 1 ตัว เป็นกลุ่มควบคุม จากนั้นลูกสุกรที่เกิดจากแม่ทั้ง 2 กลุ่มภายหลังจากได้รับนมน้ำเหลือง 2 วันมาทำการป้อนเชื้อพิษทับด้วยไวรัสพีอีดีที่ก่อโรครุนแรงสายพันธุ์ 08NP02 (Wild-type) โดยการป้อนทางปาก ซึ่งมีปริมาณไวรัสไม่ต่ำกว่า 105 TCID50/ml จำนวน 2 มิลลิลิตร/ตัว บันทึกและสังเกตอาการท้องเสีย อาเจียนในลูกสุกรที่ถูกป้อนเชื้อพิษทับนาน 5 วัน ศึกษาการขับเชื้อไวรัสผ่านทางอุจจาระหลังป้อนเชื้อพิษทับในลูกสุกร โดยทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระทุกวัน ลูกสุกรอย่างน้อย 2 ตัวต่อแม่ (1 ตัวต่อแม่ ในกลุ่มควบคุม) ถูกนำมาผ่าชันสูตรซากที่ 12, 24, 48, 72 และ120 ชั่วโมงหลังป้อนเชื้อพิษทับ เพื่อศึกษารอยโรคทางมหพยาธิวิทยา และจุลพยาธิวิทยา และเก็บตัวอย่างลำไส้เล็กเพื่อตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสพีอีดี จากผลการทดลอง แม่สุกรกลุ่มที่ 1 ไม่มีการแสดงอาการท้องเสีย หรือการขับไวรัสพีอีดีผ่านทางอุจจาระ เมื่อทำการป้อนเชื้อพิษทับในลูกสุกร พบว่า ลูกสุกรจากแม่สุกรกลุ่มที่ 1 ร้อยละ 63.63 แสดงอาการท้องเสียภายใน 1 วันหลังป้อนเชื้อพิษทับ ขณะที่ลูกสุกรทุกตัวจากกลุ่มควบคุมแสดงอาการท้องเสียทั้งหมด อย่างไรก็ตามลูกสุกรทั้ง 2 กลุ่มแสดงอาการท้องเสียภายใน 2-5 วันหลังป้อนเชื้อพิษทับ และให้ผลบวกต่อโรคพีอีดีด้วยวิธี RT-PCR ในอุจจาระ พบลักษณะผนังลำไส้บาง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณเยื่อแขวนลำไส้มีการขยายขนาด และมีของเหลวสีเหลืองในลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ทั้ง 2 กลุ่มทดลอง คะแนนเฉลี่ยรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาในกลุ่มลูกสุกรทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ปริมาณไวรัสในลำไส้เล็กของลูกสุกรในกลุ่มควบคุมจะสูงกว่าลูกสุกรในกลุ่มที่ 1 โดยเฉพาะช่วง 48 ชั่วโมงหลังป้อนเชื้อพิษทับ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปริมาณการป้อนเชื้อพิษทับอาจสูงเกินไปจึงมีผลทำให้ลูกสุกรแสดงอาการท้องเสียรุนแรงมากกว่าที่ตั้งสมมติฐานไว้ ผลจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ลูกสุกรที่มาจากแม่สุกรกลุ่มที่ 1 ได้รับการปกป้องต่อโรคพีอีดีเพียงบางส่วนในช่วงแรกจากการดูดนมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันจากน้ำนมจะช่วยลดความรุนแรงของอาการทางคลินิก และการขับเชื้อไวรัสได้ภายหลังป้อนเชื้อพิษทับด้วยไวรัสพีอีดีที่ก่อโรครุนแรง ทั้งนี้การทดลองในอนาคตจำเป็นต้องกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดเยื่อเมือกผ่านนมน้ำเหลืองในแม่สุกรให้มากขึ้น
Other Abstract: Four pregnant sows (4 weeks before farrowing) were allocated into two groups: group 1 (n=3) was inoculated orally with 5 ml of the 53rd-passage cell culture-attenuated Thai isolated porcine epidemic diarrhea virus (PEDV) (105TCID50/ml) at 4 and 2 weeks before farrowing and group 2 (n=1) was a negative control group. The piglets from both groups were challenged orally with 2 ml of the virulent Thai 08NP02 (Wild-type) PEDV (105TCID50/ml) after having colostrum for 2 days. Clinical signs of diarrhea and vomiting in all challenged piglets were observed for 5 days. Piglet feces were collected every day post challenged for viral shedding study. At least 2 piglets from the vaccinated group and 1 piglet from the control group, were euthanized at 12, 24, 48, 72 and 120 hours post challenged for macroscopic and microscopic lesion study. All sows in both groups did not have diarrhea or viral shedding in the feces. When challenged with the virulent Thai PEDV, 63.63% of piglets from the vaccinated sow group exhibited diarrhea within 1 day post challenged, whereas, all piglets from the control group had diarrhea. However, all piglets from both groups had diarrhea within 2-5 day post challenged and were all positive by RT-PCR detection in feces. Regarding to macroscopic and microscopic lesions, those lesions composed of segmental thin wall of intestine, mesenteric lymph node enlargement and watery contents in both small and large intestines with no statistical significance between groups. Interestingly, virus titers in the small intestine of the control piglet group were higher, particularly at 48 hour post challenged. It should be noted that the PEDV challenged dosage in piglets would have been higher resulting in more severe clinical disease than expected. These results indicated that piglets from the vaccinated sow group received partial protection in the beginning after sucking colostrum and immuned milk having less severity in term of clinical signs and virus shedding against virulent PEDV challenge. In order to gain better protection in piglets, sow mucosal immunity should be stimulated.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59376
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1582
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1582
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mongkol Lumyai.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.