Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59432
Title: | การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Developing an aids risk communication model for Myanmar transnational workers in Thailand |
Authors: | สมิทธิ์ บุญชุติมา |
Advisors: | สุจิตรา สุคนธทรัพย์ ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | โรคเอดส์ แรงงานต่างด้าวพม่า การจ้างงานในต่างประเทศ AIDS (Disease) Foreign workers, Burmese Employment in foreign countries |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทยเกี่ยวกับการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อและกิจกรรมการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ประกอบด้วยการสำรวจ การสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการทดลอง ผลจากการศึกษา พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ แรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทยได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์จากองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อนและเพื่อนร่วมงานชาวเมียนมาร์ มีความต้องการได้รับสุขศึกษาในโรงงาน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยในครั้งนี้เรียกว่า รูปแบบ "ENGAGE-A3" ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นได้รับความเชื่อถือ ขั้นสำรวจสภาพแวดล้อม ขั้นขอความช่วยเหลือจากคนในพื้นที่ ขั้นดำเนินกิจกรรม ขั้นดำเนินกิจกรรมแบบเกม และขั้นประเมินผล การใช้รูปแบบนี้ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการประเมินความเสี่ยง การตระหนักต่อความเสี่ยง และการช่วยสื่อสารความเสี่ยง ผู้วิจัยได้จัดทำแผนการจัดกิจกรรมตั้งแต่ขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ จนถึงขั้นประเมินผล โดยการเสริมพลังให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงงานถือปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ช่วยลดอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนสามารถดำเนินการสื่อสารอย่างสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย |
Other Abstract: | This study’ s objectives were to investigate the problems and opinions of personnel working in risk communication at the Department of Disease Control, Ministry of Public Health and the Myanmar transnational workers (MTWs) regarding the approach to communicating the AIDS risks among MTWs in Thailand, to examine the effects of the use of the media and activities communicating the AIDS risks on the MTWs, and to develop an AIDS risk communication model for MTWs in Thailand. The study utilized mixed methods, which were survey research, field survey, in-depth interview, focus group discussion, and experimental research. The research findings showed that most of the personnel working in risk communication at the Department of Disease Control, Ministry of Public Health did not communicate AIDS risk to MTWs. The MTWs received the information on AIDS from non-governmental organizations, Myanmar friends, and colleagues, and wanted to get group health education in their factories regarding AIDS prevention. Most of MTWs used social media, especially Facebook. The AIDS risk communication model developed from this study was called "ENGAGE-A3." It consisted of 6 steps: earning trust, environmental scanning, getting local help, action, gamification, and evaluation. The implementation of this model induced changes in risk assessment, awareness, and advocacy. The researcher created a series of action plans for risk communication from planning to implementation and evaluation. The success of this risk communication model came from empowering MTWs to be health volunteer leaders in the factory, leading to reducing language and cultural barriers, allowing the communication efforts relevant to a contextual setting and target audience. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59432 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1243 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1243 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5578611239.pdf | 8.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.