Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59452
Title: | ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
Other Titles: | Species diversity and abundance of ants in human-exploited area at Wiang Sa District, Nan Province |
Authors: | อนงค์นาฏ เช็งสุทธา |
Advisors: | ดวงแข สิทธิเจริญชัย พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected],[email protected] |
Subjects: | ความหลากหลายของสัตว์ มด -- ความผันแปร Animal diversity Ants -- Variation |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยในครั้งนี้ทำการศึกษาในเขตอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 ในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากมนุษย์ 3 ประเภท ได้แก่ ป่าชุมชน (CF), สวนป่าสัก (TP) และพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน (IF) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ต้องการที่จะเปรียบเทียบความหลากหลายและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการต่อความชุกชุมของมด 3 ชนิด ได้แก่ มดน้ำผึ้ง Anoplolepis gracilipes มดแดง Oecophylla smaragdina และมดละเอียดท้องดำ Trichomyrmex destructor ทำการเก็บตัวอย่างมดทุก ๆ 2 เดือนโดยใช้วิธีเก็บตัวอย่าง 4 วิธี ได้แก่ การเก็บด้วยมือแบบกำหนดเวลา การใช้กับดักน้ำหวานผสมโปรตีน การใช้กับดักหลุม และ การร่อนดิน ผลการศึกษาพบมดจำนวนหกวงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อย Dolichoderinae วงศ์ย่อย Dorylinae วงศ์ย่อย Formicinae วงศ์ย่อย Myrmicinae วงศ์ย่อย Ponerinae และ วงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae ซึ่งพบมดทั้งสิ้นจำนวน 40 สกุล 70 ชนิด (69 ชนิด และ 1 สัณฐานวิทยา) โดยที่มดชนิด Paratopula macta ได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในภาคเหนือของประเทศไทย ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลายทางชนิดมด (Shannon – Wiener’s diversity index (H')) มีค่าเท่ากับ 1.05, 0.90 และ 0.77 ในพื้นที่ IF CF และ TP ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดมด (Pielou's evenness index (J')) มีค่า 0.31, 0.28 และ 0.26 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเปรียบเทียบดัชนี H' และ J' ของมดระหว่างพื้นที่ศึกษาทั้ง 3 แห่ง (Mann-Whitney U test, p<0.05) แต่ค่าเฉลี่ยของดัชนี H' และดัชนี J' ที่มีค่าสูงในพื้นที่ IF นั้น แสดงเห็นว่าในพื้นที่นี้มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมดหลายชนิด ซึ่งอาจเกิดจากมีแหล่งอาศัยย่อยหลายแหล่ง ในส่วนของค่าดัชนีความเหมือนระหว่าง IF/TP นั้น มีค่าสูงที่สุดอยู่ที่ 0.70 ในขณะที่ดัชนีความเหมือนระหว่าง CF/TP และ CF/TF มีค่าเท่ากับ 0.61 และ 0.57 ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าทั้งพื้นที่ IF และ TP เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรกรรมเหมือนกัน ค่าเฉลี่ยของดัชนี H' และดัชนี J' เมื่อเปรียบเทียบระหว่างฤดูกาลในแต่ละพื้นที่ศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนในพื้นที่ IF (Mann-Whitney U test, p<0.05) อย่างไรก็ตามค่าดัชนีความเหมือนของฤดูแล้งและฤดูฝนมีค่าสูงสุดในพื้นที่ IF ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.79 และมีค่าเท่ากับ 0.75 และ 0.69 ในพื้นที่ CF และ TP ตามลำดับ ความคล้ายคลึงกันของชนิดมดที่พบในฤดูแล้งและฤดูฝนในพื้นที่ TP และ IF น่าจะเป็นผลที่เกิดจากการจัดการสภาพแวดล้อมและกิจกรรมของมนุษย์ที่คล้ายกันในทั้งสองพื้นที่ ในขณะที่พื้นที่ CF มีการรักษาสภาพของป่าไว้อย่างสมบูรณ์ทำให้สามารถรักษาชนิดของมดที่อาศัยในบริเวณนั้นไว้ได้ สำหรับปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการที่มีต่อความชุกชุมของมดพบว่าความชื้นของดินและอุณหภูมิของดินมีความสัมพันธ์กับความชุกชุมของ A. gracilipes (Speaman’ correlation p<0.05) ในขณะที่อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิของดินและเปอร์เซนต์การปกคุมของพืชคลุมดินมีความสัมพันธ์ต่อความชุกชุมของ O. smaragdina (Spearman’ correlation p<0.05) และในส่วนสุดท้ายนั้น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นของดิน อุณหภูมิผิวดินและอุณหภูมิของดินมีความสัมพันธ์กับความชุกชุมของ T. destructor อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Spearman’ correlation p<0.05) |
Other Abstract: | The research was conducted in Wiang Sa district, Nan province from January 2015 to January 2016 in three land-used areas: community forest (CF), teak plantation (TP) and integrated farming area (TF). The objectives were to compare species diversity and abundance of ants, and to study the relationships between environmental factors and abundances of 3 ant species: yellow crazy ant Anoplolepis gracilipes, weaver ant Oecophylla smaragdina and Singapore ant Trichomyrmex destructor. Ants were collected every 2 months using 4 sampling methods: hand collecting, sugar-protein bait trapping, pitfall trapping, and soil shifting. Six subfamilies (Dolichoderinae, Dorylinae, Formicinae, Myrmicinae, Ponerinae and Pseudomyrmecinae), 6 subfamilies, 40 genera, 70 species (69 species and 1 morphospecies) were identified; including Paratopula macta, which is the first record in northern Thailand. The averages of Shannon-Wiener's diversity indices (H') of ant species were 1.05, 0.90 and 0.77 in IF, CF and TP, respectively, and the averages of Pielou's evenness index (J') was 0.31, 0.28 and 0.26, respectively. Although there was no significant difference in the comparisons of the averages of H' and J' among the 3 study areas (Mann-Whitney U test p<0.05), the highest average values of H' and J' indices in IF indicated that this area may be suitable to support diverse ant species due to the various microhabitats created by human activities. The similarity index of IF/TP (0.70) is the highest, whereas the similarity indices of CF/TP and CF/TF were 0.61 and 0.57, respectively. This might be because both IF and TP areas have been used as agricultural areas. When compared between seasons in each study area, there is significant difference in average indices of H' and J' of ant species between dry and wet seasons in IF (Mann-Whitney U test p<0.05). Moreover, the highest value of similarity index of dry /wet seasons is in IF (0.79), and 0.75 in CF, and 0.69 in TP. The similarity of ant species during dry and wet seasons in TP and IF might be a result from environmental management and human activities, whereas stability of ecosystems might be the important factor that maintain species number of ants inhibiting CF area. Regarding the relationship between environmental factors and abundances of 3 ant species, it was found that A. gracilipes was correlated with soil humidity and soil temperature (Spearman’ correlation p<0.05). Moreover, air temperature, soil temperature, and percentage of ground cover plants were correlated with O. smaragdina abundance (Spearman’ correlation p<0.05). Additionally, air temperature, soil humidity, soil surface temperature, and soil temperature were correlated with T. destructor abundance (Speaman’ correlation p<0.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สัตววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59452 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1537 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1537 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5672131323.pdf | 8.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.