Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59457
Title: ผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นที่มีต่อสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม การทรงตัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ
Other Titles: Effects of basic khon exercise pattern on functional fitness, balance and quality of life in elderly
Authors: ลดาวัลย์ ชุติมากุล
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
ชนัย วรรณะลี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
[email protected]
Subjects: โขน
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
Khon (Dance drama)
Exercise for older people
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นต่อสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม การทรงตัว คุณภาพชีวิตและภาวะกลัวการล้มในผู้สูงอายุไทย รูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นมีคุณภาพผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ มีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.86 ส่วนการทดสอบความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.98 จากนั้นนำรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นมาศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุจำนวน 44 คน อายุ 60-65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้น ใช้เวลา 60 นาทีต่อวัน ความถี่ 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระดับความหนัก 45-55% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง และกลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ทดสอบสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม ได้แก่ การยืนนั่งบนเก้าอี้ การงอแขนยกน้ำหนัก การยืนยกเท้าขึ้นลงในเวลา 2 นาที การนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า การทำมือไขว้หลังแตะกัน การเดินไปกลับระยะ 8 ฟุต และดัชนีมวลกาย ประเมินความสามารถในการทรงตัวประกอบด้วย การทรงตัวขณะยืนอยู่กับที่โดยเครื่อง BioSway และการทรงตัวขณะทำกิจกรรมด้วยแบบประเมินของเบิร์ก ประเมินคุณภาพชีวิตโดยเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย และภาวะกลัวการล้มโดยแบบสอบถาม ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการเปรียบเทียบตัวแปรก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าทีรายคู่ และเปรียบเทียบตัวแปรหลังการศึกษาระหว่างกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นมีสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมดีขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การยืนยกเท้าขึ้นลงในเวลา 2 นาที การนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า การเดินไปกลับระยะ 8 ฟุต และดัชนีมวลกาย แต่การทรงตัวขณะยืนอยู่กับที่และขณะทำกิจกรรม คุณภาพชีวิตและภาวะกลัวการล้มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มควบคุมทุกตัวแปรไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง 12 สัปดาห์พบว่า สมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การยืนนั่งบนเก้าอี้ การยืนยกเท้าขึ้นลงในเวลา 2 นาที การนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า การเดินไปกลับระยะ 8 ฟุต และคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของกลุ่มออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการทรงตัวขณะยืนอยู่กับที่และขณะทำกิจกรรม ภาวะกลัวการล้มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า การออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นทำให้สมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุดีขึ้น โดยส่งผลต่อความแข็งแรงและความอดทนกล้ามเนื้อขา ความอดทนของระบบการไหลเวียนโลหิตและการหายใจ ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อขา การทรงตัวขณะเคลื่อนไหวกับความคล่องแคล่ว และคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ดังนั้น การออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นนี้เหมาะสมและสามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายในการปฏิบัติกิจกรรมและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุได้
Other Abstract: The purposes of this study were to develop and evaluate the effects of basic Khon exercise pattern on functional fitness, balance, quality of life and fear of falling in elderly. The index of congruence (IOC) of basic Khon exercise pattern from the experts was 0.86. The test-retest reliability was 0.98. Forty-four elderly aged 60-65 years old were recruited through senior club. The subjects were divided into two groups: Khon exercise group performed exercise with 45-55% of heart rate reserve, 60 minutes a day, 3 times a week for 12 weeks, and the control group engaged in routine physical activity. The senior fitness test as follows chair stand, arm curl, 2-minute step, chair sit and reach, back scratch, 8-foot up and go and body mass index (BMI), balance capacities included the static postural stability by Biosway and functional balance by Berg balance scale, quality of life by WHOQOL–BREF–THAI and fear of falling by questionnaire were collected before and after 12 weeks. The data were analyzed in terms of mean, standard deviation, paired t-test and ANCOVA with the significant level of 0.05. The result found that Khon exercise group significantly improved from baseline in 2-minute step test, chair sit and reach test, 8-foot up and go test and BMI (p<0.05) but not in balance capacities, quality of life and fear of falling. There were no significant changes in control group. After 12 week, there were significant difference in chair stand test, 2-minute step test, chair sit and reach test, 8-foot up and go test and quality of life in physical domain between the exercise group and the control group (p<0.05) whereas no significant different in balance capacities, and fear of falling. In conclusion: Khon exercise was effective for improved functional fitness in lower limb strength and endurance, aerobic endurance, lower limb flexibility, dynamic balance and agility, and quality of life in physical domain, but it not affect balance capacities, and fear of falling. Therefore, it was suitable and should be used for improved functional fitness and quality of life in physical domain in the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59457
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1238
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1238
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678608539.pdf11.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.