Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59469
Title: | ความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ |
Other Titles: | Intergenerational Family Solidarity among Hill Tribe People in Northern Thailand |
Authors: | วสวัตติ์ สุติญญามณี |
Advisors: | พัชราวลัย วงศ์บุญสิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | ชาวไท ชาติพันธุ์วิทยา Tai (Southeast Asian people) Ethnology |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือรวมถึง 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ และ 3)เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัวในอนาคตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยอาศัยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเริ่มจากการวิจัยเอกสาร นำไปสู่การวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 – มิถุนายน 2559 โดยได้กลุ่มตัวอย่างจากการเก็บแบบสอบถามที่เป็นวัยแรงงาน ในครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง ล่าหู่ และ อาข่า ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน ทั้งสิ้นจำนวน 1,285 คนที่เป็นตัวแทนครัวเรือน และกลุ่มตัวอย่างจากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 50 คนที่มีสถานภาพโสดที่อยู่ในวัยแรงงานช่วงอายุ18-25 ปี ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หลายตัวแปร (Multivariate Analysis) ผสมผสานกับข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญดังนี้ 1) ระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ จากมิติของความเป็นปึกแผ่นใน 4 มิติ คือ ความเป็นปึกแผ่นเชิงหน้าที่ ความเป็นปึกแผ่นเชิงความรู้สึก มิติความเป็นปึกแผ่นเชิงบรรทัดฐาน และความเป็นปึกแผ่นเชิงปฏิสัมพันธ์ร่วม พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่าประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวมมีระดับความเป็นปึกแผ่นมาก โดยกลุ่มชาติพันธุ์ม้งมีระดับสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ล่าหู่ และอาข่า 2) เมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ พบว่าปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ จำนวนบุตรในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว และลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี และสถานภาพการทำงาน มีผลต่อระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ 3) แนวโน้มโครงสร้างครอบครัวในด้านจำนวนบุตรของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือจากอดีตสู่อนาคต พบว่ามีแนวโน้มที่ลดลง 4) เมื่อใช้วิธีสมการถดถอยปัวซอง (Poisson Regression Analysis) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนบุตรในปัจจุบันและความต้องการจำนวนบุตรที่จะมีในอนาคตในครอบครัว พบว่า ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ ลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านมิติความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัว ปัจจัยทางด้านทุนมนุษย์ในส่วนของระดับการศึกษา มีผลต่อจำนวนบุตรในปัจจุบันและความต้องการจำนวนบุตรที่จะมีในอนาคตในครอบครัวของกลุ่มาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาตพันธุ์ จากนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเชิงคุณภาพถึงสาเหตุของการมีบุตรที่ลดลงจากเดิม อันเนื่องจากแนวคิดที่ว่าหากมีบุตรจำนวนมากจะเป็นภาระในการเลี้ยงดู แต่หากอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกหลายรุ่นเป็นครอบครัวขยายก็จะมีความคิดที่จะมีความต้องการบุตรที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถแบ่งเบาในการเลี้ยงดูดูแลบุตร 5) ภาพอนาคตรูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่าภาพอนาคตของครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือสอดคล้องกันทุกกลุ่มชาติพันธุ์ตั้งแต่ ปัจจัยด้านทุนทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับการสมรสการสร้างครอบครัวซึ่งยังคงยึดถือปฏิบัติเป็นจารีตประเพณีที่สำคัญ รวมทั้งความต้องการในการอยู่ร่วมกันหลายรุ่นในครอบครัว ในส่วนปัจจัยความสัมพันธ์และความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ลดลง แต่ยังคงมีความเชื่อเรื่องกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาที่ยังเหนียวแน่นจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนในด้านของปัจจัยทุนมนุษย์ในอนาคตจะมีการย้ายถิ่นมากขึ้นเนื่องจากมีความต้องการในการทำงานที่มีความมั่นคงทางรายได้ รวมไปถึงการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงความต้องการทางด้านทุนทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนในอนาคตโดยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือมีความต้องการให้ภาครัฐขยายปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญเข้ามาสู่ชุมชนเพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้พัฒนาเศรษฐกิจในชุนและสร้างความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวในอนาคตต่อไป |
Other Abstract: | This research aimed to study 1) intergenerational family solidarity among hill tribe people in northern Thailand, 2) The factors determining the intergenerational family solidarity among hill tribe people in northern Thailand. 3) The families’ structures and relationships of hill tribe people in northern Thailand in the future. This research relied on quantitative and qualitative analysis by initially reviewing relevant primary and secondary document lead to survey and qualitative research which carried out from December 2015 to June 2016. A total of 1,285 samples of Karen Hmong and Akha in Chiang Mai, Chiang Rai, Mae Hong Son and Nan who were labor-force age and representing household and the qualitative research was conducted by using in-depth interviews with 50 single aged 18-25 years. Data analysis used multivariate analysis and combined with findings from qualitative research. Results: 1) The level of intergenerational family solidarity among hill tribe people in northern Thailand which from the solidarity in 4 dimensions are Functional Solidarity, Affectual Solidarity, Normative Solidarity and Associative Solidarity was found that in very high level. Hmong had the highest level, followed by Karen, Lahu and Akha. 2) Logistic Regression Analysis showed that social capital (the number of children in the family, number of family members and family structure styles), Ethnic differences, and economic capital (the average Household income per year and work status) determined intergenerational family solidarity among overall and in each ethnic group of hill tribe people in northern Thailand. 3) Family structure in the number of children in family of hill tribe people in the northern Thailand from past to future was found that the trend continued to decline. 4) Poisson Regression Analysis showed that social capital (family members and family structure styles), Ethnic differences, Intergenerational Relationships in family, and human capital (educational level) determined the number of children in family and the demand for the number of children in the future . The researcher made the qualitative analysis for identifying the causes of number of children in family declined which from the ideas were those if there are many children, they would be the burden of parenting but if in the extended family would have an idea of increased need for children because they can be taken care of their children. 5) The future scenarios of hill tribe people in the northern Thailand were consistent across all ethnic groups and were in the same direction in the social capital factor that prioritized to marriage and family formation which continued to be an important custom of their ways of lives including the need to live together in several generations in their families. In terms of relationships and solidarity among future generations, the family changed in the way of living together and meeting less however, there were still the believes in gratitude towards parents which were still steadfast from generation to generation. In terms of human capital, ethnic groups believed that in the future there would be more migration because of the demand for stable income and migration to education for self-development, with the growing needs for education. Also economic capital in the community, there were needs for extending the key elements to their community from the government so that members of the communities can develop their economy and strengthen the solidarity of the family in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ประชากรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59469 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1020 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1020 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pop - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5686956151.pdf | 6.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.