Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59504
Title: อัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของสัตวแพทย์ในสถานพยาบาลสัตว์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Incidence rate and related factors of occupational injury among veterinarians of veterinary clinics in Bangkok
Authors: นภัฐมณ มโนรัตน์
Advisors: สุนทร ศุภพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: สัตวแพทย์ -- โรค
โรคเกิดจากอาชีพ
อาชีวอนามัย
Occupational diseases
Industrial hygiene
Veterinarians -- Diseases
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์และลักษณะของการบาดเจ็บจากการทำงานของสัตวแพทย์ภายใน 1 ปีย้อนหลัง และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของสัตวแพทย์ที่ทำงานในสถานพยาบาลสัตว์ ในกรุงเทพมหานคร โดยแจกแบบสอบถามให้แก่สัตวแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำในสถานพยาบาลสัตว์ ในเขตกรุงเทพมหานครที่ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 395 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact test และ Independent t-test การศึกษานี้พบว่า อัตราอุบัติการณ์การบาดเจ็บที่สำคัญของสัตวแพทย์เท่ากับ 280 ครั้งต่อล้านชั่วโมงการทำงาน หรือ ใน 1 ปี จะมีการบาดเจ็บจนมีข้อจำกัดในการทำงาน หรือหยุดงานหรือต้องไปพบแพทย์ 56.22 ครั้ง เมื่อเทียบกับสัตวแพทย์ที่ทำงานเต็มเวลา 100 คน การบาดเจ็บเกิดจาก สุนัข และแมวกัดมากที่สุด อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ มือ ลักษณะของบาดแผลที่พบมากสุดคือ แผลถลอก และแผลฉีกขาด การบาดเจ็บมักเกิดขึ้นในช่วงการตรวจวินิจฉัย เมื่อบาดเจ็บแล้วสัตวแพทย์ไปพบแพทย์ร้อยละ 69.67 และเกิดข้อจำกัดในการทำงานร้อยละ 56.30 ส่วนผู้ที่บาดเจ็บและจำเป็นต้องหยุดงานมีระยะเวลาหยุดงานเฉลี่ย 3.45 วัน ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บของสัตวแพทย์ ได้แก่ ปีที่จบการศึกษา (p-value = 0.003) อายุ (ปี) (p-value < 0.001) ดัชนีมวลกาย (p-value < 0.001) การเป็นโรคภูมิแพ้ (p-value = 0.001) การนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง (p-value = 0.022) การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง (p-value = 0.003) การออกกำลังกาย (p-value = 0.024) ประเภทของสัตว์ที่สัมผัสในงาน (p-value < 0.001) ประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (p-value < 0.001) ระยะเวลาการทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (p-value = 0.035) การอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน (p-value = 0.038) พฤติกรรมในการทำงาน ได้แก่ มีการจับและควบคุมสัตว์อย่างรัดกุมขณะตรวจหรือทำหัตถการ (p-value = 0.036) ทิ้งเข็มใช้แล้วลงถังขยะสำหรับทิ้งของมีคมสม่ำเสมอ (p-value = 0.01) สภาพแวดล้อม อันได้แก่ ความเพียงพอของผู้ช่วยจับสัตว์ (p-value = 0.01) อุปกรณ์ควบคุมสัตว์ที่เพียงพอ (p-value < 0.001) แสงสว่างในห้องทำงานที่เพียงพอ (p-value = 0.018) ผู้วิจัยแนะนำให้มีการปรับระยะเวลาการทำงานและระยะเวลานอนให้เหมาะสม ร่วมกับสร้างความตระหนัก ให้ความรู้ เพิ่มการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ที่มีประสบการณ์ รวมถึงการเตรียมสถานที่ตรวจให้เหมาะสม น่าจะนำไปสู่การลดอุบัติการณ์การบาดเจ็บในสัตวแพทย์
Other Abstract: This cross-sectional descriptive study was conducted to determine the incidence rate and patterns of occupational injuries and to determine the factors which related to occupational injuries among veterinarians in veterinary clinics in Bangkok. The self-administered questionnaires were distributed to 395 veterinarians who had more than one-year experience in each veterinary clinic. Data were analyzed using Chi-square test, Fisher’s Exact test and Independent t-test Incidence rate of occupational injuries among these veterinarians were 280 events per million man-hours and 56.22 times per 100 full-time veterinarians. The most site of injury was hand. Abrasion and laceration were the most common injuries. Dog and cat bites were the most causes of injuries. Diagnostic process was the major activity associated with injury. Sixty-nine percent of this sample required physician treatment and fifty-six percent needed work restriction. Thus, the mean of work days lost was 3.45 days. Factors related with occupational injuries were age (p-value < 0.001), year of graduation (p-value = 0.003), BMI (p-value < 0.001), allergic problem (p-value = 0.001), sleep less than 7 hours (p-value = 0.022), drowsy pills (p-value = 0.003), exercise (p-value = 0.024), type of practice (p-value < 0.001), year in practice (p-value < 0.001), working time more than 40 hours per week (p-value = 0.035), safety training required (p-value = 0.038), careful animal restraint (p-value = 0.036), always using safety bin (p-value = 0.01), adequate assistants (p-value = 0.01), adequate animal restrained equipment (p-value < 0.001), and adequate ambient light (p-value = 0.018). According to the results from this research, the incidence rate of occupational injury among veterinarians could be reduced by appropriated adjustment of working and resting period, increasing awareness and knowledge transfer experience. Moreover, working area should be properly prepared.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59504
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.751
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.751
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774038130.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.