Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59646
Title: | การประเมินหลังการใช้งานเพื่อพัฒนาพื้นที่ลานหน้าวัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม |
Other Titles: | POST OCCUPANCY EVALUATION FOR DEVELOPMENT OF PUBLIC OPEN SPACE OF WAT PHRA THAT PHANOM, AMPHOE THAT PHANOM, CHANGWAT NAKHON PHANOM |
Authors: | วงศ์วรารัตน์ วัตตะโส |
Advisors: | ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์ นิลุบล คล่องเวสสะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | พื้นที่สาธารณะ -- ไทย -- นครพนม การใช้ที่ดิน -- ไทย -- นครพนม Public spaces -- Thailand -- Nakhon Panom Land use -- Thailand -- Nakhon Panom |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การประเมินหลังการใช้งานเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ศึกษาพื้นที่ที่มีการออกแบบและเกิดการใช้งานแล้วว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบและมีปัญหาเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด พื้นที่ศึกษา คือ ลานหน้าวัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม ทำให้ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์เรื่อยมาและในครั้งล่าสุดเมื่อปี 2554 เปิดให้มีการใช้งานในปี 2559 ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการประเมินหลังการใช้งาน พื้นที่ลานหน้าวัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และเสนอเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ลานหน้าวัดพระธาตุพนมในครั้งต่อไป การเก็บข้อมูลได้จากการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ การสอบถามคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมีประเด็นการวิเคราะห์ 4 ด้าน คือ ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ด้านนันทนาการและการพักผ่อน ด้านการท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ผลการศึกษาพบว่า สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ การสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ของพระธาตุพนม และการพัฒนาปรับปรุงในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการใช้งานและการเข้าถึง ด้านที่พบว่าได้รับความพึงพอใจเป็นส่วนใหญ่ คือ ด้านนันทนาการและการพักผ่อน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อพื้นที่และกิจกรรมที่ได้จัดเตรียมไว้ เพียงต้องเพิ่มร่มเงาในบางบริเวณ ในด้านการท่องเที่ยว ได้รับความนิยมและความพึงพอใจจากทั้งนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น การใช้พื้นที่และกิจกรรมสามารถสอดคล้องกันไปในแนวทางที่ดี เพียงต้องเพิ่มการแนะนำให้เป็นที่รู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ให้ดียิ่งขึ้น |
Other Abstract: | This thesis studies Phra That Panom temple’s public space in That Panom district, Nakhon Panom province, using Post-occupancy evaluation (POE), the process to analyze the completely designed and actively occupied space, in order to evaluate whether the design reach its objectives and to determine how many problems have occurred, since Phra That Panom has been constantly changed with the latest renovation in 2011 and reopening in 2017. The objectives of this research to evaluate Phra That Panom’s after-occupancy conditions, and to make a guideline for further site improvement and development. The research method uses literature review, observation, survey both on local people and tourists, and interview of the associated authorities in order to study 4 issues; history and culture, recreation/relaxation, tourism, and facilities. The result shows that the first issue needed to be concerned is history and culture. It is necessary to raise awareness and realization of the Phra That Panom’s importance, improve its facilities, and create user-friendly and accessible environment. The issue that receives most satisfactory from users is recreation/relaxation, which the functional efficiency has reached the requirement of the users but suggestively need more shading area. The tourism issue also receives a good feedback from both local people and tourists in terms of consistency between functions and activities, with the need of additional informative design elements. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภูมิสถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59646 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1176 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1176 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873326825.pdf | 5.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.