Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59670
Title: การศึกษาประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง
Other Titles: A STUDY OF SYMPTOM EXPERIENCES, AND SYMPTOM MANAGEMENT STRATEGIES AMONG END STAGE RENAL DISEASE PATIENTS RECEIVING CONTINUOUS AMBULATORY PERITONEAL DIALYSIS
Authors: ปฏิวัติ คดีโลก
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ไต -- โรค
Continuous ambulatory peritoneal dialysis
Kidneys -- Diseases
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์การมีอาการใน 4 มิติ (มิติการเกิดอาการ มิติความถี่ มิติความรุนแรง และมิติความทุกข์ทรมาน) 2) กลวิธีการจัดการอาการ และ 3) เปรียบเทียบประสบการณ์การมีอาการทั้ง 4 มิติ (ภาระอาการ) จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ โรคร่วม ระยะเวลาในการล้างไตทางช่องท้อง ระดับของฮีโมโกลบิน บียูเอ็น ครีเอตินิน อัลบูมิน แคลเซียม ฟอสเฟต และความพอเพียงของการล้างไต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มารับบริการ ณ หน่วยบริการล้างไตผ่านทางช่องท้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง จำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และแบบสอบถามกลวิธีการจัดการอาการ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามอาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและแบบสอบถามกลวิธีการจัดการอาการ เท่ากับ 0.97 และ 0.94 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามอาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั้ง 4 มิติ เท่ากับ 0.77, 0.83, 0.84, และ 0.86 ตามลำดับ ส่วนของแบบสอบถามกลวิธีการจัดการอาการทั้ง 2 มิติ คือ การเลือกปฏิบัติกลวิธีการจัดการอาการและประสิทธิผลของกลวิธีการจัดการอาการ เท่ากับ 0.73 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1. อาการที่ผู้ป่วยรายงานมิติการเกิดอาการและมิติความถี่มากที่สุด คือ อาการผิวแห้ง (ร้อยละ 78.1) (mean ± SD = 7.65 ± 2.83) ส่วนอาการที่ผู้ป่วยรายงานมิติความรุนแรงและมิติความทุกข์ทรมานมากที่สุด คือ อาการคัน (mean ± SD = 5.04 ± 2.76, 4.75 ± 2.60 ตามลำดับ) 2. กลวิธีการจัดการอาการที่ผู้ป่วยเลือกใช้มากที่สุดและมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากขึ้นไป 5 อันดับแรกคือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกหมักดอง นั่งหรือนอนพักผ่อน รับประทานอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม (ร้อยละ 91.0, 89.3, 87.6, 87.6, 87.6 และ 85.4 ตามลำดับ) (mean ± SD = 3.70 ± 0.82, 3.85 ± 0.77, 3.71 ± 0.69, 3.74 ± 0.77, 4.03 ± 0.82 และ 3.74 ± 0.81 ตามลำดับ) 3. การรับรู้ภาระอาการแตกต่างกันตามเพศ อายุ และระดับอัลบูมินที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ป่วยเพศหญิงรับรู้ภาระอาการมากกว่าเพศชาย อายุ 20-24 ปี รับรู้ภาระอาการมากกว่า อายุ 35-59 ปี และ 25-34 ปี ระดับอัลบูมินในเลือดต่ำรับรู้ภาระอาการมากกว่าระดับอัลบูมินในเลือดปกติ ส่วนโรคร่วม ระยะเวลาในการล้างไตทางช่องท้อง ระดับฮีโมโกลบิน บียูเอ็น ครีเอตินิน แคลเซียม ฟอสเฟต และความพอเพียงของการล้างไตที่แตกต่างกัน รับรู้ภาระอาการไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: This survey research aimed to 1) study symptom experiences in 4 dimensions (presence, frequency, severity, distress) 2) study symptom management strategies and 3) compare symptom experiences in all 4 dimensions (symptom burden) across gender, age, comorbidity, duration of CAPD, and levels of hemoglobin, BUN, creatinine, albumin, calcium, phosphate, and adequacy of CAPD. 178 patients with ESRD receiving CAPD was recruited from two peritoneal dialysis service centers at National Health Security Office in Bangkok. The instruments were the demographic data questionnaire, the CKD-SB (CVI = 0.97), and the symptom management strategies questionnaire (CVI = 0.94). The Cronbach’s alpha coefficients of the CKD-SBI in 4 dimensions were 0.77, 0.83, 0.84, and 0.86, respectively, and the symptom management strategies questionnaire in using and effective dimension were 0.73 and 0.80, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test, Mann-Whitney U test, and one way ANOVA. The findings were as follows: 1. Patients with ESRD receiving CAPD reported “dry skin” as the most symptom presence and symptom frequency (78.1%) (mean ± SD = 7.65±2.83). They also reported “itching” as the most symptom severity and symptom distress (mean ± SD = 5.04±2.76 and 4.75±2.60, respectively). 2. The top 5 strategies patients used to manage symptoms effectively were avoiding pickled foods of 91%, having a rest by sitting or lying down of 89.3%, consuming high quality proteins foods of 87.6%, avoiding alcohols of 87.6%, taking prescribed medicine of 87.6%, and avoiding salty foods of 85.4% (mean ± SD = 3.70±0.82, 3.85±0.77, 3.71±0.69, 3.74±0.77, 4.03±0.82 and 3.74±0.81, respectively) 3. Symptom burden perception among these patients was significantly different by gender, age, and albumin level at the level of 0.05. Females perceived more symptom burden than males. Patients with 20-24 yrs. perceived more symptom burden than those with 35-59 yrs. and 25-34 yrs. Patients with low albumin levels perceived more symptom burden than those with normal albumin level. No significant differences in symptom burden perception were found in patients with differences across comorbidity, duration of CAPD, and levels of hemoglobin, BUN, creatinine, calcium, phosphate, and adequacy of CAPD.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59670
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1094
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1094
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877178036.pdf12.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.