Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5979
Title: | การเปรียบเทียบระหว่างวิธีรักษาทางจิตเวชมาตรฐาน กับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับวิธีรักษาทางจิตเวชมาตรฐาน ในผู้ป่วยโรควิตกกังวล |
Other Titles: | A comparative study between converntional treatment versus muscle relaxation training combined with conventional treatment in generalized anxiety disorder (GAD) patients |
Authors: | ทิภาพร อังคกุล |
Advisors: | นันทิกา ทวิชาชาติ เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ความวิตกกังวล ผู้ป่วยจิตเวช จิตบำบัด |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิธีรักษาทางจิตเวชมาตรฐาน กับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับวิธีรักษาทางจิตเวชมาตรฐาน ในผู้ป่วยโรควิตกกังวลชนิด GAD (Generalized Anxiety Disorder) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยโรควิตกกังวลชนิด GAD ซึ่งมารับการรักษาที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากผู้วิจัยจำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ร่วมกับการรักษาทางจิตเวชมาตรฐาน คือ การบำบัดด้วยยา และการทำจิตบำบัดแบบประคับประคอง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แต่ได้รับการรักษาทางจิตเวชมาตรฐานตามปกติจากจิตแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดระดับความวิตกกังวลของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังการทดลอง คือ เครื่องมือ อี เอ็ม จี ไบโอฟีดแบค แบบวัดความวิตกกังวลของซุง และแบบวัดความวิตกกังวลของแฮมมิลตัน การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบระดับ อี เอ็ม จี คะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของซุง และคะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของแฮมมิลตัน ก่อนและหลังการทดลองโดยใช้ Paired t-test และเปรียบเทียบระดับ อี เอ็ม จี คะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของซุง และคะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของแฮมมิลตัน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้ Unpaired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กลุ่มทดลองมีระดับ อี เอ็ม จี คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของซุง และค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวล ของแฮมมิลตันน้อยกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. กลุ่มควบคุมมีระดับ อี เอ็ม จี หลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของซุง และค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของแฮมมิลตัน หลังการทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. กลุ่มทดลองซึ่งได้รับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อมีระดับ อี เอ็ม จี และคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของแฮมมิลตัน น้อยกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลจากแบบวัดความวิตกกังวลของซุง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | To compare between conventional treatment versus muscle relaxation training combined with conventional treatment in Generalized Anxiety Disorder (GAD) patients. The sample were 30 Generalized Anxiety Disorder (GAD) patients who attended Chulalongkorn psychiatric clinic, those who were divided into experimental group and control group with 15 patients in each group. The experimental group received muscle relaxation training for 8 sessions, two times weekly for four weeks from the researcher combined with conventional treatment (that mean doses and supportive psychotherapy). Muscle relaxation training was not administered to the control group, who received only conventional treatment from the psychiatrists. The instruments used to measure anxiety level were EMG biofeedback, Zung's Anxiety Rating Scale and Humilton Anxiety Rating Scale (HAS). The data were analyzed by using paired t-test and unpaired t-test. The results indicated that: 1. After muscle relaxation training, the average mean EMG level, the anxiety score from Zung's Anxiety Rating Scale and HAS of the experimental group were significantly lower than prior to this training at the .01 level. 2. The average mean EMG level of control group was not significantly different at the .05 level. The anxiety score from Zung's Anxiety Rating Scale and HAS were significantly lower at the .01 level. 3. The average mean EMG level and the anxiety score from HAS which receive muscle relaxation training of the experimental group were significantly lower than those of the control group at the .01 level, the anxiety score from Zung's Anxiety Rating Scale was significantly lower at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5979 |
ISBN: | 9743466347 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tipaporn.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.