Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59815
Title: | ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย |
Other Titles: | Prevalence of White Coat and Masked Hypertension Among Thai Hypertensive Patients : an Analysis of TeleHealth Assisted Intervention in Home Blood Pressure Monitoring (THAI HBPM) Nationwide Pilot Project |
Authors: | สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์ |
Advisors: | สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | ความดันเลือดสูง Hypertension |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงแนะนำการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงแบบหลบซ่อน โดยใช้ระดับความดันโลหิตที่บ้านในการวินิจฉัยด้วยระบบสาธารณสุขทางไกล วิธีดำเนินการ: ทำการศึกษาในคลินิกความดันโลหิตสูงจากทั่วประเทศไทย วัดความดันโลหิตที่บ้านโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านชนิดเชื่อมต่อระบบระบบสาธารณสุขทางไกล เก็บข้อมูลระดับความดันโลหิตที่คลินิก ระดับความดันโลหิตที่บ้าน และข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย ทำการวินิจฉัยชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงตามระดับความดันโลหิตที่คลินิก (≥ หรือ <140/90 มิลลิเมตรปรอท) และระดับความดันโลหิตที่บ้าน (≥ หรือ <135/85 มิลลิเมตรปรอท) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 1,184 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 25.7% และ 6.9% ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 23.3% และ 9.6% สรุป: ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบสูงถึงหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยในคลินิก การวัดระดับความดันโลหิตที่บ้านด้วยระบบสาธารณะสุขทางไกลเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ดีขึ้น |
Other Abstract: | Background: Recent guidelines recommended the monitoring of home blood pressure (HBP) for the diagnosis and management of white-coat hypertension (HT), masked HT, HT with white-coat effect and HT with masked effect. Objectives: To investigate the prevalence and characteristics of HT subtypes using HBP measurement with telehealth-assisted technology. Methods: We conducted a prospective study in HT clinics. Adult hypertensive patients were enrolled and instructed to measure HBP using the telehealth HBP machine. The HBP, clinic blood pressure, and clinical data were obtained and recorded in the web-based system. Hypertension subtypes were classified according to the treatment status, CBP (≥ or <140/90 mmHg) and HBP (≥ or <135/85 mmHg). Results: A total of 1,184 patients were enrolled. In the untreated patients, the prevalence of white-coat HT and masked HT were 25.7% and 6.9%. In the medically treated patients, the prevalence of hypertension with white-coat effect and HT with masked effect were 23.3% and 9.6%, respectively. Conclusions: Almost one fourth of Thai hypertensive adults were found to have white-coat HT. The HBPM with the web-based system is a valuable tool for screening, diagnosis and long-term blood pressure control in hypertensive patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59815 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1634 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1634 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5974102830.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.