Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59871
Title: ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: EFFECTS OF PHYSICAL EDUCATION LEARNING MANAGEMENT IN TRACK APPLYINGCIPPA MODEL PRINCIPLE WITH MOTIVATION THEORY ON PHYSICAL FITNESS, SKILLS, AND ATTITUDE FOR HEALTHY RUNNING OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: ธวัชชัย รักขติวงษ์
Advisors: บัญชา ชลาภิรมย์
รุ่งระวี สมะวรรธนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
กรีฑาประเภทลู่
สมรรถภาพทางกาย
การวิ่ง
Physical education and training -- Study and teaching
Track and field
Physical fitness
Running
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 90 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 44 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจ และกลุ่มควบคุม จำนวน 46 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย แบบวัดทักษะการวิ่งเพื่อสุขภาพ และแบบวัดเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were: 1) to compare the average of physical fitness test results, skills and attitude scores for healthy running of the experimental and the control groups before and after implementation, and 2) to compare the average of physical fitness test results, skills and attitude scores for healthy running between the experimental and the control groups after implementation. The sample was 90 of the 8th grade students from a school in Phetchabun province. They were divided in to two groups, 44 students were assigned to the experimental group to study under the physical education learning management in track applying CIPPA model principle with motivation theory, while the other 46 students in the control group were assigned to study with conventional teaching methods. The research instruments were comprised of 8 learning activity plans applying CIPPA model principle with motivation theory, physical fitness test, skill for healthy running test and attitude for healthy running test. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1) The average of physical fitness test results, skills and attitude scores for healthy running of the experimental group after the treatment were significantly higher than before at a .05 level. The average of physical fitness test results of the control group after learning were significantly higher than before learning at a .05 level and The average score of skill and attitude for healthy running after learning were found with no significant differences than before at a 05 level. 2) The average of physical fitness test results, skills and attitude scores for healthy running of the experimental group after the treatment were found with significantly higher than the control group at a .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59871
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1570
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1570
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983920227.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.