Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59924
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เทพี จรัสจรุงเกียรติ | - |
dc.contributor.advisor | วิภาส โพธิแพทย์ | - |
dc.contributor.author | ประไพพรรณ พึ่งฉิม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T06:03:38Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T06:03:38Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59924 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้มี 3 ประการคือ เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบการสื่อสารของปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทยตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร 2) โครงสร้าง องค์ประกอบปริจเฉท และกลวิธีการกู้ภาพลักษณ์ในปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทย และ 3) ความคิดความเชื่อและค่านิยมในสังคมไทยที่สะท้อนจากกลวิธีการกู้ภาพลักษณ์ในปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากคลิปวิดีโอการแถลงข่าวของบุคคลในวงการบันเทิงไทยที่สื่อมวลชนได้บันทึกไว้และเผยแพร่สู่สาธารณชน แนวทางการศึกษาคือปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (Hymes, 1974) เป็นกรอบในการวิเคราะห์องค์ประกอบของการสื่อสาร ส่วนการวิเคราะห์กลวิธีที่ใช้ในการแถลงข่าว ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีการกู้ภาพลักษณ์ (Benoit, 1995) มาเป็นแนวทางการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังได้นำแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการขอโทษมาใช้วิเคราะห์ชุดวัจนกรรมการขอโทษที่ปรากฏในปริจเฉทการแถลงข่าวด้วย ผลการศึกษาองค์ประกอบการสื่อสารของปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทยตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารแสดงให้เห็นว่า ผู้ร่วมเหตุการณ์การสื่อสาร จุดมุ่งหมาย และบรรทัดฐานของการตีความและปฏิสัมพันธ์ถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก โครงสร้าง องค์ประกอบปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทยแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) ส่วนเปิด 2) ส่วนเนื้อเรื่อง และ 3) ส่วนปิด แต่ละส่วนมีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันรวมทั้งมีลำดับการเกิดที่แสดงความเป็นปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทยที่มีลักษณะเฉพาะ ผลการศึกษากลวิธีการกู้ภาพลักษณ์พบว่า มีกลวิธีหลัก 5 กลวิธี ได้แก่ การปฏิเสธ การลดความรับผิดชอบ การลดข้อขุ่นข้องหมองใจ การแสดงความยินยอมแก้ไข และการยอมรับผิดและการขอโทษ ทุกกลวิธีสามารถใช้เพื่อจุดมุ่งหมายชี้แจง กู้ภาพลักษณ์ และขอโอกาส อย่างไรก็ดีแต่ละกลวิธีมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ทำให้มีความถี่ของการปรากฏที่แตกต่างกัน กลวิธีหลักที่ปรากฏพบมากที่สุดคือการลดข้อขุ่นข้องหมองใจ แสดงให้เห็นว่าผู้แถลงข่าวมีความเชื่อว่าหากสามารถลดความรู้สึกขุ่นข้องหมองใจของผู้ฟังได้ ภาพลักษณ์ที่เสียไปก็น่าจะกู้คืนกลับมาได้บ้าง เมื่อพิจารณากลวิธีย่อยของกลวิธีการลดข้อขุ่นข้องหมองใจ จะเห็นว่าการเสนอมุมมองใหม่เป็นกลวิธีที่พบมากที่สุด เนื่องจากเมื่อใช้กลวิธีนี้ ผู้แถลงข่าวสามารถนำเสนอมุมมองของเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นให้เป็นไปในทางบวก เมื่อไม่สามารถปฏิเสธเรื่องที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากมีหลักฐานชี้ชัด มุมมองใหม่จะช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพผู้แถลงข่าวต่างไปจากที่ได้เห็นจากการรายงานข่าว กลวิธีหลักการยอมรับผิดและการขอโทษพบเป็นอันดับ 2 แสดงให้เห็นว่าวัตถุประสงค์หลักของการจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์อื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทยไม่ใช่การแสดงความสำนึกผิด เมื่อพิจารณากลวิธีย่อยของการยอมรับผิดและการขอโทษในลักษณะที่เป็นชุดวัจนกรรมแล้วจะพบว่า การอธิบายปรากฏมากเป็นอันดับ 2 รองจากการใช้ถ้อยคำแสดงวัจนกรรมการขอโทษ แสดงให้เห็นว่าการขอโทษของบุคคลในวงการบันเทิงไทยเป็นการกล่าวถ้อยคำเพื่อนำไปสู่การอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแบบที่จะช่วยกู้ภาพลักษณ์ให้ตนเองได้ ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทย ได้แก่ ความคิดเรื่องการให้อภัย ความคิดเรื่องระบบอุปภัมภ์และบุญคุณ ความคิดเรื่องผู้ใหญ่-ผู้น้อย (ระบบอาวุโส) ความคิดเรื่องความกตัญญูรู้คุณ ความคิดเรื่องการรักษาบทบาทตามสถานภาพทางเพศ ความคิดดังกล่าวล้วนสัมพันธ์กับความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม กล่าวคือ เมื่อข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์อื้อฉาว กลวิธีการแถลงข่าวที่บุคคลในวงการบันเทิงไทยใช้ล้วนแสดงให้เห็นว่าผู้พูดในปริจเฉทนี้คำนึงถึงบรรทัดฐานของกลุ่มหรือสังคม และตระหนักเรื่องการถูกประเมินค่าจากบุคคลแวดล้อมมากกว่าการแสดงความสำนึกผิดและรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิด | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are to study 1) The components of the discourse of press conferences on Thai entertainers’ scandals in terms of the ethnography of communication 2) The structure, discourse structure and image restoration strategies in press conferences on Thai entertainers’ scandals, and 3) Ideas, beliefs and values in Thai society reflected by image restoration strategies in press conferences on Thai entertainers’ scandals. The data used in this research is compiled from video clips of press conferences given by Thai personalities in the entertainment business recorded by the media and disseminated to the public. The research makes use of discourse analysis and pragmatics theories and also avails of the theory of ethnography for communication (Hymes, 1974) as its analytical framework. In terms of analyzing typology of image restoration strategies in press conferences Benoit’s image restoration theory (Benoit, 1995) is employed. Moreover, theories concerning apologies are also brought in to analyze speech act sets of apologies apparent in press conference discourses. The result of the study concerning the communication of the discourse of press conferences on Thai entertainers’ scandals in accordance with the ethnography of communication demonstrate that participants, ends and norms of interaction and interpretation can be considered to rank most importantly. The structure of the components of the discourse of press conferences for Thai entertainers’ scandals can be divided into three main parts 1) the opening 2) the main story and 3) the closing. There are components in each part that are related to each other and have a sequence of occurrence that shows how press conferences for Thai entertainers’ scandals have features that are unique. The study on the image restoration theory finds there are five main strategies i.e. denial, evasion of responsibility, reducing offensiveness, corrective action and mortification. All of these strategies may be used with the objective for explanation, image restoration and asking for another opportunity. Nevertheless, each of these strategies has its strength and weaknesses resulting in the frequency of appearances. The main strategy found most frequently is that of reducing offensiveness by showing that the person giving the press conference believes that he or she believes that if offensiveness can be reduced then there is a possibility that the image lost could somehow be restored in some way or other. Considering some of the minor strategies of the offensiveness reduction strategy it becomes apparent that the introduction of a new perspective is the strategy most frequently found. This is because when using this strategy, the person giving the press conference may be able to introduce another perspective of the scandal that occurred but from a more positive manner. When he or she finds it impossible to deny the matter since there is clear evidence the new perspective will enable the listener to perceive the person differently than what he or she sees from news reports. The main strategy of mortification is found to rank second which shows that the main objective of the press conference on scandals for persons in the Thai entertainment does not concern any demonstration of guilt. When considering the minor strategy of acceptance and apology an explanation appears more as the second-most frequent strategy used after the use of illocutionary force indicating device. This shows that apologies made by Thai entertainment personalities is meant as a way to explain the occurrence in such a way that would help to restore the person’s image. Social and cultural factors that have an effect on the discourse of press conferences on Thai entertainers’ scandals are the concept of forgiveness, the concept of patronage and debt of gratitude, the concept of seniority, the concept of gratitude and the concept of maintaining one’s roles in accordance with one’s gender status. These concepts are all related to social collectivism in that when a person becomes involved in a scandalous occurrence the strategies used by Thai entertainers in giving press conferences show that the speaker in this discourse takes into account the norms of their group or society and realizes how they are being assessed by those around them even. This is more important than showing mortification and being accountable or responsible for the said occurrence | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1150 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | วจนะวิเคราะห์ | - |
dc.subject | วัจนปฏิบัติศาสตร์ | - |
dc.subject | การสัมภาษณ์ | - |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.subject | Discourse analysis | - |
dc.subject | Interviewing | - |
dc.subject | Pragmatics | - |
dc.title | ปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทย:การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ | - |
dc.title.alternative | THE DISCOURSE OF PRESS CONFERENCES ON THAI ENTERTAINERS' SCANDALS: A DISCOURSE ANALYTICAL AND PRAGMATIC STUDY | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected] | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1150 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5580510722.pdf | 7.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.