Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณระพี สุทธิวรรณ-
dc.contributor.authorทยิดา ธนโชติวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:10:59Z-
dc.date.available2018-09-14T06:10:59Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60204-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินพัฒนาการทางอารมณ์ในทารกไทยวัย 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลหลักและทารกอายุ 12 เดือน ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 30 คู่ และ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่30 คู่ เครื่องมือที่พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ชุดเครื่องมือประเมินการแสดงอารมณ์ทารก คือ Laboratory Temperament Assessments Battery (Lab-TAB) และแบบประเมินพฤติกรรมทารกที่ประเมินโดยผู้ปกครอง คือ Mini Infant Behavior Questionnaire (IBQ) – Thai version ผลการวิจัยพบว่า ชุดเครื่องมือLab-TAB มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในระดับดีมาก คือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intra-class Correlation Coefficient) อยู่ระหว่าง.96 ถึง .99 ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงสอดคล้องระหว่างชุดเครื่องมือLab-TAB และแบบประเมิน Mini IBQ -Thai version พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ของการประเมินอารมณ์สนุกสนาน อารมณ์เพลิดเพลิน การยิ้มการหัวเราะ อารมณ์กลัว และอารมณ์โกรธอยู่ในระดับ .39 - .76 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยเมตริกซ์หลายคุณลักษณะวิธี (Multitrait-Multimethod Matrix; MMTM) พบว่าชุดเครื่องมือ Lab-TAB และแบบประเมิน Mini IBQ -Thai version มีความตรงเชิงสอดคล้องและความตรงเชิงจำแนก (convergent and discriminant validity) อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความแผ่ขยาย (Generalizability) ของชุดเครื่องมือ Lab-TAB ระหว่างกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เครื่องมือนี้สามารถใช้ประเมินทารกวัย 12 เดือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ได้ด้วยผลคะแนนที่ไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to develop and validate a set of tools for emotional assessment of Thai infants aged 12 months. Participants were 30 dyads of parents/caregivers and infants in Bangkok metropolis, and 30 dyads in Chiangmai. The instruments developed and validated in this study were the Thai version of Laboratory Temperament Assessments Battery (Lab-TAB) and Mini Infant Behavior Questionnaire (IBQ) – Thai version. The psychometric properties of the Lab-TAB were reported with high inter-rater reliability among 3 assessors. The Intra-class correlation coefficients werebetween .96 - .99. Lab-TAB showed convergent validity with Mini IBQ - Thai version in all 5 emotionals assessments (i.e. high pleasure, low pleasure, smile and laugh, fear, and anger) with the coefficients ranging from .39 to .76. Furthermore, correlation coefficients in the Multitrait-Multimethod Matrix generally supported convergent and discriminant validity of Lab-TAB. No difference between infants in urban areas of Bangkok metropolis and Chiangmai was observed, which could be the supporting evidence for the generalizability of the Lab-TAB.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.804-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินอารมณ์ทารกไทย วัย 12 เดือน-
dc.title.alternativeDevelopment and validation of emotion assessments for Thai infants aged 12 months-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.804-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977614338.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.