Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60223
Title: | การประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้และการวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครู |
Other Titles: | APPLICATION OF UX RESEARCH AND DESIGN-BASED RESEARCH TO DEVELOP A PROTOTYPE OF TEACHERS’ COLLABORATIVE RESEARCH LEARNING ENHANCEMENT |
Authors: | ธนาภา งิ้วทอง |
Advisors: | สุวิมล ว่องวาณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เป็นที่รับรู้ว่าการวิจัยแบบร่วมมือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันของครูเพื่อแก้ไขปัญหาของผู้เรียน รวมทั้งยังช่วยพัฒนาคุณลักษณะของครูผู้ทำวิจัยอีกด้วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ประสบการณ์ของครูและความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครูโดยใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ (2) พัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครูโดยใช้ผลการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้และการวิจัยอิงการออกแบบ และ (3) สำรวจผลการใช้ต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครูที่มีต่อการเรียนรู้และเจตคติต่อการวิจัยแบบร่วมมือโดยการใช้การสำรวจกับตัวอย่างวิจัยที่เป็นครูในโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 442 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์คอนจอยท์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. จากมิติของประสบการณ์ผู้ใช้ (ครู) ด้านการทำวิจัยแบบร่วมมือ 5 ด้าน ได้แก่ บทบาท อารมณ์ การรับรู้ เจตคติ และพฤติกรรม พบว่ามิติด้านอารมณ์และการรับรู้เป็นมิติสำคัญที่สะท้อนประสบการณ์ของครูในการทำวิจัยแบบร่วมมือของครู และครูมีความต้องการการส่งเสริมจากโรงเรียนด้านการสนับสนุนจากโรงเรียน การมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา และวิธีการทำงานของครู 2. ผลการวิจัยเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้นำไปสู่การพัฒนาหลักการออกแบบซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญ 3 ด้าน แต่ละด้านมีทางเลือกสำหรับใช้ในการออกแบบต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือ ได้แก่ “การสร้างทีมในการทำวิจัย” (การรวมตัวแบบสมัครใจหรือแบบบังคับ) ด้านที่สอง “ประเภทของบุคคลที่เป็น พี่เลี้ยงในการทำวิจัย” (ผู้บริหาร เพื่อนครู หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก) และด้านที่สาม “วิธีการทำงานของครู” (การทำงานตามข้อตกลงร่วมกันหรือไม่มีข้อตกลง) ส่วนผสมของคุณลักษณะที่กำหนดในหลักการออกแบบทำให้ได้ต้นแบบฯ ทั้งหมด 12 ต้นแบบที่มีลักษณะต่างกัน 3. จากต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือจำนวน 12 ต้นแบบ ต้นแบบที่ครูพึงพอใจมากที่สุดเป็นอันดับแรก (ประมาณร้อยละ 19) ได้แก่ ต้นแบบที่มีส่วนผสมของวิธีการสร้างทีมโดยการรวมตัวของครูแบบสมัครใจ และไม่มีข้อตกลงในการทำงานภายใต้พี่เลี้ยงที่เป็นเพื่อนครูในโรงเรียน แต่ต้นแบบที่มีประสิทธิผลต่อการเรียนรู้และ เจตคติต่อการวิจัยแบบร่วมมือสูงกว่าต้นแบบอื่น คือ การรวมตัวแบบบังคับให้ทำวิจัยแบบร่วมมือตามนโยบายของโรงเรียน และมีข้อตกลงร่วมกันในการทำงานภายใต้เพื่อนครูหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นพี่เลี้ยง |
Other Abstract: | Collaborative research is widely recognized as effective tool for enhancing teachers to collaboratively work together to solve students’ learning problems. Also, it takes part in developing characteristics of teachers who conduct research. This research aimed to: 1) analyze experiences of teachers and needs of teachers’ collaborative research learning by using user experience (UX) research; 2) develop design principles and prototypes to enhance teachers’ collaborative research learning by using results from the UX research and design-based research; and 3) investigate results of using the prototypes to enhance teachers’ collaborative research learning, via a survey. A group of 442 school teachers in Bangkok was selected by multistage random sampling. The developed prototypes were taken to survey their intended preferability. Quantitative data from the survey were analyzed by descriptive statistics and conjoint analysis. The key findings were as follows: 1) Based on 5 dimensions of teachers’ experiences in collaborative research, i.e. role, emotion, perception, attitude, and behaviours, the UX research revealed that emotion and perception were key dimensions of teachers’ experiences in conducting collaborative research; and teachers’ needs in collaborative research enhancement were school support, research mentors, and team working management. 2) Based on the results of UX research and documentary study, the design principles were developed, which in turns identify three characteristics with alternative options for developing the prototypes: research team formation (voluntary or compulsory), type of mentor (school administrator, teacher peers, or external experts), and working style (work with or without commitment). The developed deign principles led to 12 prototypes with different combined features. 3) Among the twelve prototypes, the prototype with working together voluntarily and flexibly under teacher peers’ mentoring generally satisfies the needs of teachers very well (19% of teachers), while other prototypes may be preferred in other contexts. In additions, the more effective prototype affecting learning and attitudes towards collaborative research was the one with compulsively and committedly working under teacher peers or external experts as research mentors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60223 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1287 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1287 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983378127.pdf | 4.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.