Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60280
Title: | การจัดการพลังงานในอาคารเรียน กรณีศึกษา อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
Other Titles: | ENERGY MANAGEMENT IN ACADEMIC BUILDING CASE STUDY OF SOCIAL SCIENCE BUILDING AT THAMMASAT UNIVERSITY RANGSIT CAMPUS |
Authors: | ปนิดา ตะสิทธิ์ |
Advisors: | วิทยา ยงเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการจัดการพลังงานในอาคารเรียนโดยใช้ อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นกรณีศึกษา อาคาร มีพื้นที่ใช้งานทั้งหมด 22,222 ตารางเมตร มีคนใช้งาน 13,000 คนต่อวัน และทำงานในวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. การศึกษานี้มุ่งเน้นที่ระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยเก็บข้อมูลการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและตรวจวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ก่อนการปรับปรุง เพื่อหามาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะทำให้อาคารมีการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ จากนั้นวิเคราะห์ผลการประหยัดพลังงานจากมาตรการที่กำหนดเพื่อหาความคุ้มค่าในการลงทุน จากผลงานวิจัยในปี 2559 อาคาร มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ทั้งหมด 7,152,840 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 31,336,591 บาทต่อปี และมีดัชนีการใช้พลังงานตลอดปี 322 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตร สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ประกอบด้วย ระบบปรับอากาศ 68 เปอร์เซ็นต์ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 30 เปอร์เซ็นต์ และระบบอื่นๆ 2 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิเคราะห์ได้มาตรการอนุรักษ์พลังงาน 3 มาตรการ ได้แก่ (1) เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอด LED มีระยะเวลาคืนทุน 2.3 ปี (2) เปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นใหม่ 1 เครื่อง มีระยะเวลาคืนทุน 15.1 ปี และ (3) ติดตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อปรับความเร็วรอบที่เครื่องสูบน้ำเย็นมีระยะเวลาคืนทุน 0.7 ปี สรุปรวมผลการจัดการการใช้พลังงานในอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ทุกมาตรการ สามารถประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารได้ 476,524 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เป็นเงินที่ประหยัดได้ 2,087,174 บาทต่อปี |
Other Abstract: | This research was a study of energy management in academic building by using Social Science building, Thammasat University, Rangsit campus as a case study. The building has functional area of 22,222 m2, people use 13,000 persons per day and working hours from Monday through Friday at 8.00am - 4.00pm. This study focused on the air conditioning systems and lighting systems, by collecting used data of electrical equipment and measuring the performance of equipment before improvement to find the energy conservation measures resulting in efficient energy management. Then analysis of energy saving results from the prescribed conservation measures was to finding the worthiness of investment. From study result, in year 2016, electric energy consumption in Social Science building was 7,152,840 kWh/year and 31,336,591 baht/year. The annual specific energy consumption was 322 kWh/m2. From the analysis, the electricity consumption for air conditioning systems, lighting systems, and others systems were 68%, 30%, and 2% respectively. The payback period of three energy conservation measures for 1)Changing fluorescent lamp to LED lamp, 2)Replacing the new water chiller 1 machine, and 3) Installing one Inverter for speed control of water pump were 2.3, 15.1 and 0.7 year respectively. In summary, all energy measures will save the electricity consumption in building of 476,524 kWh/year and energy cost of 2,087,174 baht/year. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60280 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.589 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.589 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5987162620.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.