Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60343
Title: องค์ประกอบของโพรโพลิสที่ได้จากผึ้งและชันโรงและองค์ประกอบของยางไม้ที่ผึ้งและชันโรงเก็บไปทำรัง ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : รายงานวิจัย
Other Titles: The components of propolis from honey bee and stingless bee and the components of gum from their nests in RSPG areas
Authors: สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์
กมลภรณ์ บุญถาวร
ชญานี อ๊อดทรัพย์
หนึ่งฤทัย วิชัยกุล
Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
Subjects: โพรพอลิส
กัมและเรซิน
ผลิตภัณฑ์ผึ้ง
Propolis
Gums and resins
Bee products
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการสำรวจความหลากหลายของชันโรงที่เขื่อนวชิราลงกรณ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พบชันโรงชนิด Tetragonula pagdeni เพียงชนิดเดียว และมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบในโพรโพลิส จึงได้เก็บยางของต้นไม้ที่ให้ยางที่อยู่ในบริเวณที่มีชันโรงชนิดนี้มาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบในยางไม้แทน ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ นอกจากนี้ ผลการศึกษาความหลากหลายของชันโรงในพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พบชันโรง 4 ชนิด ได้แก่ Tetrigona apicalis, Tetragonilla collina, Lepidotrigona terminate และ Homotrigona fimbriata การวิเคราะห์องค์ประกอบในโพรโพลิสของ T. apicalis, T. collina และ T. terminate ด้วย GC-MS พบว่าสารสกัดจากปากทางเข้ารังชันโรงชนิด T. apicalis ทั้ง 3 รังมีจำนวนชนิดองค์ประกอบหลักที่ใกล้เคียงกัน อยู่ในช่วง 16-21 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบในกลุ่มของ sesquiterpenes ซึ่งมี aristolone เป็นองค์ประกอบหลักที่มีปริมาณมากที่สุด ส่วนสารสกัดจากปากทางเข้ารังของ T. collina ทั้ง 3 รัง มีจำนวนองค์ประกอบหลักที่ใกล้เคียงกัน อยู่ในช่วง 20-21 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารประกอบในกลุ่มของ sesquiterpenes และมี aristolone เป็นองค์ประกอบหลักที่มีปริมาณมากที่สุด เช่นเดียวกับสารสกัดจากปากทางเข้ารัง T. apicalis ในขณะที่สารสกัดจากปากทางเข้ารังชันโรง L. terminate มีองค์ประกอบหลัก 20 ชนิด จัดจำแนกได้เป็น 5 กลุ่ม โดยพบว่า 13,14,15,16-tetranorlabd-(8(17)-en-12-yl methanesulfonate มีปริมาณมากที่สุด
Other Abstract: จากการสำรวจความหลากหลายของชันโรงที่เขื่อนวชิราลงกรณ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พบชันโรงชนิด Tetragonula pagdeni เพียงชนิดเดียว และมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบในโพรโพลิส จึงได้เก็บยางของต้นไม้ที่ให้ยางที่อยู่ในบริเวณที่มีชันโรงชนิดนี้มาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบในยางไม้แทน ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ นอกจากนี้ ผลการศึกษาความหลากหลายของชันโรงในพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พบชันโรง 4 ชนิด ได้แก่ Tetrigona apicalis, Tetragonilla collina, Lepidotrigona terminate และ Homotrigona fimbriata การวิเคราะห์องค์ประกอบในโพรโพลิสของ T. apicalis, T. collina และ T. terminate ด้วย GC-MS พบว่าสารสกัดจากปากทางเข้ารังชันโรงชนิด T. apicalis ทั้ง 3 รังมีจำนวนชนิดองค์ประกอบหลักที่ใกล้เคียงกัน อยู่ในช่วง 16-21 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบในกลุ่มของ sesquiterpenes ซึ่งมี aristolone เป็นองค์ประกอบหลักที่มีปริมาณมากที่สุด ส่วนสารสกัดจากปากทางเข้ารังของ T. collina ทั้ง 3 รัง มีจำนวนองค์ประกอบหลักที่ใกล้เคียงกัน อยู่ในช่วง 20-21 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารประกอบในกลุ่มของ sesquiterpenes และมี aristolone เป็นองค์ประกอบหลักที่มีปริมาณมากที่สุด เช่นเดียวกับสารสกัดจากปากทางเข้ารัง T. apicalis ในขณะที่สารสกัดจากปากทางเข้ารังชันโรง L. terminate มีองค์ประกอบหลัก 20 ชนิด จัดจำแนกได้เป็น 5 กลุ่ม โดยพบว่า 13,14,15,16-tetranorlabd-(8(17)-en-12-yl methanesulfonate มีปริมาณมากที่สุด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60343
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sureerat De_Res_2554.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.