Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60421
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุษา แสงวัฒนาโรจน์-
dc.contributor.advisorรัฐ พิชญางกูร-
dc.contributor.authorศิริพร นิ่มสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-10-07T09:07:46Z-
dc.date.available2018-10-07T09:07:46Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60421-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ตกแต่งสำเร็จผ้าฝ้ายให้มีสมบัติควบคุมกลิ่นตัว ต้านแบคทีเรียและต้านรังสียูวีไปพร้อมๆ กัน โดยใช้สารตกแต่งสำเร็จบีตา-ไซโคลเดกซ์ทริน และนาโนซิงค์ออกไซด์ ทั้งแบบใช้เดี่ยวและแบบใช้ร่วมกัน ด้วยเทคนิคการจุ่มอัดและการแช่ แล้วอบผนึกด้วยสารช่วยผนึกติด (พอลิยูรีเทนผสมอะคริลิก) ตกแต่งสำเร็จบนผ้าฝ้ายทอ 4 ชนิด (ผ้าฟอก ผ้าฟอก/ชุบมัน ผ้าฟอก/ย้อม และผ้าฟอก/ชุบมัน/ย้อม) และบนผ้าฝ้ายถักย้อมสี แล้วนำไปทดสอบสมบัติด้านการควบคุมกลิ่น การต้านแบคทีเรีย การต้านรังสียูวี และสมบัติพื้นฐานอื่นๆ จากผลการทดลอง การตกแต่งสำเร็จผ้าฝ้ายทอและผ้าฝ้ายถักให้สามารถดูดกลิ่นตัว พบว่าการตกแต่งสำเร็จบนผ้าถักด้วยบีตา-ไซโคลเดกซ์ทรินร่วมกับนาโนซิงค์ออกไซด์ให้ผลดีที่สุดโดยสามารถดูดกลิ่นตัวได้ในระดับปานกลางและผ้ายังคงสามารถดูดกลิ่นตัวได้เมื่อผ่านการซัก สำหรับการตกแต่งสำเร็จให้ต้านแบคทีเรียพบว่า ผ้าถักย้อมสีที่ตกแต่งสำเร็จด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์แบบใช้เดี่ยวและใช้ร่วมกับบีตา-ไซโคลเดกซ์ทริน สามารถต้านแบคทีเรียได้ดีถึงดีมาก (ร้อยละการลดลงของแบคทีเรียมากกว่า 99) ส่วนการตกแต่งสำเร็จบนผ้าทอ พบว่าผ้าทอย้อมสีเหมาะสำหรับการตกแต่งสำเร็จให้ต้านแบคทีเรียมากกว่าการใช้ผ้าทอที่ไม่ย้อม โดยเมื่อผ่านการซัก ผ้าทอย้อมสีที่ตกแต่งสำเร็จสามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้บ้าง (ร้อยละการลดลงของแบคทีเรียเท่ากับ 74–95) สำหรับการตกแต่งสำเร็จให้ต้านรังสียูวีทั้งการตกแต่งสำเร็จด้วยนาโนซิงค์ ออกไซด์เพียงชนิดเดียวและใช้ร่วมกับบีตา-ไซโคลเดกซ์ทริน พบว่าผ้าถักย้อมสีที่ตกแต่งสำเร็จสามารถต้านรังสียูวีได้ดีกว่าผ้าถักย้อมสีที่ไม่ตกแต่งสำเร็จและผ้าทอที่ตกแต่งสำเร็จ และสามารถต้านรังสียูวีได้ในระดับดีเยี่ยม (ค่า UPF มากกว่า 100) จากการทดลองนี้ยังพบว่าการตกแต่งสำเร็จโดยใช้เครื่องอัลตราโซนิกช่วยให้อนุภาคของนาโนซิงค์ออกไซด์กระจายตัวได้ดี ป้องกันการเกาะกันเป็นก้อนที่ผิวผ้า และทำให้การตกแต่งสำเร็จผ้าได้ผลดีขึ้นกว่าการใช้เครื่องย้อมในห้องปฏิบัติการen_US
dc.description.abstractalternativeThis research relates the chemical finishing of cotton fabrics for body-odor control, antibacterial and UV-blocking properties. Woven fabric (dyed and undyed) and knitted (dyed) cotton fabrics were treated with both β-cyclodextrin and nano zinc oxide, and also treated individually, using padding and exhaustion techniques followed by a fixation were tested for their performance on body-odor control, antibacterial and UV-blocking, as well as other fabric properties. For odor-control finishing, dyed knitted-fabric that finished with a combination of cyclodextrin and nano zinc oxide showed the best performance on body-odor control (decreasing the body-odor from the strongest level to the moderate level) and chemicals on fabric were durable to at least 3 laundering cycles. For antibacterial finishing dyed knitted-fabric that finished with both chemicals and finished with only nano zinc oxide showed high to highest antibacterial properties (99% reduction of bacterial) while for woven, finished dyed fabrics showed better antibacterial property than finished undyed fabrics. Unfortunately, most nano zinc oxide finished fabrics showed undurable to laundering. For UV-blocking finishing dyed knitted-fabric that finished with both chemicals and finished with only nano zinc oxide showed excellent UV-blocking property (UPF100) In terms of finishing techniques, results indicate an ultrasonic system or a high mechanical action was required for nano zinc oxide finishing of cotton fabric in odor to prevent an agglomeration of nano particles and to increase the finishing efficiency.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2188-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผ้าฝ้ายen_US
dc.subjectสารต้านแบคทีเรียen_US
dc.subjectสังกะสีออกไซด์en_US
dc.subjectไซโคลเดกซตรินen_US
dc.subjectCotton fabricsen_US
dc.subjectAntibacterial agentsen_US
dc.subjectZinc oxideen_US
dc.subjectCyclodextrinsen_US
dc.titleการตกแต่งสำเร็จผ้าฝ้ายให้มีสมบัติควบคุมกลิ่น ต้านแบคทีเรีย และต้านรังสียูวีen_US
dc.title.alternativeCotton fabric finishing for odor control, antibacterial and UV-blocking propertiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2188-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_Nim.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.